การศึกษาและเปรียบเทียบคำสุภาพภาษาจีนและภาษาไทย

Main Article Content

อาจารีย์ ศรีหล้า

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาและจำแนกหมวดหมู่คำสุภาพภาษาจีนและภาษาไทย       2. เปรียบเทียบการใช้คำสุภาพในการสื่อสารระหว่างภาษาจีนกับภาษาไทย ดำเนินการวิจัย ดังนี้ ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับภาษาสุภาพหรือคำสุภาพภาษาจีนและภาษาไทย ศึกษาทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวบรวมประเภทของคำสุภาพภาษาจีนและภาษาไทย จำแนกและจัดหมวดหมู่คำสุภาพภาษาจีนและภาษาไทย สรุปผลการวิเคราะห์ความเหมือนและความต่างของคำสุภาพภาษาจีนและภาษาไทย


ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาค้นคว้าและวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า การวิเคราะห์และจำแนกหมวดหมู่คำสุภาพภาษาจีนและภาษาไทย มีจำนวน 9 ประเภท และสามารถจำแนกหมวดหมู่ได้ดังนี้ (1)   คำกล่าวทักทาย จำแนกได้ 5 หมวดหมู่ (2) คำกล่าวขอบคุณ จำแนกได้ 3 หมวดหมู่ (3) คำกล่าวขอโทษ  จำแนกได้ 3 หมวดหมู่ (4) คำกล่าวชมเชย จำแนกได้ 2 หมวดหมู่ (5) คำกล่าวอวยพร จำแนกได้ 5 หมวดหมู่  (6) คำรื่นหู จำแนกได้ 3 หมวดหมู่ (7) คำกล่าวขอร้อง จำแนกได้ 4 หมวดหมู่ (8) คำกล่าวปฏิเสธ จำแนกได้ 3 หมวดหมู่ และ (9) คำกล่าวลา จำแนกได้ 2 หมวดหมู่ ซึ่งแต่ละหมวดหมู่มีทั้งความเหมือนและความแตกต่าง พบว่า  ความเหมือน คือ การใช้คำสุภาพภาษาจีนและภาษาไทยแต่ละหมวดหมู่นั้นล้วนแต่ต้องอาศัยกาลเทศะ สถานการณ์ สภาวะแวดล้อม และสัมพันธภาพระหว่างบุคคลในการเลือกใช้คำและภาษาให้เหมาะสมกับบุคคล ด้านความแตกต่าง คือ สังคมไทยมักจะแบ่งลักษณะการใช้ภาษาตามอายุ เพศ ลำดับชั้นทางสังคม เช่น ภาษาไทยใช้คำว่า ครับ (เพศชาย)/ค่ะ (เพศหญิง) ลงท้ายประโยคเพื่อเน้นถึงความสุภาพ     ซึ่งภาษาจีนไม่มีคำเหล่านี้ นอกจากนี้ ความแตกต่างที่เกิดจากวัฒนธรรม ความเชื่อ ความเคยชิน รวมถึงรูปแบบโครงสร้างของคำหรือประโยค มาจากการเรียนรู้ในบริบท สภาพแวดล้อมที่ชาวจีนและชาวไทยอาศัยอยู่ทั้งสิ้น


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิดานันท์ มลิทอง. (2543). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.
กริช สืบสนธิ์. (2538). วัฒนธรรมและพฤติกรรมการสื่อสารในองค์กร. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
คันธรส วิทยาภิรมย์. (2556). การประยุกต์ความต้องการซึ่งจำเป็นในการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมกับการเรียน
การสอนภาษาจีนธุรกิจ. วารสารศิลปศาสตร์, 5(1), 105.
ณัฐกันต์ สุขชื่น. (2559). แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับอันตรภาษาในเชิงวัจนปฏิบัติศาสตร์: วัจนกรรม
ขอโทษ.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 2(1), 16.
ตงตง ฉิน และวิกานดา แสงกล้า. (2563). การศึกษาเปรียบเทียบคำรื่นหูภาษาไทยและภาษาจีนด้าน
โครงสร้างภาษา. วารสารวิชาการศรีปทุม, 16(4), 94.
ทัศนีย์ เมฆถาวรวัฒนา. (2542). วัจนกรรมการขอโทษในภาษาไทย. วารสารสงขลานครินทร์, 5(3),
217-220.
ทัศนีย์ เมฆถาวรวัฒนา. 2553. วัฒนธรรมการขอโทษในภาษาไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์,
27(2), 41-46.
ทัศนีวัลย์ ศรีมันตะ. (2556). กลวิธีการสร้างถ้อยคำรื่นหูในภาษาไทยและภาษาจีนกลางปัจจุบัน. วารสาร
ช่อพะยอม, 24, 11-16.
ธนัชพร นามวัฒน์. (2562). ความแตกต่างคำสุภาพในภาษาไทยและภาษาจีนที่ส่งผลกระทบในการสอน
ภาษาจีนในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก สาขาการสอนภาษาจีนในฐานะภาษาต่าง
ประเทศ มหาวิทยาลัยนานาชาติศึกษาเซี่ยงไฮ้).
นพวรรณ เมืองแก้ว. (2556). คำแสดงการขอร้องในภาษาไทย : การศึกษาตามแนวทฤษฎีการกลายเป็นคำ
ไวยากรณ์. (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
บรรจบ พันธุเมธา. (2520). ลักษณะภาษาไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ปนัดดา เลอเลิศยุติธรรม. (2549). การศึกษาความสุภาพในการขอร้องและการปฏิเสธในการติดต่อธุรกิจทาง
จดหมายในภาษาไทยตามแนววัจนปฏิบัติศาสตร์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
ไพโรจน์ อยู่มณเฑียร. (2550). หลักราชาศัพท์ (ฉบับสมบูรณ์). (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ทฤษฎี.
วิมลรัตน์ วศินนิติวงศ์. (2560). Chinese 4 daily เก่งจีนรอบด้าน. กรุงเทพฯ: คาร์เปเดียมเมอร์.
วีนา สร้างกลาง. (2556). การตอบรับคําชมและการถ่ายโอนทางภาษาของผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชาวไทย
เปรียบเทียบกับผู้พูดภาษาญี่ปุ่นชาวญี่ปุ่น. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒน
บริหารศาสตร์).
สิงหชาต ไตรจิตร. (2549). กฎการกล่าขอบคุณในสังคมไทย : การศึกษาภาษาศาสตร์ตามแนวสังคม.
(วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
สนิท สัตโยภาส ขวัญใจ กิจชาลารัตน์ และ Li Ying. (2563). การศึกษาเปรียบเทียบสำนวนจีนกับสำนวน
ไทยที่เกี่ยวกับสี. พิฆเนศวร์สาร, 16(1), 39.
สิรินดา โสภณอรุณโชติ. (2560). พูดจีนทีละคำ Basic Chinese. กรุงเทพฯ: พราว.
สุดนัดดา วิริยา. (2544). การศึกษาการขอร้องในภาษาไทย. (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย).
สุ่ย หลิน. (2562). mind map พูดจีนแบบเน้นๆ. กรุงเทพฯ: อินส์พัล.
สุมาลี เดชบุญพบ. (2554). การศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดรายการวิทยุกระจายเสียงของศูนย์
วิทยพัฒนา. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช).
อภิญญา จอมพิจิตร. (2559). การศึกษาภาษาจีนพื้นฐานเพื่อการสื่อสารอย่างมีมารยาท. วารสารวิชาการ
มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 24(44), 255.