แนวทางการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นการทอผ้าไหมสู่คนรุ่นใหม่ ของกลุ่มทอผ้าไหม ตำบลกาบิน อำเภอกุดข้าวปุ้น จังหวัดอุบลราชธานี -

Main Article Content

กิตธวัช บุญทวี

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการรับรู้ ทัศนคติ ความรู้ความเข้าใจ และพฤติกรรมใน
การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นการทอผ้าไหมไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันของประชาชนใน ตำบล
กาบิน อำเภอกุดข้าวปุ้น จังหวัดอุบลราชธานีและ 2) ศึกษาแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการถ่ายทอด
ภูมิปัญญาท้องถิ่นการทอผ้าไหมสู่คนรุ่นใหม่ของกลุ่มทอผ้าไหม ตำบลกาบิน อำเภอกุดข้าวปุ้น จังหวัด
อุบลราชธานีผู้วิจัยใช้การวิจัยแบบผสม การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนในตำบลกาบิน อำเภอ
กุดข้าวปุ้น จังหวัดอุบลราชธานีจำนวน 350 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างง่าย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิจัยเชิง
คุณภาพ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ตัวแทนกลุ่มผู้นำชุมชน ปราชญ์ ผู้นำภูมิปัญญา ตัวแทนประชาชน ครู และแกน
นำเยาวชน จำนวนทั้งสิ้น 16 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ การสัมภาษณ์เชิง
ลึกและทำการสนทนากลุ่ม และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า การรับรู้ข่าวสารอยู่ในระดับการรับรู้ปานกลาง ด้านทัศนคติอยู่ในระดับ
ปานกลาง ด้านความรู้ความเข้าใจอยู่ในระดับปานกลาง และด้านพฤติกรรมอยู่ในระดับปานกลาง และ
ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า แนวทางการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นการทอผ้าไหมสู่คนรุ่นใหม่ เน้นการ
ทำงานแบบมีส่วนร่วม ได้แก่ 1) กลุ่มผู้นำชุมชน ภาคประชาชน มีบทบาทสำคัญในการสร้างงาน สนับสนุน
ส่งเสริมและผลักดันในการถ่ายทอดภูมิปัญญาการทอผ้าไหม 2) หน่วยงานภาครัฐ ให้การสนับสนุนในการ
จัดการแข่งขันสร้างมูลค่าเพิ่มจากภูมิปัญญาท้องถิ่น เปิดโอกาสให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ ประชาชนภายในตำบล
เข้าร่วมกิจกรรม 3) หน่วยงานภาคเอกชน สนับสนุนงบประมาณ การผลิต การตลาด และช่องทางการจัด
จำหน่าย 4) สถาบันการศึกษาทุกระดับ บรรจุหลักสูตรหรือรายวิชาการทอผ้า โดยกำหนดให้เรียนเป็นวิชาเลือก
และการรณรงค์การแต่งกาย และ 5) สถาบันทางศาสนาให้การสนับสนุนสถานที่จัดงานหรือจัดกิจกรรม
ทางด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

โกวิทย์ พวงงาม. (2562). การจัดการตอนเองของชุมชนและท้องถิ่น. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ:

ธรรมสาร.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2554). การวิเคราะห์สถิติขั้นสูงด้วย SPSS for Windows. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ:

ธรรมสาร.

จรัญดา จันทร์แจ่ม, อภิชาติ ใจอารีย์ และวีรฉัตร์ สุปัญโญ. (2557). แนวทางการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของ

ประชาชนในการถ่ายทอดภูมิปัญญาผ้าจกสู่เยาวชนของชุมชน ชาวไท-ยวน ตำบลคูบัว อำเภอเมือง

จังหวัดราชบุรี. วารสารวิชาการ. 7(3), 159-174.

ธมนพัชร์ ศรีษะพลภูสิทธิ, วิทยาธร ท่อแก้ว และกมลรัฐ อินทรทัศน์. (2563). รูปแบบการสื่อสารในการ

ถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น ของกลุ่มทอผ้าไหมยกทองจันทร์โสมา จังหวัดสุรินทร์. วารสาร

สังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 6(1), 100-107.

นิตยา วรรณกิตร์. (2558). ภูมิปัญญา “ผ้าไหมแพรวาผู้ไทบ้านโพน”: พลวัตและการปรับตัว. วารสารไทย

ศึกษา. 10(2), 63-86.

เนตรชนก คงทน, พีรวิชญ์ คำเจริญ และจิรพัฒน์ โทพล. (2561). การสื่อสารการตลาดผ้าไหมอารยธรรมขอม

และการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มของชุมชน : กรณีศึกษากลุ่มทอผ้าไหม บ้านตะคร้อ

เหนือ อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารชุมชนวิจัย. 12(1), 56-72.

นงนภัส คู่วรัญญเที่ยงกมล. (2551). การวิจัยเชิงบูรณาการแบบองค์รวม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.

ปัญญรัตน์ วันทอง และพัชนี เชยจรรยา. (2558). กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อการถ่ายทอดภูมิปัญญาการทอผ้า

ไหม กรณีศึกษาชุมชนบ้านประทุน หมู่ที่ 4 ตำบลแตล อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์. วารสารการ

สื่อสารและการจัดการ นิด้า. 1(3), 1-16.

พรสวรรค์ สุวัณณศรีย์. (2553). ภูมิปัญญาไทย: คุณค่าการพัฒนาและการสืบทอด. เลย: มหาวิทยาลัยราช

ภัฏเลย.

เสรี พงษ์พิศ. (2536). ภูมิปัญญาชาวบ้านกับการพัฒนา (เล่ม 1). กรุงเทพฯ: มูลนิธิภูมิปัญญา.

อรณิชชา ทศตา, สุกัญญา ใจอดทน และจันทร์จิรา ใจอดทน. (2560). การถ่ายทอดภูมิปัญญาพื้นบ้านในการ

ทอผ้าไหม อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิจัยวิทยาลัยนครราชสีมา, 1(1), 117-128