ปัญหาจากระบบการศึกษาไทย : สู่แรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมชุด “ให้ชีวิตได้ใช้” ให้ชีวิตได้ใช้

Main Article Content

ทรงวุฒิ แก้ววิศิษฏ์

บทคัดย่อ

สังคมไทยนับตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน มีพัฒนาการเป็นอย่างมาก โดยเชื่อมโยงกับปัจจัยต่าง ๆ
มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการเปิดประเทศอย่างเสรีเพื่อการค้า การลงทุน รวมถึงการมีเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำนำสมัย
ซึ่งล้วนแล้วแต่ทำให้ประเทศไทยมีความเจริญรุ่งเรือง อย่างไรก็ตามในทางตรงกันข้ามกลับพบว่า ระบบ
การศึกษาไทยในภาพรวมนั้นยังเป็นการศึกษาที่อยู่ในเกณฑ์ไม่มีคุณภาพ ทั้งนี้เนื่องจากการไม่สามารถพัฒนา
หลักสูตรให้มีความทันสมัย ระบบการศึกษาไทยยังยึดโยงอยู่กับการเมืองการปกครอง ผลประโยชน์
ค่าตอบแทน รวมถึงระบบสมยอมอย่างไร้คุณธรรมมาช้านาน จากอดีตได้มีความพยายามในการที่จะพัฒนา
หลักสูตรให้มีความทันสมัยและสอดคล้องไปกับบริบทการเปลี่ยนแปลงของโลก แต่จนแล้วจนเล่ามาตรฐาน
การศึกษาไทยก็ถูกประเมินให้อยู่ในกลุ่มประเทศรั้งท้ายมวลหมู่สมาชิกชาติอาเซียน จากประเด็นปัญหาด้าน
การศึกษาไทย ผู้วิจัยจึงได้นำมาเป็นแรงบันดาลใจต่อการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรม โดยหลอมรวมกับ
แนวคิดและความทรงจำเมื่อครั้งอยู่ในวัยเยาว์ ภายใต้ชื่อชุดผลงาน “Live a Life หรือ ให้ชีวิตได้ใช้” โดยใช้
สัญลักษณ์ที่เด็ก ๆ ชอบเล่นและมีความสุขเมื่อได้ลงมือวาด ๆ ปั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นดินน้ำมัน ดินสอ กระดาษ
สมุด เป็นต้น นอกจากความงามทางศิลปะแล้ว ในผลงานยังแฝงนัยยะถึงความรู้สึกอึดอัดและกดดันจากการ
เรียนการสอนที่ไม่มีคุณภาพ เพื่อเป็นการกระตุ้นเตือนให้ผู้ที่ชมผลงานและผู้ที่ได้รับทราบถึงแนวความคิดนี้
ได้ตระหนักถึงการส่งเสริมการศึกษาแก่เยาวชน โดยให้ความรักความเมตตาอย่างจริงจัง เพราะในอนาคต
เยาวชนจะเป็นกำลังหลักของประเทศชาติต่อไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

เจือจันทร์ จงสถิตอยู่. (2529). แนวคิดและวิธีการวางแผนการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : องค์การสงเคราะห์ทหาร
ผ่านศึก.
จารึก อะยะวงศ์. (2560). การศึกษาไทย : ปัญหาอยู่ที่ไหนกันแน่?. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน.
ณัฐภูมิ เล็กถวิลวงศ์. (2546). การศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษาขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดสุพรรณบุรี. กาญจนบุรี : สาขาการบริหารการศึกษา สถาบันราชภัฎกาญจนบุรี.
ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์. (2559). วิกฤติการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ : วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้. ศูนย์จิตวิทยาการศึกษา.
บุญมา กัมปนาทพงษ์. (2539). การบริหารโรงเรียนอย่างเป็นระบบ. กรุงเทพฯ : สารพัฒนาหลักสูตร.
ประยงค์ เต็มชวาลา. (2540). การกระจายอำนาจ : ยุทธศาสตร์การปฏิรูปสาธารณสุขไทย. กรุงเทพฯ : ม.ป.ท.
ประไพ เอกอุ่น. (2542). การศึกษาไทย. กรุงเทพฯ : ศูนย์การพิมพ์สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา.
พนัส หันคาคินทร์. (2524). หลักการบริหารโรงเรียน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์วัฒนาพานิช.
พิณสุดา สิริรังศรี และคณะ. (2541). องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการจัดการศึกษา. กรุงเทพฯ : ม.ป.ท.

refer
Ruu Chan Chong Sathit. (1986). Concept and method of study planning (4th edition). Bangkok : The War Veterans Organization of Thailand.
Inscription Ayawong. (2017). Thai education: Where are the problems exactly? Bangkok : Matichon Publishing House.
Nattaphum Lekthawinwong (2003). A study of conditions and problems of pre-primary education management of the sub-district administrative organization in Suphanburi province. Kanchanaburi: Educational Administration Branch Kanchanaburi Rajabhat Institute.
Teerakiat Charoen Setasilp (2016). Thai education crisis. Bangkok : Journal of Innovative Learning. Center for Educational Psychology.
Boonma Kampanatpong. (1996). Systematic school administration. Bangkok : Course Development Substance.
Prayong Temchawla. (1997). Decentralization: Thai Public Health Reform Strategy. Bangkok : P.O.
Praphai Aek Un. (1999). Thai Education. Bangkok : Printing Center Suan Sunandha Rajabhat Institute.
Phanat Hankakin. (1981). Principles of school administration. Bangkok : Watthana Panich Printing House.
Phinsuda Sirirungsri et al. (1998). Local government organization and education management. Bangkok : P.O.