ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสังกัดเทศบาล ในเขตพื้นที่อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ

Main Article Content

Darunee Sriubol
อโณทัย หาระสาร
อัยรดา พรเจริญ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร
สังกัดเทศบาลในเขตพื้นที่อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ (2) เปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อ
ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสังกัดเทศบาล ในเขตพื้นที่อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัด
อำนาจเจริญ จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ประเภทตำแหน่ง
และระดับเงินเดือน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 218 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง
แบบแบ่งชั้นภูมิอย่างเป็นสัดส่วน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการ
วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ การทดสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟ
ผลการวิจัย พบว่า (1) ปัจจัยด้านการสรรหาและการคัดเลือก การเป็นบุคคลรอบรู้ การคิดอย่างมีแบบ
แผนเป็นระบบ การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน และการเรียนรู้ร่วมกันในทีม ส่งผลต่อ
ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสังกัดเทศบาลในเขตพื้นที่อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัด
อำนาจเจริญ (2) เพศต่างกัน มีความคิดเห็นต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสังกัด
เทศบาลในเขตพื้นที่อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ ไม่แตกต่างกัน ส่วนอายุ ระดับการศึกษา
ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ประเภทตำแหน่ง และระดับเงินเดือนต่างกัน มีความคิดเห็นต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อ
ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสังกัดเทศบาลในเขตพื้นที่อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัด
อำนาจเจริญ แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2563) สรุปผลการประเมินประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

(สถ.–อปท.) ประจำปี พ.ศ. 2563 Local Performance Assessment (LPA). สืบค้นเมื่อ 20

มีนาคม 2564, จาก http://www.dla.go.th/upload/ebook/column/2021/1/2305_6181.pdf

กรสรรค์ เอนกศักยพงศ์. (2556). กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน

ของอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย

เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).

กิตติคุณ ฐิตโสมกุล. (2560). องค์การแห่งการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรหน่วย

บัญชาการทหารพัฒนากองบัญชาการกองทัพไทย. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต,

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์).

เกวลิน รัตนาวลีอาภรณ์. (2555). การศึกษาระดับองค์กรแห่งการเรียนรู้ของบุคลากรกรมชลประทาน.

(วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

ชนิศา หาญสมบุญ และกรเอก กาญจนาโภคิน. (2563). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ

การทำงานของบุคลากรการทางพิเศษแห่งประเทศไทย. วารสารศิลปการจัดการ, 4(1), 56.

ทองใบ สุดชารี. (2549). การวิจัยธุรกิจ: ปฏิบัติการวิจัยนอกเหนือจากตํารา.

อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

ทอฝัน เพ็ชรดี และสุพาดา สิริกุตตา. (2556). องค์กรแห่งการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อการเกิดประสิทธิภาพการ

ทำงานของพนักงานบริษัทตัวแทนจำหน่ายรถยนต์โตโยต้าแห่งหนึ่งในเขตบางกะปิกรุงเทพมหานคร.

วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ, 4(1), 100-106.

นฤมล จิตรเอื้อ, เฉลิมชัย กิตติศักดิ์นาวิน และนลินณัฐ ดีสวัสดิ์. (2560). บทบาทภาวะผู้นำในการพัฒนา

องค์การสู่องค์การแห่งการเรียนรู้. Veridian E-Journal, 10(2), 1748.

ปฏิมา ถนิมกาญจน์, พรทิพย์ รอดพ้น และสุกานดา กลิ่นขจร. (2563). องค์การแห่งการเรียนรู้ บรรยากาศ

องค์การส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การภาคอุตสาหกรรมธุรกิจบริการท่องเที่ยว

ของแหล่งอารยธรรมอีสานใต้. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช

มงคลอีสาน).

พรภวิษย์นันทชัชวาลกุล. (2560). ปัจจัยการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของกลุ่มโรงเรียน

สาธิตในสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า, 4(2), 68-69.

พรรณี เรืองบุญ. (2561). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอนของครูสังกัดสำนักงาน

เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย

ราชภัฏร้อยเอ็ด).

พิกุล จำปาสา. (2559). กระบวนการบริหารงานบุคคลที่มีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของ

บุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี. (วิทยานิพนธ์

บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี).

แพนศรี พินปรุ และณัชชา ลิมปศิริสุวรรณ. (2563). องค์กรแห่งการเรียนรู้และความคิดสร้างสรรค์ที่ส่งผลต่อ

ผลสัมฤทธิ์ทางนวัตกรรมของธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจ

มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. 2560. (2560, 6 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134

ตอนที่ 40. น.74.

ลักษณชัย ธนะวังน้อย. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการทรัพยากรมนุษย์กับประสิทธิภาพการ

ปฏิบัติงานของพนักงานเครือเบทาโกร. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต,

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช).

วนิดา วาดีเจริญ, อธิวัฒน์ กาญจนวณิชย์กุล และสมบัติ ทีฆทรัพย์. (2556). การจัดการทรัพยากรมนุษย์จาก

แนวคิดทฤษฎีสู่ภาคปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

วันวิสา จงรักษ์. (2558). กระบวนการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน

ของอุตสาหกรรมถ่านหินในประเทศอินโดนิเซีย. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต,

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).

วีรยา เจริญสุข. (2559). ความคิดเห็นของบุคลากรครูต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนชลราษฎร

อำรุง จังหวัดชลบุรี. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

สุภาวดี ขุนทองจันทร์. (2559). การบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างบูรณาการ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

อัญชิตา กมลเกียรติ์กิตติ. (2562). ปัจจัยการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการ

ปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท เค-ไมล์ แอร์ จำกัด. Veridian E-Journal Silpakorn University,

(2), 1375-1376.

Nunnally, J.C. (1978). Psychometric theory. (2nd ed). New York: McGraw-Hill.

Peterson, E. and G. E. Plowman, (1989). Business organization and management. Illinois: Irwin.

Senge, P. et al. (1994). The Fifth Discipline Field Book Strategies and Tools for Building a

Learning Organization. New York: Currency Doubleday.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introduction Analysis. (3rd ed). New York: Harper & Row.