แนวทางการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมของธุรกิจร้านอาหารในจังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

พรพิมล ศรีธเรศ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบททั่วไปในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมของธุรกิจร้านอาหารในจังหวัดอุบลราชธานี 2) เพื่อศึกษาแนวทางในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมของธุรกิจร้านอาหารในจังหวัดอุบลราชธานี สำหรับการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหารในจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 12 ราย โดยวิธีการสุ่มแบบลูกโซ่ (Snowball Sampling) ด้วยการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured Interview) และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content Analysis)


              ผลการวิจัยพบว่า บริบททั่วไปในการจัดการสิ่งแวดล้อมของธุรกิจร้านอาหารในจังหวัดอุบลราชธานี มีประเด็นหลักที่สำคัญ ดังนี้ ผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหารมีความตระหนักในเรื่องสิ่งแวดล้อมและพยายามเลือกดำเนินการธุรกิจควบคู่กับการดูแลใส่ใจปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยนำแนวคิด 5Rs (Reduce Reuse Recycle Repair and Reject) มาปรับใช้ในธุรกิจร้านอาหารของตนเอง และยังพบอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจร้านอาหารที่ควบคู่ไปกับแนวทางที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 3 ประเด็นหลักคือ 1. ผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมมีราคาที่สูงกว่าผลิตภัณฑ์ทั่วไป 2. แนวปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหารและภาครัฐไม่สอดรับเป็นนโยบายเดียวกัน 3. ความไม่สะดวกสบายสำหรับผู้บริโภคในการปฏิบัติตามนโยบายที่เป็นเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2563). การจัดการขยะมูลฝอย./สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2564, จาก http://www2.pcd.go.th/info_serv/waste.html.
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2564). ภัตตาคารสีเขียวรักษ์โลก./สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2564, จากhttps://www.deqp.go.th/new.
กาญจน์ศิตา กรพัชร์พรสกุล และพิพัฒน์ นนทนาธรณ์. (2559). อิทธิพลของผู้บริโภคสีเขียวและจิตสาธารณะที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์. วารสารสมาคมนักวิจัย, 21(3), 123-131.
ชูศักดิ์ ชูศรี และสุวารี นามวงค์. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการขยะของโรงแรมขนาดเล็ก: กรณีศึกษาเกาะสมุย เกาะพงัน จังหวัดสุราษฏร์ธานี. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 12(1), 91-118.
ฐิติกานต์ สุริยะสาร. (2559). ผลกระทบของการประยุกต์ใช้ข้อมูลการบัญชีบริหารที่มีต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของธุรกิจโรงแรมในประเทศไทย. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 8(2): 127 – 140.
ธันย์ชนก สุขะวัลลิ ชัยวุฒิ ตั้งสมชัย และปิยพรรณ กลั่นกลิ่น. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้บรรจุภัณฑ์ชนิดย่อยสลายทางชีวภาพของร้านอาหารในอำเภอเมืองเชียงใหม่. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 13(2),13-25.
ปทุมรส กาญจนอุดม, ปรเมศร์ อัศวเรืองพิภพ, โอปอล์ สุวรรณเมฆ. (2562). การตัดสินใจซื้อบรรจุภัณฑ์อาหารชานอ้อยของผู้ประกอบการร้านอาหารในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาการจัดการ, 6(2), 369-388.
ปริญ ลักษิตามาศ และศิวารัตน์ ณ ปทุม. (2560). กลยุทธ์การตลาดสีเขียวและคุณค่าร่วม: ธุรกิจนำเที่ยวไทยในตลาดเออีซี. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 9(ฉบับพิเศษ), 18 – 30.
พรพิมล ศรีธเรศ และแสงแข บุญศิริ. (2562). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อสร้างการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมของพนักงานโรงแรมสีเขียวในประเทศไทย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 7(4), 1058 – 1072.
ภาวินีย์ ธนาอนวัช. (2563). โรงแรมสีเขียว: กลยุทธ์การบริหารจัดการและการปฏิบัติบัญชีเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมของโรงแรมกรุงศรีริเวอร์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 12(2), 117-134.
มรกต กำแพงเพชร และพิทักษ์ ศิริวงศ์. (2560). เรื่องเล่าจากผู้ประกอบการสีเขียว จุดเปลี่ยนจากผับสู่ผักจากมังกี้คลับสู่มังกี้ออร์แกนิคฟาร์ม. วารสารธุรกิจปริทัศน์, 9(1), 201-214.
วรางคณา ศรนิล. (2555). มาตรการทางนโยบายเพื่อลดการใช้ถุงพลาสติก: ประสบการณ์ของต่างประเทศกับการประยุกต์ใช้ในประเทศไทย. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม, 8(1), 95-108
วรรณภา ธิติธนานนท์ และศิริลักษณ์ เมฆสังข์. (2560). รูปแบบการตลาดสีเขียวของอุตสาหกรรมอาหารในกลุ่มเยาวชน. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมป์, 12(3), 275-283.
ศูนย์วิจัยธนาคารออมสิน. (2562). ธุรกิจร้านอาหาร. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2564, จาก https://www.gsbresearch.or.th/gsb/economics/industrial-economics/6342/.
GSB Research . (2562). Restaurant business. Retrieved Mar 10 2021, from https://www.gsbresearch.or.th/gsb/economics/industrial-economics/6342/.
สุรพจน์ ณ ถลาง. (2563). รูปแบบการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อโรงแรมขนาดเล็กบนเกาะช้าง จังหวัดตราด. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 14(3), 249-263.
โสภา ชินเวชกิจวานิชย์, วรวรรณ ประชาเกษม และอาภาพร รุจิระเศรษฐ. (2561). โรงแรมสีเขียว: การริเริ่มของภาครัฐเพื่อโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม. วารสารวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมไทย, 32(2), 61-70.