การศึกษาศิลปวัฒนธรรมจากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้คติชนสร้างสรรค์ในรายวิชาคติชนวิทยาสำหรับครู

Main Article Content

ฐิติรดา - เปรมปรี

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง “การศึกษาศิลปวัฒนธรรมจากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้คติชนสร้างสรรค์ในรายวิชาคติชนวิทยาสำหรับครู” มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลศิลปวัฒนธรรมจากภูมิปัญญาท้องถิ่นตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ 2) เพื่อศึกษาแนวทางส่งเสริมการจัดการเรียนรู้คติชนสร้างสรรค์ในรายวิชาคติชนวิทยาสำหรับครู และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาคติชนวิทยาสำหรับครู กลุ่มตัวอย่างแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ นักปราชญ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น บุคคลสำคัญในท้องถิ่น และนักศึกษา  เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า 1) การศึกษาข้อมูลศิลปวัฒนธรรมจากภูมิปัญญาท้องถิ่นได้จำแนกข้อมูลออกเป็น 4 ประเภท ประเภทที่พบมากที่สุดคือประเภทวัฒนธรรมวัตถุ ข้อมูลที่พบได้สะท้อนอัตลักษณ์ด้านวิถีชีวิตของประชาชนในท้องถิ่นคือการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ความเชื่อเรื่องผี ความสามัคคี การปฏิบัติตนตามประเพณีและพิธีกรรมในท้องถิ่นและการให้ความเคารพต่อผู้อาวุโส 2) แนวทางส่งเสริมการจัดการเรียนรู้คติชนสร้างสรรค์ในรายวิชาคติชนวิทยาสำหรับครูควรประยุกต์ใช้การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning: PjBL) เพื่อพัฒนาทักษะความรู้ให้แก่นักศึกษา และ 3) ผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาคติชนวิทยาสำหรับครูได้รับผลการประเมินอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

ฐิติรดา - เปรมปรี, มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

146 หมู่ 11 บ้านคร้อ
ต.นาฝาย
อ.เมือง
จ.ชัยภูมิ 36000

References

เอกสารอ้างอิง
กระทรวงศึกษาธิการ คณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2559). แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน. นครปฐม: สินทวีกิจ พริ้นติ้ง.
กฤติกา อริยา ,วารีรัตน์ แก้วอุไร และเพ็ญพิศุทธิ์ ใจสนิท (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการ จัดการเรียนการสอนที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคลเพื่อส่งเสริมความสามารถในการออกแบบการจัดการ เรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สําหรับนักศึกษาครูมหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง, (5)2, 1-17.
ชลธิชา หอมฟุ้ง. (2560). การพัฒนาแนวการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยโดยใช้วรรณกรรมท้องถิ่นเป็นฐานร่วมกับการเรียนรู้ แบบเชิงรุกเพื่อส่งเสริมความสามารถในศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียน. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian E Journal มหาวิทยาลัยศิลปากร, (10)3, 332-346.
ชลธิชา หอมฟุ้ง, และสมพร ร่วมสุข. (2559). การสอนคติชนวิทยากับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียนและการ เสริมสร้างความภาคภูมิใจในภูมิปัญญาไทย. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian E Journal มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ), (9)2, 1549-1563.
นุจรี บุรีรัตน์, สวนันท์ แดงประเสริฐ, และธีรพงษ์ วิริยานนท์. (2562). การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานเพื่อ ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ตามแนวเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในระดับอุดมศึกษา. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, (25)3, 14-24.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ปัณฑิตา อินทรักษา. (2562). การจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อสังคมออนไลน์. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, (4)4, 357-365.
มธุรา สุนศรี. (2559). แนวทางการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อสะท้อนอัตลักษณ์ตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง จังหวัด สมุทรปราการ. วารสารกระแสวัฒนธรรม,17 (31), 41-55.
ศรัณยู หมื่นเดช, และรุจโรจน์ แก้วอุไร. (2563).การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบ โครงงาน ร่วมกับสื่อสังคม เพื่อ ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร, (22)2, 182-192.
ศิริณา จิตต์จรัส, อรอุษา ปุณยบุรณะ,และเวหา เกษมสุข. (2562). การส่งเสริมกิจกรรมเพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจ พอเพียงเชิงสร้างสรรค์แบบมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านยางจังหวัดนครปฐม. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, (25) 4, 67-79.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2561 – 2564. สืบค้น 1 มกราคม 2563, จาก http://www.nesdb.go.th/download/plan12/%.pdf.
อัฐภิญญา ศรีทัพ. (2559). แนวทางการอนุรักษ์และสืบสานประเพณีแห่หงส์ธงตะขาบของชาติพันธุ์มอญตำบลทรงคนองอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการวิจัยและงานสร้างสรรค์, 3(1), 78-90.
Cronbach, L. J. (1971). Essentials of psychological testing. New York: Harper & Row.
Dorson, Richard M. (1972). Folklore and Folklife. Chicago: The University of Chicago Press.