การเขียนหน้าและการแต่งหน้าโขน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานาฏยศิลป์ไทย เรื่อง มโนทัศน์การเขียนหน้าและการแต่งหน้าในนาฏกรรมไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดการเขียนหน้าและการแต่งหน้าในนาฏกรรมไทย โดยมุ่งเน้นศึกษารูปแบบการเขียนหน้าและการแต่งหน้าในนาฏกรรมไทยสำคัญที่มีหลักฐานปรากฏให้ศึกษาได้ มี นาฏกรรมไทยที่เป็นแบบแผน นาฏกรรมไทยพื้นบ้าน และนาฏกรรมไทยร่วมสมัย
วิธีดำเนินการวิจัยใช้การศึกษาค้นคว้าและเก็บข้อมูลจากหนังสือ ตำรา วิทยานิพนธ์ บทความ เอกสารสำคัญ และการสัมภาษณ์ศิลปินแห่งชาติ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่าการเขียนหน้าและการแต่งหน้าในนาฏกรรมไทยมีวิวัฒนาการอย่างไร ได้รับอิทธิพลจากไหนบ้าง ค้นพบความแตกต่างของการเขียนหน้าและการแต่งหน้าแต่ละยุคสมัย รวมถึงวิวัฒนาการของเครื่องสำอางและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้การเขียนหน้าและการแต่งหน้าแต่ละยุคมีวิวัฒนาการและเกิดความแตกต่างกัน โดยที่ส่วนหนึ่งมาจากความก้าวหน้าของวัสดุอุปกรณ์ มีส่วนทำให้การแต่งหน้าเปลี่ยนรูปแบบไปอย่างมาก มีการค้นพบวิธีการใหม่ๆ ที่ผสมผสานศาสตร์และศิลป์ เช่น นำภาพวาดจากจิตรกรรมฝาผนัง นำลายเส้น การแรเงา การกำหนดสีจากศีรษะโขนมาเป็นต้นแบบสำหรับการเขียนหน้าและการแต่งหน้าในนาฏกรรมไทย นอกจากนี้ยังนำทฤษฎีพื้นฐานทางศิลปะมาเป็นส่วนหนึ่งสำหรับสร้างสรรค์แนวคิดการเขียนหน้าและการแต่งหน้า ทำให้มีมิติสมจริงและเป็นไปตามจินตนาการอย่างสมบูรณ์แบบ
คำสำคัญ : หน้าโขน นาฏกรรมไทย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
มนตรี วัดละเอียด, 2550, หน้าโขน, พิมพ์ครั้งแรก, กรุงเทพฯ, โรงพิมพ์กรุงเทพ
มูลนิธิส่งเสริมศลิปาชีพ ฯ, 2552, วิวัฒนาการเครื่องแต่งกายโขน-ละคร สมัยรัตนโกสินทร์, พิมพ์ครั้งแรก, กรุงเทพฯ, แปลน โมทีฟ
สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศฯ, 2481, ศิลปะการแต่งหน้า, สาส์นสมเด็จ (ลายพระหัตถ์)
สำนักการสังคีต กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม, กลวิธีการแต่งหน้าโขน-ละคร ของกรมศิลปากร
อาจารย์ จักรพันธุ์ โปษยกฤต, 25 ส.ค.2551, บทสัมภาษณ์