ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมการใช้ทรัพยากรน้ำ ของกลุ่มผู้ใช้น้ำ พื้นที่ลุ่มน้ำเกี๋ยน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ สาขาการจัดการป่าไม

Main Article Content

พันธ์ศักดิ์ สายเกียรติวงศ์
ธนากร ลัทธิ์ถีระสุวรรณ
ปิยะพิศ ขอนแก่น
ฑีฆา โยธาภักดี

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการใช้ประโยชน์ทรัพยากรน้ำ และศึกษาปัจจัยที่มี
อิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมการใช้ทรัพยากรน้ำของกลุ่มผู้ใช้น้ำพื้นที่ลุ่มน้ำเกี๋ยน จังหวัดน่าน เพื่อหาแนว
ทางการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำได้อย่างเหมาะสม ใช้แบบสอบถามเก็บกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ต้นน้ำ 45
กลางน้ำ 20 ปลายน้ำ 230 ตัวอย่าง รวม 295 ตัวอย่าง การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ มีตัวแปรตาม คือ
การมีส่วนร่วมของชาวบ้านในพื้นที่ ตัวแปรอิสระจำนวน 8 ตัว ได้แก่ อาชีพหลัก ปริมาณน้ำเกษตร ปริมาณ
น้ำอุปโภคบริโภค ปัญหาอุปสรรค ตำแหน่ง จำนวนแหล่งน้ำเกษตร การศึกษา และรายได้ ผลการวิจัยพบว่า
ชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพหลักด้านการเกษตร ใช้แหล่งน้ำตามธรรมชาติ มีการใช้มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำ
ควบคู่ในการทำเกษตร ด้านการอุปโภคและบริโภคส่วนใหญ่ใช้จากประปาหมู่บ้านและการซื้อน้ำดื่ม ด้านการ
มีส่วนร่วมทรัพยากรน้ำพบอยู่ในระดับปานกลาง นอกจากนี้ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมพบจำนวน 4
ตัวแปรมีทิศทางบวก ได้แก่ ปัญหาอุปสรรคในการบริหารจัดการ การมีบทบาทหน้าที่และตำแหน่งสำคัญใน
องค์กรต่าง ๆ รายได้ และการศึกษา ทิศทางลบ จำนวน 2 ตัวแปร ได้แก่ อาชีพหลัก และปริมาณน้ำที่
เพียงพอต่อการทำเกษตรกรรม ดังนั้น เมื่อประสบปัญหาปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการทำเกษตรกรรมในแต่
ละฤดู จะส่งผลให้ชุมชนผู้ใช้น้ำเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลหรือพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ แนวทางการมีส่วน
ร่วมหลัก คือ ด้านการอนุรักษ์แหล่งน้ำและการป้องกันภัยน้ำท่วม น้ำแล้ง กลุ่มผู้ใช้น้ำในแต่ละกลุ่มได้เล็งเห็น
ถึงความสำคัญของแหล่งน้ำ และการเกิดสาธารณภัย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2549). สถิติสำหรับงานวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.

เขมิกา วริทธิ์วุฒิกุล, รัดเกล้า เปรมประสิทธิ์, นพรัตน์ รัตนประทุม และศุภสิทธิ์ ต๊ะนา. (2562). การเปรียบเทียบ

การจัดการทรัพยากรน้ำของชุมชนจำแนกตามพื้นที่ลุ่มน้ำน่าน. วารสารพัฒนาสังคม, 22(1), 162-182.

เชาวลิต สิมสวย. (2556). พัฒนาการและการแลกเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการน้ำเพื่อดการเกษตรใน

พื้นที่ลุ่มน้ำแม่ขาน จังหวัดเชียงใหม่. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, 31(3), 86-114.

นิรัตน์ แย้มโอษฐ์ และอดิสรณ์ พงษ์สุวรรณ. (2563). ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์แหล่งน้ำชุมชน

ของประชาชนในจังหวัดนนทบุรี. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม, 10(1),

-163.

พรศักดิ์ จีวะสุวรรณ. (2552). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของการจัดการลุ่มน้ำแม่กลอง.

วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 3(1), 100-114.

พศิน วัชระชยะกูร และสุชินชยันต์ เพ็ชรนิล. (2559). ผลสัมฤทธิ์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่ลุ่ม

น้ำเจ้าพระยาจังหวัดชัยนาท-กรุงเทพมหานคร. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลย

อลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 10(2), 93-102.

ภัทร ชมภูมิ่ง, จุมพล หนิมพานิช, สมบูรณ์ สุขสำราญ และวรรณนภา วามานนท์. (2558). รูปแบบการ

อภิบาลเครือข่ายในการจัดการทรัพยากรน้ำ : ศึกษากรณีพื้นที่ภูมิภาคลุ่มน้ำยม. วารสารมนุษยศาสตร์

และสังคมศาสตร์, 21(3), 145-159.

ยุทธศาตร์ นิติศาสตร์, อิมรอน มะลูรีม, วัลลภ รัฐฉัตรานนท์ และชาญชัย จิตรเหล่าอาพร. (2557). ยุทธศาตร์

การบริหารงบประมาณของค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้านการจัดการน้ำตามหลักปรัชญา

เศรษฐกิจพอเพียง. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรม

ราชูปถัมภ์, 8(3), 30-44.

ราตรี นินละเอียด, กิติชัย รัตนะ และวิชา นิยม. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนใน

การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลนพื้นที่หาดสระบัว ตำบลท่าศาลา อำเภอท่าศาลา จังหวัดฃ

นครศรีธรรมราช. วารสารวนศาสตร์, 34(2), 22-32.

ลักขณา แสงอุไรเพ็ญ, สมนิมิต พุกงาม และปิยพงษ์ ทองดีนอก. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของ

ประชาชนในการอนุรักษ์พลับพลึงธาร (Crinum thaianum J. Schulze) บริเวณตำบลนาคา

อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง. วารสารวนศาสตร์, 37(1), 132-142.

วิจิตร วิชัยสาร, กรีฑา ไขแสง, ประภัสสร ทองยินดี, นันทวุฒิ จำปางาม, เกียรติชัย เวษฎาพันธุ์ และรัฐพล

สันสน. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการน้ำ การอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำและการมีส่วนร่วมในการ

จัดการน้ำและอนุรักษ์น้ำของชุมชนคลองส่งน้ำดิบในบริเวณพื้นที่เขตอนุรักษ์และจุดรับน้ำดิบสำแล.

วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 11(3), 42-55.

ศศิธร อุทิศเชวงศักดิ์, วุฒิพล หัวเมืองแก้ว และสันติ สุขสอาด. (2555). การมีส่วนร่วมของราษฎรใน

การอนุรักษ์พื้นที่ลุ่มน้ำ ภายใต้โครงการส่งเสริมและพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่

ป่าอนุรักษ์ของหน่วยจัดการต้นน้ำห้วยสำราญ จังหวัดสุรินทร์ และจังหวัดศรีสะเกษ. วารสาร

วนศาสตร์, 32(3), 55-63.

สามารถ ใจเตี้ย. (2557). นิเวศวัฒนธรรมเพื่อการจัดการทรัพยากรน้ำ. พิฆเนศวร์สาร, 1(1), 13-23.

สามารถ ใจเตี้ย. (2562). การมีส่วนร่วมของเกษตรกรในกิจกรรมการจัการทรัพยากรน้ำลุ่มน้ำลี้ จังหวัด

ลำพูน. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า, 37(3), 519-256.

สุภาพงษ์ รู้ทำนอง. (2561). การถ่ายทอดองค์ความรู้ภูมิสารสนเทศด้านการอนุรักษ์และจัดการ

ทรัพยากรธรรมชาติ และทางวัฒนธรรม ลุ่มน้ำคลองสวนหมาก จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารการ

พัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 6(2), 427-438.

สุภัทรา ถึกสถิต และเรณุกา กลับสุข. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการ

ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ต้นน้ำลำธาร หน่วยจัดการต้นน้ำน้ำปาด จังหวัดน่าน. เรื่องเต็มการ

ประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 49: สาขาทรัพยากรธรรมชาติและ

สิ่งแวดล้อม (83-90). กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุวัฒน์ เปี่ยมปัจจัย, ดวงตา ตันโซ และคณะนักศึกษาหลักสูตรป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 57 กลุ่มการ

จัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2557). การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ

สิ่งแวดล้อม : การบริหารจัดการปัญหาภัยแล้ง. วารสารรัฏฐาภิรักษ์, 1(1), 53-67.

โสภิดา สุรินทะ. (2553). การมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรน้ำของประชาชน : กรณีศึกษาศูนย์

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายขาว อันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหา

บัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

เสริมศิริ นิลคำ และชัยยงค์ นาสมทรง. (2554). กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อการบริหารจัดการแหล่งน้ำแบบมี

ส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่ห่าง อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย. วารสารวิทยาการจัดการ

มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย, 6(1), 51-88.

สมคิด แก้วทิพย์, ปรารถนา ยศสุข, สถาพร แสงสุโพธิ์ พงศกร กาวิชัย, สิทธิชัย ธรรมขัน และกริช สุริยะชัยพันธ์.

(2564). กระบวนการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อ

ระบบการเกษตรกรรมยั่งยืนและการอุปโภคในพื้นที่ชุมชนป่าต้นน้ำบนพื้นที่สูง อำเภอกัลป์ยาณิวัฒนา

จังหวัดเชียงใหม่. วารสารศิลปศาสตร์, 9(1), 17-35.

อารยา สวาทพงษ์, วิชา นิยม และกิติชัย รัตนะ. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อบทบาทของประชาชนริมฝั่งแม่น้ำ

ท่าจีนตอนล่างในการอนุรักษ์แหล่งน้ำตำบลท่าจีน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารวนศาสตร์,

(1), 43-51.