ตัวละครในนวนิยายอิงประวัติศาสตร์เรื่องบูรพา : กลวิธีการนำเสนอ

Main Article Content

ณิชากร จิระกิจ
รัญชนีย ศรีสมาน

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการนำเสนอตัวละครในนวนิยายอิงประวัติศาสตร์เรื่องบูรพาของว.วินิจฉัยกุล โดยแบ่งตัวละครออกเป็น 2 ประเภท คือ ตัวละครที่มีอยู่จริงในประวัติศาสตร์ และตัวละครที่ผู้เขียนสร้างขึ้น ผลการศึกษาพบว่า มีการใช้กลวิธีการนำเสนอตัวละคร 3 วิธี คือ การนำเสนอตัวละครทางตรง การนำเสนอตัวละครทางอ้อม และการตั้งชื่อ ตัวละครที่มีอยู่จริงในประวัติศาสตร์และตัวละครที่ผู้เขียนสร้างขึ้น พบการนำเสนอตัวละครทางตรงเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งปรากฏผ่านการบรรยายโดยตัวละครอื่น และการบรรยายโดยผู้เขียนเป็นหลัก นอกจากนี้ตัวละครที่ผู้เขียนสร้างขึ้นจะพบการนำเสนอตัวละครทางอ้อมมากกว่า เนื่องจากตัวละครที่ผู้เขียนสร้างขึ้นจะมีหลากหลายมิติ จากการศึกษากลวิธีการนำเสนอตัวละครทั้งสองประเภท พบว่ามีการใช้กลวิธีการนำเสนอที่เป็นการนำเสนอลักษณะของตัวละครทางตรง ซึ่งเป็นการบรรยายลักษณะของตัวละครโดยผู้เขียนมากที่สุดดังที่ได้แจ้งไปข้างต้น เนื่องจากเป็น   นวนิยายอิงประวัติศาสตร์ที่ต้องใช้ความสมจริงในการนำเสนอ เพื่อให้ผู้อ่านรู้สึกถึงความสมจริงและเข้าถึงเนื้อเรื่องได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังลดการเกิดข้อพิพาทเกี่ยวกับลักษณะและบทบาทของตัวละคร


 


คำสำคัญ: กลวิธีการนำเสนอตัวละคร  นวนิยายอิงประวัติศาสตร์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธัญญา สังขพันธานนท์. (2539). วรรณกรรมวิจารณ์. กรุงเทพฯ: นาคร.

บ้านอรุณ (นามแฝง). (2563). รีวิว บูรพา ว.วินิจฉัยกุลเขียน. สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2564, จาก

www.facebook.com/arunnovelclub/

พัชราวลี จินนิกร. (2559). การศึกษาภาพลักษณ์ของตัวละครหญิงในวรรณกรรมเรื่องผู้ชนะสิบทิศ.

(วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ:

ราชบัณฑิต.

รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. (2521). อิทธิพลวรรณกรรมต่างประเทศในวรรณกรรมไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 13).

กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ว.วินิจฉัยกุล. (นามแฝง). (2562). บูรพา. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: อรุณ.

วนิดา บำรุงไทย. (2543). ศาสตร์และศิลป์แห่งนวนิยาย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาร์น.

อธิพร ประเทืองเศรษฐ์. (2555). การวิเคราะห์ตัวละครเอกในนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ของคึกเดช

กันตามระ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

Erch2014. (2561). โรเบิร์ต: ความหมายของชื่อและโชคชะตา. สืบค้นเมื่อ 31 พฤษภาคม 2564, จาก

https://th.erch2014.com/duhovnoe-razvitie/27344-robert-znachenie-imeni-isudba.html

Longdo dict. (2563). บริการค้นหาและร่วมสร้างเนื้อหาพจนานุกรมหลายภาษา-ไทย. สืบค้นเมื่อ 31

พฤษภาคม 2564, จาก https://dict.longdo.com/search/Hunter