พฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของ นักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

Main Article Content

สาคร แก้วสมุทร์

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง พฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษาสาขาวิชา
พลศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เพื่อศึกษาความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญา
เศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษาและศึกษาพฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญา
เศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา ผลการวิจัยพบว่า
ด้านการรับรู้ในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษา สาขาวิชาพลศึกษา มหาวิทยาลัย
ราชภัฏศรีสะเกษ พบว่า นักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา มีการรับรู้เรื่องหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ใน
ระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.16 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.74 ในหัวข้อที่นักศึกษารับรู้และเข้าใจ
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ในระดับมาก 5 ลำดับที่สำคัญดังนี้ เศรษฐกิจพอเพียง คือ การดำเนินชีวิตบน
ความพอดี พอประมาณและทางสายกลาง นักศึกษารู้ว่าเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเรื่องของผู้ที่ประกอบอาชีพ
เกษตรกร นักศึกษารู้ว่าเศรษฐกิจพอเพียง คือ การพออยู่พอกินตามอัตภาพ นักศึกษารู้ว่าเศรษฐกิจพอเพียง
คือ การใช้จ่ายให้สมดุลกับความต้องการของบุคคล ความรู้เป็นสิ่งที่นำมาใช้ในการตัดสินใจในการดำเนินชีวิต
ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ด้านพฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ พบว่า พฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดย
รวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.53 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.75 โดยเรียงลำดับการรับรู้ของ
นักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา ที่มีพฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อยู่ในระดับ
มากที่สุด 5 ลำดับที่สำคัญ ดังนี้ นักศึกษานำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในการดำเนินชีวิต
ทั้งการเรียนและการใช้ชีวิตทั่วไป นักศึกษาคิดถึงการคุ้มค่าทุกครั้งหากมีความจำเป็นต้องชื้อของใช้และ
เสื้อผ้า นักศึกษาเห็นว่าการลดการดื่มสุรา และเลิกสูบบุหรี่ สามารถลดค่าใช้จ่ายให้แก่ตนเองและครอบครัว นักศึกษามีพฤติกรรม ไม่ฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือย ไม่ไหลตามกระแสการโฆษณาทำให้มีเงินเหลือเก็บ นักศึกษาช่วย
ดูแลรักษาทรัพยากรของมหาวิทยาลัยเป็นประจำ


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง
กานดาพันธุ์ วันทยะ. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการพึ่งตนเองตามหลัก
เศรษฐกิจพอเพียงในจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต.
สาขาเศรษฐศาสตร์การเมือง. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
กุลวดี ล้อมทอง วีระภัทรานนนท์. (2550). การนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการ
ดำเนินชีวิต ศึกษากรณี บุคลากรสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์. ภาคนิพนธ์ปริญญาศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุทธยา.(2549). ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร. (ออนไลน์) แหล่งที่มา :
http://www.rdpb.go.th/th (21 กุมภาพันธ์ 2561)
ทศมนพร พุทธจันทรา. (2547). ความคิดเห็นในการดำเนินชีวิตตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง. ภาคนิพนธ์ปริญญา
มหาบัณฑิต สถาบันบัณพิตพัฒนบริหารศาสตร์.
เธียรดา เหมพิพัฒน์ .(2546). ความคิดเห็นของนักศึกษาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ต่อ
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. ภาคนิพนธ์ปริญญาศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ปวัน มีนรักษ์เรืองเดช. (2549). การประยุกต์แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิวัติ ของประชาชน
ที่เข้าร่วมโครงการชีวิตพอเพียงตามแนวพระราชดำริ. ภาคนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์
มหาบัณฑิต. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.บริหารศาสตร์.
ประเวศ วะสี. (2540). แผนพัฒนาชุมชน. กรุงเทพมหานคร : บริษัท กรีน ปัญญาญาณ.
ปรียานุช ธรรมปิยา (2555). วิกฤตเศรษฐกิจ 2540 กับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพมหานคร :
บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).
มูลนิธิชัยพัฒนา. (2550). เศรษฐกิจพอเพียง.{ออนไลน์} ได้จาก :https://www.chaipat.or.th/chaipat/index.php
วาสนา คุณาอภิสิทธ์. (2539). การสอนพลศึกษา. กรุงเทพ ฯ : พิมพ์ดี
ศศิพรรณ บัวทรัพย์. (2547). ความคิดเห็นของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงต่อปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. ภาค
นิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต. สถาบันบัณฑิตพัฒน.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2550). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
(ออนไลน์)แหล่งที่มา : http://www.nesdb.go.th/Default.aspx?tabid=139 (February.12 2007)
สิทธิโชค วรานุสันติกูล. (2546). จิตวิทยาสังคม : ทฤษฎีและการประยุกต์. กรุงเทพมหานคร : บริษัท ซี เอ็ดยูเคชั่น
จำกัด
หลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิต. (2555). หลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา.คณะครุ ศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ราชภัฏศรีสะเกษ.

Kanda Wantaya. (2008). Factors affecting ability of self rellance based on sufficience
economy philosophy in Chiang Mai province. Master’s theses of Arts Program in Political Economy (Multidisciplinary Program). Chiang Mai University.
Kulvadee Lom Thong and Weera Patranon. (2007). Applying the Sufficiency Economy
Philosophy to life: A case Study of the Crown Property Bureau. Master’s theses. National Institute of Development Administration.
Jirayu Isarangkun Na Ayutthaya. (2006). What is Sufficiency Economy Philosophy?. Retrieved
from http://www.rdpb.go.th/th.
Todsamonporn Puttajantra. (2004). Lifestyle Commentary on Sufficiency Economy
Philosophy. Master’s theses. National Institute of Development Administration.
Tearada Hempipat. (2003). Student reviews of National Institute of Development
Administration for Sufficiency Economy Philosophy. Master’s theses of Arts. National
Institute of Development Administration.
Pwan Meenarakreaungdet. (2006). Application on concept the Sufficiency Economy
Philosophy revolution of people who participation in project of Royal thought.
Master’s theses of Arts. National Institute of Development Administration.
Prawet Wasee. (1997). Community development plan. Bangkok: Green Panyayan Company.
Preeyanut Tampiya. (2012). Economic Crisis 1997 with Sufficiency Economy Philosophy.
Bangkok: Amarin Printing and Publishing Company.
Chaipattana Foundation. (2007). Sufficiency Economy. Retrieved from
https://www.chaipat.or.th/chaipat/index.php.
Wassana Kunaapisit. (1996). Instruction of Physical Education. Bangkok: Phimdee.
Sasipan Buasub. (2004). Student reviews of Ramkhamhaeng University for Sufficiency
Economy Philosophy. Master’s theses of Arts. National Institute of Development
Administration.
Office of the National Economic and Social Development Board. (2007). National Economic
and Social Development Plan. Retrieved from
http://www.nesdb.go.th/Default.aspx?tabid=139.
Sittichok Waranusantikul. (2003). Social Psychology : Theory and Apply. Bangkok: SE-Ed
Company.
Bachelor of Education. (2012). Bachelor of Education: Physical Education Program. Faculty of
Education Sisaket Rajabhat University.