องค์ประกอบความสำเร็จการทำเกษตรแบบผสมผสานอย่างยั่งยืน ในพื้นที่บ้านสะจุก บ้านสะเกี้ยง ตำบลขุนน่าน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน

Main Article Content

พงษ์ศักดิ์ ปาสาบุตร
ธนากร ลัทธิ์ถีระสุวรรณ
ฑีฆา โยธาภักดี
ปิยะพิศ ขอนแก่น

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากระบวนการทำเกษตรผสมผสานและองค์ประกอบที่ทำให้การ
ทำเกษตรผสมผสานประสบความสำเร็จ 2) เพื่อศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนในการทำเกษตรผสมผสาน และ
3) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและแนวทางการพัฒนาการทำเกษตรผสมผสานอย่างยั่งยืน รูปแบบการวิจัย เป็นการ
วิจัยแบบผสานวิธี ประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ พื้นที่วิจัย คือ บ้านสะจุก
บ้านสะเกี้ยง ตำบลขุนน่าน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และ
แบบสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูล กลุ่มตัวอย่างจำนวน 153 ครัวเรือน ใช้เทคนิคการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชนิด คือ 1) แบบสอบถาม และ 2) แบบสอบถามสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัย
พบว่า การทำเกษตรผสมผสาน มีทั้งหมด 5 รูปแบบ ประกอบไปด้วย 1) เกษตรแบบดั้งเดิม 2) เกษตรผสมผสาน
แบบที่ 1 3) เกษตรผสมผสานแบบที่ 2 4) เกษตรผสมผสานแบบที่ 3 และ 5) เกษตรผสมผสานแบบที่ 4
ซึ่งรายได้เหนือต้นทุนรวมของระบบเกษตรผสมผสานแบบที่ 2 มีรายได้เหนือต้นทุนรวมมากที่สุดเฉลี่ย 23,335
บาท/ไร่ โดยปัญหาการทำเกษตรส่วนใหญ่ที่พบ คือ การทำเกษตรเชิงเดี่ยวก่อให้เกิดการสูญเสียหน้าดิน
อินทรียวัตถุในดินถูกทำลาย และการชะล้างพังทลายของดิน ทำให้ผลผลิตต่อพื้นที่ลดลงทุกปีดังนั้นการศึกษา
องค์ประกอบความสำเร็จการทำเกษตรผสมผสานอย่างยั่งยืน จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะนำผลการศึกษาไปพัฒนา
และขยายผลการส่งเสริมการทำเกษตรผสมผสานให้กับเกษตรกรรายอื่นที่มีความสนใจ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณัฐกฤตา ศรีสุยงค์เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ และสินีนุช ครุฑเมืองแสนเสริม. (2556). การทำเกษตรผสมผสาน

ของเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี (Integrated farming of farmers in Udon Thani Province.)

การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้ง 3.

ดวงใจ ตู้ดำ. (2563). คู่มือการปฏิบัติงาน กิจกกรมส่งเสริมระบบวนเกษตรในเขตปฏิรูปที่ดินภายใต้

โครงการ พัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน. กรุงเทพฯ: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

นราทิพย์ ชุติวงศ์. (2548). หลักเศรษฐศาสตร์ : จุลเศรษฐศาสตร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน. (2559). เกษตรผสมผสาน. สืบค้นเมื่อ 17 ธันวาคม 2564, จาก https:// www.

moac .go.th/philosopher-sustainable_agri-preview-382891791795

วิชาภรณ์ พรหมณะ. (2550). การศึกษารูปแบบ และวิธีการทำการเกษตรแบบผสมผสานของเกษตรกร

กรณีศึกษา : บ้านหนองสร้อย ตำบลมะกอก อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน. มหาวิทยาลัยแม่โจ้,:ม.ป.ท.

วีรเดช ฐานวีโร และเอื้อมทิพย์ ศรีทอง. (2563). รูปแบบเกษตรผสมผสานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมใน จังหวัด

เพชรบูรณ์. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม,. 5(1),

สถานีพัฒนาเกษตรที่สูง ตามพระราชดำริ บ้านสะจุก บ้านสะเกี้ยง จังหวัดน่าน. (2562). รายงานประจำปี 2562.

Yamane, Taro. (1973). Statistics; An Introductory Analysis. (3rd ed). Tokyo: Harper International

Edition