ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อเส้นทางศึกษาธรรมชาติในอุทยานแห่งชาติภูผาเทิบ จังหวัดมุกดาหาร

Main Article Content

อรพรรณ สืบศรี
กิติชัย รัตนะ
อภิชาต ภัทรธรรม

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยแวดล้อมพื้นที่ บริเวณเส้นทางศึกษาธรรมชาติในอุทยาน
แห่งชาติภูผาเทิบ ศึกษาลักษณะทางเศรษฐกิจ สังคม ข้อมูลทั่วไป ระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อเส้นทาง
ศึกษาธรรมชาติ และศึกษาแนวทางการพัฒนาเส้นทางศึกษาธรรมชาติในอุทยานแห่งชาติภูผาเทิบ ให้สอดคล้องกับ
ลักษณะทางกายภาพและชีวภาพของพื้นที่ และความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว โดยใช้ปัจจัยในการศึกษา 7 ปัจจัย
ได้แก่ ภูมิสัณฐาน ความลาดชัน การปรากฏของหมู่ไม้ โอกาสในการพบเห็นสัตว์ คุณค่าความงามด้านภูมิทัศน์ ความ
ปลอดภัย และความโดดเด่นด้านการสื่อความหมาย (สุรศักดิ์ ชูทอง, 2548) และศึกษานักท่องเที่ยวที่มาเยือนอุทยาน
แห่งชาติภูผาเทิบ โดยใช้แบบสอบถามจำนวน 395 ตัวอย่าง วิธีวิเคราะห์ทางสถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน ใช้สถิติที
(t-test) และสถิติเอฟ (F-test) กำหนดนัยสำคัญทางสถิติไว้ที่ระดับ 0.05 (p-value = 0.05)
ผลการศึกษา พบว่า ภูมิสัณฐานมีความหลากหลายสูง ความลาดชันน้อย (เฉลี่ย 6.08 เปอร์เซ็นต์) การปรากฏ
ของหมู่ไม้ครบทุกกลุ่มโครงสร้างชั้นเรือนยอด โอกาสในการพบเห็นสัตว์ป่าน้อย คุณค่าความงามด้านภูมิทัศน์ปานกลาง
ความปลอดภัยปานกลาง ความโดดเด่นด้านการสื่อความหมายสูง ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว พบว่านักท่องเที่ยวที่
ทำการศึกษาเป็นเพศชายและเป็นเพศหญิงในจำนวนที่ใกล้เคียงกัน อายุน้อยที่สุด 17 ปี มีการศึกษาระดับ มัธยมศึกษา
ตอนปลาย/ปวช./ปวส./ปริญญาตรี/ปริญญาโท ส่วนใหญ่ไม่มีอาชีพหลัก (นักเรียน/นักศึกษา) มีรายได้ต่อเดือนเฉลี่ย
11,080.76 บาท มีภูมิลำเนาอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีระยะทางการเดินทางมาท่องเที่ยวเฉลี่ย107.17 กิโลเมตร
มีวัตถุประสงค์เพื่อท่องเที่ยวทั่วไป มาท่องเที่ยวกับกลุ่มเพื่อน ไม่เคยมีประสบการณ์การมาท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวมี
ความพึงพอใจต่อเส้นทางศึกษาธรรมชาติในอุทยานแห่งชาติแห่งนี้ อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.19 ทั้งนี้
นักท่องเที่ยวที่มีอาชีพหลัก ประสบการณ์การเดินทาง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญและอายุ ระดับการศึกษา รายได้ต่อ
เดือน ระยะทางการเดินทางมาท่องเที่ยว วัตถุประสงค์หลัก ประเภทกลุ่มนักท่องเที่ยว มีความแตกต่างกันอย่างมี
นัยสำคัญยิ่งทางสถิต

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. (2563ก). อุทยานแห่งชาติภูผาเทิบ(PhuPhaThoep).

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. สืบค้นเมื่อ 29สิงหาคม 2563. จาก

http://park.dnp.go.th/visitor/nationparkshow.php?PTA_CODE=1059

_______. (2563ข). สถิตินักท่องเที่ยวและยานพาหนะในเขตอุทยานแห่งชาติ.

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2563 จาก

http://webreg.dnp.go.th/park/index3.php?Submit=1&task=Report19v2&YYYY=2563&type=all&Page=6

ธีระศักดิ์ คำห้าง. (2556). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อสิ่งอำนวยความสะดวกและการให้บริการของอุทยานแห่งชาติ

แม่วะ จังหวัดลำปาง.การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาโท,มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์.โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

มณเฑียร วิริยะพันธุ์. (2562). ความพึงพอใจของผู้มาเยือนที่มีต่อสิ่งอำนวยความสะดวกและการให้บริการของอุทยานแห่งชาติ

ภูผาเทิบ จังหวัดมุกดาหาร. (วิทยานิพนธ์สาขาบริหารทรัพยากรป่าไม้และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

สุรศักดิ์ ชูทอง. (2548). การวิเคราะห์ปัจจัยแวดล้อมและความต้องการของนักท่องเที่ยวเพื่อการออกแบบเส้นทางเดินป่า

ระยะไกลในอุทยานแห่งชาติเขาหลวง. (วิทยานิพนธ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

เสกสันต์ มานะอุดมสิน. (2555). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการให้บริการและสิ่งอำนวยความสะดวกของอุทยาน

แห่งชาติดอยฟ้าห่มปก จังหวัดเชียงใหม่.(การศึกษาค้นคว้าอิสระ,มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

สำนักอุทยานแห่งชาติ. (2546). เอกสารประกอบการสัมมนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (การบริหารจัดการอุทยาน

แห่งชาติ). กรุงเทพฯ: นักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.

_______. (2554). คู่มืออุทยานแห่งชาติลำดับที่ 9 การจัดทำเส้นทางศึกษาธรรมชาติ.

กรุงเทพฯ: กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม.

อภิวัฒน์ สุวรรณพิพัฒน์. (2551). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อการบริการของอุทยานแห่งชาติเกาะช้าง จังหวัดตราด.

(วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยบูรพา).

IUCN. (1994). Guidelines for Protected Area Management Categories. IUCN Commission on National Parks and

Protected Area with the assistance of the World Conservation Monitoring Centre. IUCN, Gland.

Oxley, D.J., Fenton, M.B. Fentonand, G.R.Carmody (1974). The effects of roads on

populations of animal. Jour. Applied Ecology.

Robert, E. (2013). Consumer Behaviour. New Jersey: Prentice-Hall Inc.

Smith, V. (1989). Host and Guests: The Anthropology of Tourism.(2nd ed): Pennsylvania: University of Pennsylvania

Press, Philadelphia