การมีส่วนร่วมของราษฎรในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้พื้นที่แนวกันชน ของอุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน จังหวัดราชบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางเศรษฐกิจ สังคม ข้อมูลทั่วไป บริบทของอุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน ระดับการมีส่วนร่วม และปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของราษฎรในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้พื้นที่แนวกันชนของอุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน จังหวัดราชบุรี ข้อมูลการศึกษารวบรวมโดยใช้แบบสอบถามไปสอบถามราษฎรที่อยู่อาศัยบริเวณโดยรอบพื้นที่อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน ในท้องที่ 21 หมู่บ้าน 6 ตำบล 2 อำเภอ รวมจำนวน 368 ครัวเรือน วิธีวิเคราะห์ทางสถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน ใช้สถิติ t-test และสถิติ F-test กำหนดนัยสำคัญทางสถิติไว้ที่ระดับ 0.05 (p-value = 0.05)
ผลการศึกษา พบว่า ราษฎรที่ทำการศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 40.25 ปี มีการศึกษาระดับประถมศึกษา มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.63 คน มีอาชีพเกษตรกรรม (ทำนา/ทำไร่/ทำสวน) เป็นอาชีพหลัก มีรายได้ของครัวเรือนเฉลี่ย 130,260.87 บาทต่อปี มีภูมิลำเนาเดิมตั้งบ้านเรือนอยู่ดั้งเดิมในหมู่บ้าน มีระยะเวลาการตั้งถิ่นฐานเฉลี่ย 25.58 ปี มีความคุ้นเคยกับเจ้าหน้าที่ป่าไม้พอสมควร เคยมีประสบการณ์การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ มีความรู้เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมและมีความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้อยู่ในระดับมากและอยู่ในระดับน้อย ตามลำดับ อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน ตั้งอยู่ในเทือกเขาป่าแม่ประจันซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำของลำห้วยหลายสาย มีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ เป็นผืนเดียวกันกับอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี และสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา พื้นที่ป่าเป็นป่าเบญจพรรณ แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ได้แก่ น้ำพุร้อนโป่งกระทิง จุดชมนกเงือกบางกะม่า จุดชมวิวเหนืออ่างเก็บน้ำบ้านไทยประจัน มีสิ่งอำนวยความสะดวกในพื้นที่ เช่น ห้องน้ำ บ้านพัก ลานกางเต็นท์ ลานจอดรถ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ร้านค้า เส้นทางศึกษาธรรมชาติ ป้ายสื่อความหมายต่าง ๆ เป็นต้น ราษฎรมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้พื้นที่แนวกันชนของอุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจันอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 2.64 ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของราษฎรในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้พื้นที่แนวกันชนของอุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน จังหวัดราชบุรี ได้แก่ ระดับการศึกษา ความคุ้นเคยกับเจ้าหน้าที่ป่าไม้ ประสบการณ์การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ และความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ก้องกิตติพัศ พิชัยณรงค์. (2561). การมีส่วนร่วมของราษฎรในการฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่สลิด - โป่งแดง ตำบลวังประจบ อำเภอเมือง จังหวัดตาก. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).
ก้องเกียรติ เต็มตำนาน. (2561). การมีส่วนร่วมของราษฎรในโครงการฝายประชารัฐตำบลบึงงาม อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).
จักรพันธ์ ม่วงยิ้ม. (2561). การมีส่วนร่วมของราษฎรในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลนในพื้นที่ บ้านบางลา ตำบลป่าคลอก อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).
ชูเกียรติ วังเรียง. (2555). การมีส่วนร่วมของราษฎรท้องถิ่นในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่หน่วยจัดการต้นน้ำคลองทราย อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี. (การศึกษาค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).
ประภาเพ็ญ สุวรรณ. (2526). ทัศนคติ : การวัดการเปลี่ยนแปลงและพฤติกรรมอนามัย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรพล ประสมทรัพย์. (2557). การมีส่วนร่วมของชนเผ่าปกาเกอญอในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้โครงการพัฒนาป่าไม้ตามแนวพระราชดำริบ้านสบหาด อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่. (การศึกษาค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).
สุวิทย์ แสงศรีจันทร์. (2558). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้พื้นที่หน่วยจัดการต้นน้ำแม่เผอะ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่. (การศึกษาค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).
สำนักงานจังหวัดราชบุรี. (2564). ข้อมูลจำนวนและครัวเรือนประชากรในท้องที่จังหวัดราชบุรี. ราชบุรี: ศาลากลางจังหวัดราชบุรี.
สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา. (2564). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2564, จาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/ PDF/2560/A/040/1.PDF
อภิชาติ แสงประดับ. (2558). การมีส่วนร่วมของราษฎรในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติลำน้ำกระบุรี จังหวัดระนอง. (การศึกษาค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).
Yamane, T. (1973). Statistics; An Introductory Analysis. (3rded). Tokyo: Harper International Edition.