ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ TrueMoney Wallet ในเขตเมืองพัทยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ คือ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ TrueMoney Wallet ในเขตเมืองพัทยา 2) เพื่อศึกษาการตัดสินใจใช้กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ TrueMoney Wallet ในเขตเมืองพัทยา 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ปัจจัยกับการตัดสินใจใช้กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ TrueMoney Wallet ในเขตเมืองพัทยา 4) เพื่อสร้างสมการพยากรณ์การตัดสินใจใช้กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ TrueMoney Wallet ในเขตเมืองพัทยา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนในเขตเมืองพัทยาที่ใช้กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ TrueMoney Wallet จำนวน 429 คน เครื่องที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติวิเคราะห์ คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า Pearson Correlation และสถิติการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (multiple regression analysis) แบบ stepwise
ผลการวิจัย พบว่า
- ความคิดเห็นของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมทางการตลาด ด้านการรักษาความเป็นส่วนตัว และด้านการให้บริการส่วนบุคคล) เมื่อพิจารณาโดยรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก แต่พิจารณาค่าเฉลี่ยรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการรักษาความเป็นส่วนตัว อยู่ในระดับมาก รองลงมา ด้านผลิตภัณฑ์ อยู่ในระดับมาก และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านราคา อยู่ในระดับมาก
- ความคิดเห็นของปัจจัยการยอมรับในเทคโนโลยี (ด้านการรับรู้ถึงประโยชน์ ด้านการรับรู้ความง่ายต่อการใช้งาน ด้านความไว้วางใจของผู้ใช้งาน และด้านทัศนคติ) เมื่อพิจารณาโดยรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก แต่พิจารณาค่าเฉลี่ยรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการรับรู้ความง่ายต่อการใช้งาน อยู่ในระดับมาก รองลงมา ด้านความไว้วางใจของผู้ใช้งาน อยู่ในระดับมาก และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการรับรู้ถึงประโยชน์ อยู่ในระดับมาก
- การตัดสินใจใช้กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ TrueMoney Wallet ในเขตเมืองพัทยา โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือท่านมีความพึงพอใจหลังจากที่ได้ใช้บริการกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์TrueMoney Wallet อยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ ความสะดวกรวดเร็ว เป็นสิ่งสำคัญในการตัดสินใจใช้บริการกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ TrueMoney Wallet อยู่ในระดับมาก และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือเพื่อน/กลุ่มที่ทำงาน มีอิทธิพลในการตัดสินใจใช้บริการกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ของท่าน อยู่ในระดับมาก
- ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการตัดสินใจใช้กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ TrueMoney Wallet ในเขตเมืองพัทยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เรียงจากมากไปน้อย คือ ด้านทัศนคติ รองลงมา ด้านการรับรู้ความง่ายต่อการใช้งาน ด้านความไว้วางใจของผู้ใช้งาน ด้านการรับรู้ถึงประโยชน์ ด้านการส่งเสริมทางการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์ด้านการให้บริการส่วนบุคคลด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการรักษาความเป็นส่วนตัว และด้านราคา ตามลำดับ
- ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ TrueMoney Wallet ในเขตเมืองพัทยาที่มีอำนาจพยากรณ์การตัดสินใจใช้กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ TrueMoney Wallet ในเขตเมืองพัทยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ ด้านทัศนคติ รองลงมา ด้านการรับรู้ความง่ายต่อการใช้งาน ด้านการให้บริการส่วนบุคคล และด้านการส่งเสริมทางการตลาด ตามลำดับ สามารถเขียนเป็นสมการพยากรณ์ได้ดังนี้
สมการในรูปคะแนนดิบ
= - 0.066 0.570 0.124
สมการในรูปคะแนนมาตรฐาน
= 0.534 ZX10 0.132 ZX6 0.165 ZX8 0.120 ZX4
Article Details
References
กฤตโสภา ทิพย์ปัญญาวงศ์. (2559). การศึกษาปัญหาและแรงจูงใจในการใช้งานเงินอิเล็กทรอนิกส์ (E-Money) ผ่านโทรศัพท์มือถือในประเทศไทย. การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการตลาด. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ชยาภรณ์ กิติสิทธิชัย. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการใช้งานกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์(E-Wallet) ในการซื้อสินค้าของผู้บริโภคในจังหวัดกรุงเทพมหานคร.การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
นันท์ธิดา ทองดี. (2561). อิทธิพลภาพลักษณ์องค์กร การยอมรับเทคโนโลยี การรับรู้ความเสี่ยงที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ใช้บริการในเขตกรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต.คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
นุชนาฎ สุทธิวงษ์. (2562).ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการการชําระเงินผ่านแอพพลิเคชั่น เงินอิเล็กทรอนิกส์(E-Money) ในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.
วิเชียร วงศ์ณิชชากุล. (2550). การบริหารการส่งเสริมการตลาด. มหาวิทยาลัยกรุงเทพฯ.
สุณิสา ตรงจิตร์. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านช่องทางตลาด กลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Marketplace). ปริญญานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อัครินทร์ หาญสมบูรณ์เดช. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลเชิงบวกต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องประดับเงินหรือพลอยของลูกค้าในกรุงเทพมหานคร.งานค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
Anisha Ayu Laksmia. (2018). Behavior Users Of E-Money for Payment in E-Toll Based on Assessment Technology Acceptences Model. Journal IImiah Mahasiswa FEB, 6(2).
Randy Ramanda Sultan. (2019). Analisis Technology Acceptance Model Generasi Millenial Jakarta Terhadap Penggunaan E-Money. Journal Pilar Nusa Mandiri, 15(1), 133-140.