การวิเคราะห์วรรณกรรมเรื่องสินไซเพื่อกำหนดแนวความคิดในการสร้างสรรค์ ผลงานนาฏศิลป

Main Article Content

พิมพ์วลัญช์ พลหงษ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่องการวิเคราะห์วรรณกรรมเรื่องสินไซเพื่อกำหนดแนวความคิดในการสร้างสรรค์
ผลงานนาฏศิลป์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดแนวความคิดในการสร้างสรรค์ผลงาน
นาฏศิลป์จากการวิเคราะห์วรรณกรรมเรื่องสินไซ ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่
เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ การสังเกต และนำเสนอแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า วรรณกรรมสิน
ไซเป็นศิลปะที่มีคุณค่าควรแก่การอนุรักษ์และนำมาพัฒนาต่อยอด เผยแพร่ในรูปแบบผลงานสร้างสรรค์ทาง
นาฏศิลป์ เนื้อหาของวรรณกรรมเรื่องนี้ที่สามารถนำมากำหนดเป็นแนวความคิดในการสร้างสรรค์ผลงานทาง
นาฏศิลป์ ได้แก่ 1) ด้านความรัก ประกอบไปด้วย ความรักระหว่างชาย-หญิง ความรักระหว่างพี่-น้อง
และความรักระหว่างแม่–ลูก 2) ความกตัญญู 3) ความอิจฉาริษยา 4) ตัวละคร 5) บทตอน ผู้สร้างสรรค์
ผลงานนำแนวคิดดังกล่าวเป็นตัวกำหนดทิศทางในการสร้างสรรค์โดยกระบวนการทางนาฏศิลป์ ได้แก่
1) สร้างกรอบแนวคิด 2) คัดเลือกนักแสดง 3) กลวิธีการรำ 4) ดนตรีประกอบ 5) การออกแบบเครื่อง
แต่งกาย 6) รูปแบบการแสดงและการใช้พื้นที่ 7) อุปกรณ์ประกอบการแสดง ให้มีความสอดคล้องกับ
วัตถุประสงค์ในการสร้างสรรค์ผลงาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชอบ ดีสวนโคก. (2550). วรรณกรรมพื้นบ้านสินไซ ขอนแก่น. กรุงเทพฯ: คลังนานาวิทยา.
นวลรวี จันทร์ลุน. (2560). แนวทางการสร้างสรรค์นาฏศิลป์พื้นบ้านโคราช. วารสารราชพฤกษ์. 15(3), 117.
นวลรวี จันทร์ลุน. (2558). สุนทรียะทางนาฏศิลป์ไทย. นครราชสีมา : โครงการส่งเสริมการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
รณภพ เตชะวงศ์. (2555). วัสดุและสัญลักษณ์ในจิตรกรรม. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.