ผลการจัดกิจกรรมนันทนาการด้านกีฬาภูมิปัญญาไทยที่มีต่อการจัดการความเครียดของ ผู้สูงอายุในจังหวัดจันทบุร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเครียด
ของผู้สูงอายุในจังหวัดจันทบุรี โดยการใช้โปรแกรมกิจกรรมนันทนาการด้านกีฬาภูมิปัญญาไทยที่มีผล ต่อการ
จัดการความเครียดของผู้สูงอายุในจังหวัดจันทบุรี กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุที่อยู่ในจังหวัดจันทบุรี ที่มีอายุ 60
ปีขึ้นไป สามารถร่วมกิจกรรมได้ด้วยความสมัครใจ จำนวน 40 คน โดยวิธีการสุ่มเฉพาะ แบบเจาะจง
(Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น 2 ชุดดังนี้ 1) แบบวัดระดับ ความเครียด โดยการใช้
แบบประเมินความเครียดสวนปรุง (SPST- 20) กรมสุขภาพจิต 2) โปรแกรม กิจกรรมนันทนาการด้านกีฬาภูมิ
ปัญญาไทยที่มีผลต่อการจัดการความเครียดของผู้สูงอายุ คุณภาพ เครื่องมือวิจัย แบบประเมินความเครียดสวน
ปรุง (SPST- 20) กรมสุขภาพจิต มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.95 โปรแกรมกิจกรรมนันทนาการด้านกีฬาภูมิ
ปัญญาไทยที่มีผลต่อการจัดการความเครียดของผู้สูงอายุในจังหวัดจันทบุรี โดยมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93
วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติ ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด และค่าต่ำสุด
และ (t-test) (Paired Samples T-test)
ผลการศึกษาพบว่า 1) ส่วนใหญ่เป็นเพศชายมีอายุ 81 ปีขึ้นไป มีสถานภาพแต่งงานแล้วจบการศึกษา
ระดับประถมศึกษา มีอาชีพรับจ้างทั่วไป และส่วนใหญ่มีโรคประจำตัว 2) ระดับความเครียดของผู้สูงอายุหลัง
เข้าร่วมโปรแกรมกิจกรรม นันทนาการด้านกีฬาภูมิปัญญาไทยที่มีผลต่อการจัดการความเครียดของผู้สูงอายุใน
จังหวัดจันทบุรี โดยผลการทดสอบพบว่ามีระดับความเครียดลดลง มีค่าสถิติการทดสอบที่เท่ากับ 15.95 ที่
ระดับ นัยสำคัญทางสถิติ .05 สรุปได้ว่า โปรแกรมกิจกรรมนันทนาการด้านกีฬาภูมิปัญญาไทยที่มีผลต่อการ
จัดการความเครียดของผู้สูงอายุในจังหวัดจันทบุรี ส่งผลช่วยในการพัฒนาสุขภาพจิตและลดระดับความเครียด
ของผู้สูงอายุอย่างถูกวิธีและเหมาะสม ทำให้มีการออกกำลังกายของผู้สูงอายุด้วยกีฬาภูมิปัญญาไทยมากยิ่งขึ้น
และพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุให้มีจิตใจความเป็นไทย มีร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ในการอนุรักษ์มรดก
ทางวัฒนธรรมไทยอันเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นแสดงถึงความเป็นชาติไทยอันจะส่งผลถึงความเข้มแข็งอย่าง
ยั่งยืนของสังคมไทยและหน่วยงานที่รับผิดชอบต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมสุขภาพจิต. (2559). ศึกษาความเครียดของคนไทย. กรุงเทพฯ: บียอนด์พับลิสซิ่ง
กุลวดี โรจน์ไพศาลกิจ. (2557). การวิจัยบริการทางสุขภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
จิราพร หินทอง. (2561). การจัดการความเครียด. กรุงเทพฯ: กรมวิทยาศาสตร์บริการ.
ชนิตา ไกรเพชร. (2557). การพัฒนารูปแบบการออกกำลังกาย เพื่อส่งเสริมสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ
ในกลุ่มจังหวัดภาคกลาง โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน. กรุงเทพฯ: สถาบันการพลศึกษา.
นิมิต ศัลยา. (2563). ทำอย่างไรให้หายเครียด. กรุงเทพฯ: แปลน พิบลิชชิ่ง.
ปาริชาติ ค้ำชู. (2561). ผลการใช้โปรแกรมกิจกรรมนันทนาการกลุ่มต่อภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุใน
ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ จังหวัดภูเก็ต. (วิทยานิพนธ์ภูเก็ต : บัณฑิต
วิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต)