การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์เพื่อกระตุ้นความสนใจของคนรุ่นใหม่ที่มีต่อเทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

วิราณี แว่นทอง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ระดับดุษฎีบัณฑิต มีวัตถุประสงค์เพื่อหารูปแบบการแสดง การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์เพื่อกระตุ้นความสนใจของคนรุ่นใหม่ที่มีต่อเทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี                                                                                                          โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย การวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารเชิงวิชาการ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สังเกตและการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย โดยนำข้อมูลมาวิเคราะห์ เพื่อหารูปแบบในการสร้างสรรค์


   ผลการวิจัยพบว่า การสร้างสรรค์งานเป็นการนำปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในงานแห่เทียนเข้าพรรษามาสร้างสรรค์เพื่อกระตุ้นความสนใจของคนรุ่นใหม่ให้เกิดความตระหนักและภาคภูมิใจในงานประเพณี แสดงสาระสำคัญถึงเรื่องความศรัทธาในพุทธศาสนา สังคมเกิดความผูกพัน สามัคคี การสืบทอดงานประติมากรรมรูปเทียน และบุญประเพณี สะท้อนให้เห็นถึงความร่วมมือร่วมใจของกลุ่มคนรุ่นใหม่ ที่นำเสนอขบวนแห่เทียนในรูปแบบการแสดงละครภาพนิ่งตาโบลวิวังต์ ดังองค์ประกอบการแสดงทั้ง 8 ประการ คือ 1) บทการแสดงที่เล่าถึงขบวนแห่เทียนในอดีต ปัจจุบัน อนาคต 2) ลีลา ใช้ลีลานาฏยศิลป์หลังสมัยใหม่ ท่าทางในชีวิตประจำวัน (3) นักแสดง เป็นกลุ่มอาสาสมัครของกลุ่มคนรุ่นใหม่ 4) การออกแบบเครื่องแต่งกาย ใช้รูปแบบมินิมอลลิสม์ 5)  เสียง ใช้เพลงพื้นบ้านอีสานวงโปงลาง บรรเลงร่วมกับดนตรีสากลสร้างสรรค์ประกอบบทร้องทำนองหมอลำที่ประพันธ์ขึ้นใหม่ 6) พื้นที่การแสดง จัดแสดงในพื้นที่แบบเปิดที่กลุ่มคนรุ่นใหม่เข้าถึงได้โดยง่าย 7) แสง เป็นการใช้แสงธรรมชาติ เพื่อลดทอนรูปแบบการนำเสนอให้เรียบง่ายที่สุด 8) อุปกรณ์การแสดง ใช้แนวคิดมินิมอลลิสม์ ที่เน้นการใช้สัญลักษณ์ ความเรียบง่าย ประหยัด เข้าใจง่าย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการท่องเที่ยว. (2560). คู่มือการบริหารจัดการ แหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ Creative Tourism

Destination Management. กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

กวี วรกวิน. (2563). เส้นทางการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์มโนทัศน์ในแหล่งท่องเที่ยวทาง ธรรมชาติศิลา

ทรายอุทยานแห่งชาติผาแต้มและอุทยานแห่งชาติ สามพันโบก จังหวัดอุบลราชธานี. (วิทยานิพนธ์

ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

จนัธ เที่ยงสุรินทร์. (2565, 20 กุมภาพันธ์). แนวความคิดของการทำงานร่วมกันของกลุ่มคนรุ่นใหม่.

อาจารย์ประจำภาควิชานฤมิตศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สัมภาษณ์.

จนัธ เที่ยงสุรินทร์. (2565, 20 กุมภาพันธ์). แนวความคิดของการออกแบบงานโปรเจคชันแมปปิ้ง. อาจารย์

ประจำภาควิชานฤมิตศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สัมภาษณ์.

ธานี ดุจดา. (2565, 18 กุมภาพันธ์). การออกแบบเพลงและดนตรีประกอบการแสดง. อาจารย์พิเศษ

วิชาดนตรี โรงเรียนอัสสัมชันอุบลราชธานีอาจารย์พิเศษ หลักสูตรศึกษาศาสตร์ วิชาเอก

ดนตรีศึกษา คณะศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี สมาชิกวงคำนางรวย. สัมภาษณ์.

ธนิก เลิศชาญฤทธิ์. (2554). การจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์กร

มหาชน).

นราพงษ์จรัสศรี. (2565). แนวคิดการออกแบบลีลาการเคลื่อนไหว. ศิลปกรรมศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต

คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สัมภาษณ์.

พิชิต ทองชิน. (2565, 18 กุมภาพันธ์). การออกแบบบทร้องประกอบการแสดง. อาจารย์สาขาวิชานาฏศิลป์

และการละคร คณะมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. สัมภาษณ์.

สุนันทา ผาสมวงค์. (2565, 19 กุมภาพันธ์). แนวความคิดการสืบทอดงานประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา.

ศิลปินร่วมสมัยสื่อผสม สาขาวิชาทัศนศิลป์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย

ราชภัฏอุบลราชธานี. สัมภาษณ์.