การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่ เมืองรองชุมชนซะซอม ตำบลนาโพธิ์กลาง อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

กุลวดี ละม้ายจีน

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาศักยภาพของชุมชน
ในการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์ และ 2) เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยว
โดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์ที่เหมาะสมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่เมืองรองชุมชนซะซอม ตำบลนาโพธิ์
กลาง อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ ภาคีที่เกี่ยวข้องในการ
พัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์ชุมชนซะซอม ตำบลนาโพธิ์กลาง อำเภอโขงเจียม จังหวัด
อุบลราชธานี จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างโดยสัมภาษณ์
และการประชุมกลุ่มย่อย ประชาชนในชุมชน ภาครัฐ และภาคเอกชน ผลการวิจัยพบว่า 1) ทรัพยากร
การท่องเที่ยวในชุมชนมีความพร้อมในการดำเนินการการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์ ภาคีที่เกี่ยวข้อง
ส่วนใหญ่ขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ เนื่องจากเป็นรูปแบบการท่องเที่ยวที่ใหม่
และภาคีที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์ และ
2) การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่เมืองรองชุมชนซะซอม
ตำบลนาโพธิ์กลาง อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี มีทั้งหมด 6 แนวทาง 1) การพัฒนาความรู้
2) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ 3) การพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยว 4) การพัฒนานักเล่าเรื่อง 5) การพัฒนาด้าน
การตลาดออนไลน์ และ 6) การพัฒนาการติดตามประเมินผล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). คู่มือการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์.
กรุงเทพฯ: กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
จิตคุปต์ ละอองปลิว. (2562). การท่องเที่ยวเมืองรอง : ทางเลือกแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
จังหวัดราชบุรี. อินทนิลทักษิณสาร. 14(2), กรกฎาคม-ธันวาคม 2562, 39-60.
ชิดชนก อนันตมงคลกุล และกัญญาพัชร์ พัฒนาโภคินสกุล. (2562). พฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิง
สร้างสรรค์ของนักท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จังหวัดภูเก็ต. วารสารวิชาการการท่องเที่ยว
ไทยนานาชาติ. 15(2), 1-20.
พิศาล แก้วอยู่ และประกอบศิริ ภักดีพินิจ. (2557). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
โดยการปรับใช้หัตถกรรมจักสานผักตบชวาในพื้นที่อําเภอเมือง จังหวัดพะเยา. เอกสารการประชุมวิชาการ
การพัฒนาชนบทที่ยั่งยืน ครั้งที่ 4 ประจำปี 2557 “Rethink : Social Development for Sustainability
in ASEAN Community”. 11-13 มิถุนายน 2557, 321-329.
ศลิษา ธีรานนท์ และ ประกาศิต โสภณจรัสกุล. (2559). การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์: ทางเลือก-ทาง
รอดของการท่องเที่ยวไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี. 8(2), 216-225.
สุภาภรณ์ ประสงค์ทัน. (2556). ทุนทางสังคมกับแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิง
สร้างสรรค์: กรณีศึกษาชาวไทยพวน อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก. วารสารสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ, 16(1). 1-11.
สุภางค์ จันทวานิช. (2543). วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. (2561). คู่มือกระบวนการพัฒนา
และยกระดับกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: บริษัท บุ๊คพลัส พับลิชชิ่ง จำกัด.