ผลกระทบจากการฟื้นฟูป่าเต็งรังต่อวิถีชีวิตของราษฎรบริเวณพื้นที่ ป่าสงวนแห่งชาติป่าหนองเต็งและป่าจักราช จังหวัดนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชนิดไม้ที่ปรากฏภายหลังการฟื้นฟูป่าเต็งรัง ลักษณะทาง
เศรษฐกิจ สังคม ข้อมูลทั่วไป และผลกระทบจากการฟื้นฟูป่าเต็งรังต่อวิถีชีวิตของราษฎรบริเวณพื้นที่ป่าสงวน
แห่งชาติป่าหนองเต็งและป่าจักราช จังหวัดนครราชสีมา ที่เกิดจากการฟื้นฟูป่าเต็งรังที่ผ่านมา โดยการใช้
เครื่องมือในรูปแบบสัมภาษณ์เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลกับราษฎรบริเวณพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าหนองเต็งและ
ป่าจักราช จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 362 ครัวเรือน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านเศรษฐกิจ
และสังคม กับระดับผลกระทบของทุนการดำรงชีวิตด้านต่างๆ จากกการฟื้นฟูป่าเต็งรัง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์
ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์โดยทดสอบความเชื่อมั่นที่ระดับร้อยละ 95
ผลการศึกษาพบว่า ชนิดไม้ที่ปรากฏภายหลังการฟื้นฟูป่าเต็งรัง 9 ชนิด ตัวแทนราษฎรที่ทำการศึกษา มีช่วงอายุ
ระหว่าง 40-74 ปี มีอายุเฉลี่ย 52 ปี ส่วนใหญ่เป็นชนดั้งเดิมเกิดในหมู่บ้าน มีระดับการศึกษาที่ประถมศึกษามาก
ที่สุด ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ มีรายได้อยู่ระหว่าง 10,000-664,000 บาทต่อปี รายได้เฉลี่ย
151,659 บาทต่อปี มีรายจ่ายระหว่าง 5,000-450,000 บาทต่อปี รายจ่ายเฉลี่ย 97,562 บาทต่อปีเมื่อศึกษา
ผลกระทบจากการฟื้นฟูป่าเต็งรังต่อการดำรงชีวิตของราษฎร โดยวิเคราะห์ปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคม
ทางด้านบวกที่มีความสัมพันธ์กับระดับผลกระทบต่อทุนการดำรงชีวิตด้านต่าง ๆ มากที่สุด คือ การรวมกลุ่ม
ทางสังคม เนื่องจากผู้ที่เป็นสมาชิกกลุ่มย่อยจะได้รับประโยชน์จากการเข้าร่วมกิจกรรมฟื้นฟูป่าเต็งรัง ส่วน
ปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมทางด้านลบที่มีความสัมพันธ์กับระดับผลกระทบต่อทุนการดำรงชีวิตด้านต่าง ๆ
มากที่สุด คือ รายได้ เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างมีรายได้จากอาชีพหลัก การฟื้นฟูป่าเต็งรังจึงไม่กระทบต่อรายได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จรัส ช่วยนะ. (2540). ลักษณะโครงสร้างของป่าเต็งรังทุติยภูมิ บริเวณโครงการพัฒนาตามพระราชดำริ
ป่าหนองเต็ง–จักราช จังหวัดนครราชสีมา. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรบัณฑิต,
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.)
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ:
สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา.
สุรศักดิ์ อมรรัตนศักดิ์. (2554). ระเบียบวิธีวิจัย หลักการและแนวทางปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริม
วิชาการ.
สุบงกช จามีกร. (2526). สถิติวิเคราะห์สำหรับงานวิจัยทางสังคมศาสตร์: เอกสารคำสอนวิชาสถิติ 474.
กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาสถิติ.
สุพัตรา พูนกระโทก. (2553). ผลกระทบจากการฟื้นฟูป่าชายเลนต่อการดำรงชีวิตของราษฎรในตำบล
คลองโดน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรบัณฑิต,
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.)
Cronbach, L.J. (1970). Essentials of Psychological Testing. New York: Harper and Row.
Hinkle, D.E., W.wiersma and S.G.jurs. (1998). Applied statistic for the behavioral sciences.
(5th ed.). Boston: Houghton Miffin Collage USA