ศักยภาพของการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์แบบบูรณาการอย่างยั่งยืนของ จังหวัดอุบลราชธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชุมชนและตรวจสอบทรัพยากรการท่องเที่ยว
เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวแบบบูรณาการอย่างยั่งยืน และเพื่อหาศักยภาพของการพัฒนาการท่องเที่ยวบูรณา
การอย่างยั่งยืน ใช้เครื่องมือ คือ รายการตรวจสอบเพื่อศึกษาชุมชน ข้อมูลทางกายภาพ ภูมิศาสตร์ สังคม
รายการตรวจสอบทรัพยากรการท่องเที่ยว การประเมินคุณภาพ ความโดดเด่นและอำนาจดึงดูด
แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และการประชุมกลุ่มย่อย ประชุมกลุ่มย่อย 4 กลุ่ม จำนวน 40 คน พบว่า ด้าน
ธรรมชาติที่น่าสนใจ ได้แก่ แม่น้ำโขง แก่งหินสามพันโบก และภาพเขียนสีผาแต้ม ด้านวัฒนธรรมที่น่าสนใจ
ได้แก่ วัดสิรินธรวรารามภูพร้าว วัดหนองป่าพง พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง อนุสรณ์สถานบ้านเกิดหลวงปู่มั่น
และกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ด้านมหกรรมที่น่าสนใจ ได้แก่ ประเพณีแห่เทียนพรรษา ประเพณีเชิดชูความดีสดุดี
วีรกรรมเจ้าคำผง และประเพณีทำศพแบบนกหัสดีลิงค์ และด้านบริการที่น่าสนใจ ได้แก่ ที่พัก โรงแรม รี
สอร์ต ร้านอาหาร ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว เว็บไซต์ และมัคคุเทศก์ ผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน
และภายนอก จุดแข็งตั้งอยู่กลางอุษาคเนย์เข้าถึงสะดวก จุดอ่อนขาดแผนการอนุรักษ์ ดูแลรักษาทรัพยากร
การท่องเที่ยว โอกาสมีระบบโลจิสติกส์เชื่อมโยง ล้อ ราง เรือ อากาศ และอุปสรรคมีคู่แข่งทางการท่องเที่ยว
โดยรอบ ศักยภาพด้านทรัพยากรท่องเที่ยวของพื้นที่ มีปัจจัยบ่งชี้ที่มีเอกลักษณ์และดึงดูดใจ ศักยภาพด้าน
การจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน มีการแบ่งเขตพื้นที่กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมและเหมาะสม ศักยภาพด้าน
การมีส่วนร่วมของชุมชน นักท่องเที่ยวและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง มีปัจจัยบ่งชี้เกี่ยวกับชุมชนและผู้เกี่ยวข้องได้
ประโยชน์ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม ศักยภาพด้านกิจกรรม การเรียนรู้ การพัฒนา
จิตใจ และการปลูกจิตสำนึก มีปัจจัยบ่งชี้เกี่ยวกับกิจกรรมหลากหลายที่เหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2559). สถิตินักท่องเที่ยว. (ออนไลน์). เข้าถึงเมื่อ 11 มีนาคม 2561.
จาก : http://www.tourism.go.th/2010/th/statistic/tourism.php
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562). สถิตินักท่องเที่ยว. (ออนไลน์). เข้าถึงเมื่อ 12 เมษายน 2562. จาก : https://www.mots.go.th/more_news.php?cid=411
รัฐทิตยา หิรัณยหาด และกนกกานต์ แก้วนุช. (2562). ศักยภาพและปัญหาการท่องเที่ยวของจังหวัดกาญจนบุรีในฐสนะเมืองชายแดน. วารสารชุมชนวิจัย, 13(2), 101-112
บำเพ็ญ ณ อุบล. (2545). พิมพลักษณ์, อุบลราชธานี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
พยอม ธรรมบุตร. (2549).เอกสารประกอบการสอนหลักการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. (2558). เอกสารประกอบการสอนวิชาการสัมมนา 2. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยพะเยา.
ฟองจันทร์ หลวงจันทร์ดวง,สุรชัย กังวล และวราภรณ์ นันทะเสน. (2561). ศักยภาพชุมชนต้นแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม, 8(2): 52-83.
วิทยา ชินบุตร. (2561). การพัฒนาทรัพยากรทองเที่ยวเชิงสรางสรรคของจังหวัดปทุมธานีเพื่อรองรับนักทองเที่ยวจากประชาคมอาเซียน. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 8(1), 75-89
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สุภางค์จันทวานิช. (2553).วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ.(พิมพ์คร้ังที่18).กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุประภา สมนักพงษ์. (2560). แนวโน้มและตลาดการท่องเที่ยว 4.0 ประเทศไทย. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 10(3), 2055-2068.
เอื้อมพร หลินเจริญ (2555). เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ. วารสารการวัดผลการศึกษา, 17(1), 145-158
McMillan, J. H., & Schumacher, S. S. (1997). Research in education: A conceptual introduction. New York: Longman.