คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาในหนังสืออ่านนอกเวลา ช่วงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ

Main Article Content

สุชาดา สกุลลีรุ่งโรจน์

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งศึกษาความสัมพันธ์ของคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 และกลวิธีทางภาษาที่ปรากฏในหนังสืออ่านนอกเวลาระดับชั้นประถมศึกษาตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ เก็บข้อมูลจากหนังสืออ่านนอกเวลา จำนวน 5 เล่ม โดยใช้วิธีดำเนินการวิจัยตามแนวทางการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับความคิดของ แฟร์คลัฟ ผลการศึกษาพบว่า
1) หนังสืออ่านนอกเวลา นำเสนอคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 3 คุณลักษณะ ได้แก่ (1) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับอุปนิสัย (2) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่เด็กพึงปฏิบัติต่อผู้อื่น และ (3)  คุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่เด็กพึงปฏิบัติต่อสถาบัน และ 2) หนังสืออ่านนอกเวลา มีการใช้กลวิธีทางภาษาในการถ่ายทอดคุณลักษณะอันพึงประสงค์  จำนวน 3 กลวิธี คือ (1) กลวิธีทางภาษาระดับคำ (2) กลวิธีทางภาษาระดับประโยค และ(3) การใช้อุปลักษณ์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ. (2504).เอกสารของกรมวิชาการ ชุดพัฒนาการทางการศึกษา อันอับที่ 1 ความเป็นมาของแผนการศึกษาชาติ. กรุงเทพมหานคร: มงคลการพิมพ์.
กรมวิชาการ. (2530). หลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.(2545).หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กลุ่มส่งเสริมการเรียนการสอนและประเมินผล.(2548).การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตาม หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์รับส่งสินค่าและ
พัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
ขวัญใจ เอมใจ. (2554). ส้มสีม่วง. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
จันทิมา อังคพณิชกิจ.(2561).การวิเคราะห์ข้อความ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ณัฐพร พานโพธิ์ทอง. (2556). วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ตามแนวภาษาศาสตร์ : แนวคิดและการนำมาศึกษาวาทกรรมในภาษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : ภาควิชาภาษาไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
แม้นมาส ชวลิต. (2528). โสนน้อย. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
รัศมี เบื่อขุนทด. (2548). สีเทาเจ้าตัวจิ๋ว. กรุงเทพมหานคร: มติชน.
วิสันต์ สุขวิสิทธิ์. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอุดมการณ์ในหนังสือเรียนรายวิชาภาษาไทย ตามหลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ. 2503-2544 : การศึกษาตามแนววาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์. (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมนึก พานิชกิจ. (2545). หนูหล่อกับมอมอ. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). นโยบายส่งเสริมการอ่านของประเทศไทย: ภาพรวมปัญหาและแนวทางการพัฒนา.สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2563, จาก https://www.tkpark. or.th/tha/papers_detail/16/นโยบายส่งเสริมการอ่านของประเทศไทย
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). ประกาศสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น พื้นฐาน เรื่อง รายชื่อหนังสืออ่านนอกเวลา สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2563, จาก https://www.obec.go.th/
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2563,จาก https://www.bic.moe.go.th/images/stories/5Porobor.2542pdf.pdf
หลวงกีรติวิทโยฬาร, และ อร่าม สิทธิสาริบุตร. (2561). นกกางเขน. กรุงเทพมหานคร: สมาคมนักแปลและล่ามแห่งประเทศไทย.
อุมาวัลย์ ชีช้าง. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอุดมการณ์ในเรื่องเล่าสำหรับเด็กในหนังสือวันเด็กแห่งชาติ พ.ศ. 2523 – 2553. (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ ). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Fairclough, N. (1995). Critical discourse analysis: the critical study of language. London: Longman.