การพัฒนาระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษา หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

Main Article Content

อัญชลี โพทวี

บทคัดย่อ

การวิจัย เรื่อง การพัฒนาระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน หลักสูตรครุศาสตร
บัณฑิต คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี มีความมุ่งหมายการวิจัยเพื่อศึกษาแนวทางการ
พัฒนาระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษา ระดับหลักสูตร เพื่อพัฒนาระบบและกลไกการประกัน
คุณภาพการศึกษา และเพื่อประเมินคุณภาพการศึกษาตามระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษา
โดยมีกระบวนการวิจัย 3 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาแนวทางการพัฒนาระบบและกลไก การประกันคุณภาพ
การศึกษา ระดับหลักสูตร คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 2) พัฒนาระบบและกลไกการ
ดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ
อุบลราชธานี 3) ประเมินคุณภาพการศึกษา ระดับหลักสูตรตามระบบและกลไกการประกันคุณภาพ
การศึกษา หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
ผลการวิจัย พบว่า
1) คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี มีการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา
ระดับหลักสูตร จำนวน 6 องค์ประกอบ 14 ตัวบ่งชี้มีแนวทางการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา
ระดับหลักสูตร 2 แนวทาง คือ 1.1) แนวทางการดำเนินงานในแต่ละตัวบ่งชี้ 1.2 แนวทางการเขียนรายงาน
ผลการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ระดับหลักสูตร
2) ผลการประเมินการใช้ระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษากับหลักสูตรครุศาสตร
บัณฑิต คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านปรากฏผล ดังนี้
2.1 ความคิดเห็นของประธานกรรมการบริหารหลักสูตรต่อคุณภาพของคู่มือระบบและกลไกการประกัน
คุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร (ปริญญาตรี) ด้านความเหมาะสมของคู่มือทั้งในภาพรวมและในรายประเด็นย่อยทั้ง 9 ประเด็น อยู่ในระดับมากที่สุด โดยค่าเฉลี่ยความเหมาะสมในภาพรวมเท่ากับ 4.73,
2.2 ด้านความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ประโยชน์ในงานประกันคุณภาพระดับหลักสูตรโดยภาพรวม
และในรายประเด็นย่อยทั้ง 6 ประเด็น อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมในภาพรวมเท่ากับ
4.78 และ 2.3 ด้านความคุ้มค่าและความเป็นประโยชน์ของคู่มือในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยความ
เหมาะสมในภาพรวมเท่ากับ 4.42 ส่วนในรายประเด็นย่อย มี 1 ประเด็น ได้แก่การช่วยเพิ่มความรู้ความ
เข้าใจเกี่ยวกับระบบประกันคุณภาพระดับหลักสูตร อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมใน
ภาพรวมเท่ากับ 4.56 ส่วนประเด็นอื่น ๆ ที่เหลืออยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมในภาพรวมเท่ากับ
4.39
3) ผลการประเมินคุณภาพการประกันคุณภาพการศึกษา ระดับหลักสูตร คณะครุศาสตร์
ตามระบบและกลไกการประกันคุณคุณภาพการศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต พบว่า ในปีการศึกษา
2559-2561 มีจำนวน 8 หลักสูตร อยู่ในระดับดี มีค่าคะแนนเฉลี่ย 3.58 และระดับดีมาก 1 หลักสูตร
มีค่าคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 4.06

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ.(2542: 2).การประกันคุณภาพของสถานศึกษา.เอกสารการประกันคุณภาพการศึกษา.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์
คณะกรรมการประเมินผลการประกันคุณภาพระดับหลักสูตร.รายงานผลการดำเนินงาน (SAR) ระดับหลักสูตร ฉบับก่อนประเมิน ปีการศึกษา 2557.คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.2557
________.รายงานผลการดำเนินงาน (SAR) ระดับหลักสูตร ฉบับก่อนประเมิน ปีการศึกษา 2558.คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.2558
________.รายงานผลการดำเนินงาน (SAR) ระดับหลักสูตร ฉบับก่อนประเมิน ปีการศึกษา 2559.คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.2559
________.รายงานผลการดำเนินงาน (SAR) ระดับหลักสูตร ฉบับก่อนประเมิน ปีการศึกษา 2560.คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.2560
________.รายงานผลการดำเนินงาน (SAR) ระดับหลักสูตร ฉบับก่อนประเมิน ปีการศึกษา 2561.คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.2561
________.รายงานผลการดำเนินงาน (SAR) ระดับหลักสูตร ฉบับหลังรับการประเมิน ปีการศึกษา 2558. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.2557
________.รายงานผลการดำเนินงาน (SAR) ระดับหลักสูตร ฉบับหลังรับการประเมิน ปีการศึกษา 2558. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.2558
________.รายงานผลการดำเนินงาน (SAR) ระดับหลักสูตร ฉบับหลังรับการประเมิน ปีการศึกษา 2559. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.2559
________.รายงานผลการดำเนินงาน (SAR) ระดับหลักสูตร ฉบับหลังรับการประเมิน ปีการศึกษา 2560. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.2560
________.รายงานผลการดำเนินงาน (SAR) ระดับหลักสูตร ฉบับหลังรับการประเมิน ปีการศึกษา 2561. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.2561
จงกล จันทร์เรือง, ธนินทร์ ระเบียบโพธิ์, และเอกลักษณ์ ฉิมจารย์. (2556). การบูรณาการงานประกันคุณภาพการศึกษากับการจัดการเรียนการสอน การบริการวิชาการแก่สังคมและงานวิจัย. วารสาร มทร อีสาน,6(1), 94-103.
เบญจวรรณ วงศ์ปราชญ์. (2560). ระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก.วารสารพยาบาลทหารบก, 18(3), 16-25.
ปริญญ์ งามสุทธิ.(2561)การพัฒนาระบบบริการจัดการการประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรสำหรับมหาวิทยาลัยของรัฐ.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น.
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.(2555).คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีปีการศึกษา : โรงพิมพ์
ศักดิกร สุวรรณเจริญและคณะ.(2561)ความก้าวหน้าของการดำเนินงานประกัน คุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ปีที่ 13 ฉบับที่ 2 (ก.ค.-ธ.ค. 2561)
สาระ มุขดี และคณะ.(2560) การพัฒนาระบบและกลไกที่เป็นเกณฑ์มาตรฐานในการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน.วารสารพยาบาลตำรวจ ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2559
Deming, W.E.. The Deming Cycle.(1993).The new Economics for Industry. Government,Education. Cambridge MA : MIT Press.