การวิจัยเพื่อนวัตกรรมการสร้างสรรค์การแสดงนาฏศิลป์พื้นบ้านอีสาน ชุด ฟ้อนหัตถกรรมนำนวัตวิถี เพื่อประชาสัมพันธ์และพัฒนาชุมชนท้องถิ่นกลุ่มหัตถกรรมบ้านแพง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเพื่อนวัตกรรมการสร้างสรรค์การแสดงนาฏศิลป์พื้นบ้านอีสาน ชุด ฟ้อนหัตถกรรมนำนวัตวิถี เพื่อประชาสัมพันธ์และพัฒนาชุมชนท้องถิ่นกลุ่มหัตถกรรมบ้านแพง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ความรู้เรื่องหัตถกรรมการทอเสื่อกกของกลุ่มหัตถกรรมบ้านแพง ตำบลแพง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม 2) สร้างนวัตกรรมการแสดงนาฏศิลป์พื้นบ้านอีสานชุด ฟ้อนหัตถกรรมนำนวัตวิถี 3) ประชาสัมพันธ์นวัตกรรมการสร้างสรรค์การแสดงนาฏศิลป์พื้นบ้านอีสาน ชุด ฟ้อนหัตถกรรมนำนวัตวิถี ผ่านเวทีการแสดงและสื่อสังคมออนไลน์ ดำเนินการวิจัยโดยเก็บข้อมูลจากเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และลงพื้นที่ภาคสนาม ณ กลุ่มหัตถกรรมบ้านแพง ตำบลแพง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม จากนั้นจึงนำองค์ความรู้ที่ได้มาพัฒนาเป็นนวัตกรรมการแสดงนาฏศิลป์พื้นบ้านอีสานสร้างสรรค์ ชุด ฟ้อนหัตถกรรมนำนวัตวิถี
ผลการศึกษาพบว่า การทอเสื่อกกเริ่มมีมาประมาณ 100 ปีมาแล้ว เริ่มแรกทอเสื่อจากต้นปรือ (ผือ) เพื่อใช้สอยในครัวเรือน แลกเปลี่ยนสิ่งของเครื่องใช้ภายในหมู่บ้านและหมู่บ้านใกล้เคียง อีกทั้งยังมีการนำไปถวายวัดเพื่อทำบุญอีกด้วย ปัจจุบันชาวบ้านแพงได้มีการรวมกลุ่มกันเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเสื่อกก โดยนำเสื่อกกมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ตามที่ลูกค้าต้องการเพื่อเพิ่มมูลค่าและขยายตลาดในช่องทางออนไลน์ มีทั้งที่เป็นของตกแต่งบ้าน เครื่องประดับ และเครื่องมือใช้สอย เช่น แจกัน กระเป๋า หีบ รองเท้า หมอน เสื่อบุนวม เป็นต้น นับเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ทรงคุณค่า ที่ได้รับการสืบทอดจากบรรพบุรุษสมัยปู่ ย่า ตา ยาย เป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าและสร้างรายได้ให้กับชาวบ้านแพงเป็นอย่างมาก จนกลายเป็นหมู่บ้าน OTOP นวัตวิถี จากองค์ความรู้ที่ได้นี้ ผู้วิจัยได้เกิดแรงบันดาลใจและนำมาพัฒนาสู่นวัตกรรมการแสดงนาฏศิลป์พื้นบ้านอีสานสร้างสรรค์ ชุด ฟ้อนหัตถกรรมนำนวัตวิถี ออกแบบการแสดงโดยบูรณาการรูปแบบจากแบบพื้นบ้านดั้งเดิมนำมาคิดสร้างสรรค์และประยุกต์ขึ้นใหม่จากจินตนาการตามสมัยนิยม มีการเปลี่ยนแปลงด้านการรูปแบบการนำเสนอ องค์ประกอบด้านเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย ให้มีความแปลกใหม่เพื่อให้ผลงานมีความโดดเด่น นำเสนอเรื่องราวที่เป็นลักษณะความเป็นท้องถิ่น วิถีชีวิต อาชีพท้องถิ่น โดยแบ่งเป็น 2 ช่วง ออกแบบกระบวนท่ารำตามหลักทฤษฎีการสร้างสรรค์นาฏศิลป์และการเคลื่อนไหวร่างกายตามขั้นตอน มีท่าต้น ท่าต่อ ท่าตาม ออกแบบการแปรแถวและการใช้พื้นที่โดยอาศัยทฤษฎีการเคลื่อนไหวร่างกาย ออกแบบการใช้อุปกรณ์ประกอบการแสดงเพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ ออกแบบดนตรีตามหลักสุนทรียศาสตร์ ออกแบบเครื่องแต่งกายให้สอดคล้องกับรูปแบบการแสดงนาฏศิลป์พื้นบ้านอีสานสร้างสรรค์ มีการบูรณาการจากแบบพื้นบ้านดั้งเดิม นำมาคิดสร้างสรรค์และประยุกต์ขึ้นใหม่จากจินตนาการ ออกแบบการแต่งหน้าทำผมตามแบบระบำ รำ ฟ้อน เน้นให้มีความสวยหวานตามแบบหญิงสาว และออกแบบแสงในการแสดงเพื่อสร้างบรรยากาศในการแสดงโดยเน้นใช้ไฟส่องสว่าง เพื่อมองเห็นท่ารำได้อย่างชัดเจน และใช้สีเพื่อสร้างบรรยากาศตามทำนองเพลงช้า - เร็ว และทำให้สีของเครื่องแต่งกายไม่ผิดเพี้ยนไปจากเดิม นวัตกรรมการแสดงนาฏศิลป์พื้นบ้านอีสาน ชุด ฟ้อนหัตถกรรมนำนวัตวิถี ผู้สร้างสรรค์ได้รับการประเมินจากที่ปรึกษา ดร.ฉวีวรรณ พันธุ ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2536 สาขาศิลปะการแสดง (หมอลำ) ผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเด่น (A+) จากการประชาสัมพันธ์นวัตกรรมการสร้างสรรค์นาฏศิลป์พื้นบ้านอีสาน ชุด ฟ้อนหัตถกรรมนำนวัตวิถี โดยการเผยแพร่บนเวทีการนำเสนอผลงานสร้างสรรค์ทางด้านศิลปกรรมระดับชาติ ครั้งที่ 3 วันที่ 29 พฤศจิกายน 2564 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี (รูปแบบออนไลน์) ได้รับการประเมินจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีมาก เผยแพร่ลงในสื่อสังคมออนไลน์ ผ่านช่องทาง Facebook และ Youtube เผยแพร่ในแบบสาธารณะ มีการรับชมจำนวนผ่านช่องทาง Youtube 175 ครั้ง กดถูกใจ 11 ครั้ง เผยแพร่ผ่านช่องทาง Facebook ของผู้สร้างสรรค์ ผลปรากฏว่า มีการกดถูกใจ (Like) จำนวน 226 คน การแสดงความคิดเห็นจำนวน 93 รายการ และการแชร์ 5 ครั้ง นอกจากนี้ยังได้เผยแพร่ลงในหน้า Facebook สาขานาฏศิลป์และการละคร มีผู้เข้าถึงจำนวน 243 คน การแชร์ 5 ครั้ง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กัลยาณี เจ็กทํานา. (2563). การสร้างสรรค์นาฏศิลป์พื้นบ้านประยุกต์ ชุด ระบ ากล้วยตาก ผ่านการวิจัยเชิง
สร้างสรรค์. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยณเรศวร).
ชัยนาท ผาสอน และวินิต ชินสุวรรณ. (2558). การพัฒนาอุตสาหกรรมเสื่อกกบ้านแพง ต าบลแพง อ าเภอ
โกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. ประชุมวิชาการทางธุรกิจและนวัตกรรมทางการจัดการระดับชาติ
และนานาชาติประจ าปี 2558. น. 484-490.
ธณัฐ วรวัฒน์. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งของชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ในจังหวัด
นครราชสีมา, (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม).
บุญพรรค อวบอ๎วน. (2555). การอนุรักษ์และพัฒนาการทอเสื่อกก: กรณีศึกษาบ๎านแพง อ าเภอโกสุมพิสัย
จังหวัดมหาสารคาม, (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขธรรมาธิราช).
ประวิทย์ ฤทธิบูลย์. (2563). การศึกษาสินค๎าทางวัฒนธรรม สูํการออกแบบและสร๎างสรรค์การแสดง.
วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 24(1), 77-96.
พีรพงศ์ เสนไสย. (2546). นาฏยประดิษฐ์. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เรขา อินทรก าแหง. (2555). การวิจัยเศรษฐกิจสร๎างสรรค์ สูํการศึกษาและพัฒนานวัตกรรมการแสดง
นาฏศิลป์พื้นบ๎านชุด จับปู กรณีศึกษา : บ๎านโนนวัด ต าบลพลสงคราม อ าเภอโนนสูง จังหวัด
นครราชสีมา. วารสารศิลปกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 4(1), 98-121.
สำนักงานจังหวัดมหาสารคาม. (2563). แผนพัฒนาจังหวัดมหาสารคาม ฉบับทบทวน พ.ศ. 2561–2565.
สืบค๎นเมื่อ 15 มีนาคม 2565, จาก