การพัฒนาศักยภาพชุมชนในการจัดการการบริการเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวรูปแบบชีวิต วิถีใหม่ กรณีศึกษาถนนคนเดินชุมชนเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยแบบผสมผสานเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา
สภาพ ปัญหา ศักยภาพชุมชน และหาข้อเสนอแนะการพัฒนาศักยภาพชุมชนในการจัดการการบริการ
ในการรองรับนักท่องเที่ยวรูปแบบชีวิตวิถีใหม่ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม และ
แบบสัมภาษณ์ โดยนำข้อมูลเชิงปริมาณมาวิเคราะห์ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ
ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่า t-test และค่า F-test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และนำข้อมูลเชิงคุณภาพ
จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ มาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า สภาพและปัญหาของถนนคนเดินเขมราฐในปัจจุบันไม่ค่อยมีนักท่องเที่ยวจาก
ต่างจังหวัดเดินทางมาท่องเที่ยว เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
ที่ยังคง พบจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ในประเทศอย่างต่อเนื่อง ผู้ประกอบการยังขาดความรู้ความเข้าใจ
เกี่ยวกับการเข้าร่วมมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัยเพื่อนักท่องเที่ยว (SHA) สภาพด้านกายภาพ
พบว่า ถนนคนเดินยังขาดการจัดพื้นที่สำหรับนั่งพัก และมีปริมาณห้องน้ำสาธารณะไม่เพียงพอ
ด้านศักยภาพชุมชนในการจัดการการบริการในการรองรับนักท่องเที่ยววิถีใหม่ พบว่าถนนคนเดินเขมราฐ
มีความพร้อมในด้านสิ่งดูดใจของแหล่งท่องเที่ยว กิจกรรมการท่องเที่ยว และมีความสะดวกการเข้าถึงแหล่ง
ท่องเที่ยว บุคลากรมีความเอาใจใส่และมีกิริยาท่าทางเต็มใจในการให้บริการ ด้านความพร้อมในการรองรับให้เป็นตามมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัยเพื่อนักท่องเที่ยว (SHA) พบว่า กลุ่มตัวอย่างให้
ความสำคัญกับการมีจุดคัดกรองบริเวณทางเข้าออก การสวมหน้ากากอนามัยและการสวมถุงมือยางระหว่าง
การให้บริการของผู้ขายสินค้า อาหารและเครื่องดื่ม สำหรับการทดสอบสมมติฐานพบว่าการเปรียบเทียบ
ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นโดยภาพรวมต่อการพัฒนาศักยภาพชุมชนในการจัดการการบริการเพื่อรองรับ
นักท่องเที่ยวรูปแบบชีวิตวิถีใหม่ กรณีศึกษาถนนคนเดินชุมชนเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี จำแนกตามกลุ่ม
อายุ จำแนกตามอาชีพ มีระดับความคิดเห็นเฉลี่ย แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมคือ ควรส่งเสริมความเข้าใจเพื่อพัฒนาความร่วมมือของผู้ประกอบการด้านมาตรฐาน
ความปลอดภัยด้านสุขอนามัยเพื่อนักท่องเที่ยว(SHA) การอบรมด้านภาษาต่างประเทศให้บุคลากร การ
พัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวก และการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชื่อมโยง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562). สถานการณ์การท่องเที่ยวในประเทศ รายจังหวัด ปี 2562.
สืบค้นจาก https://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=525
กรุงไทย คอมพาส. (2563). เจาะพฤติกรรมท่องเที่ยวใน New Normal: เมื่อโควิดทำชีวิตเปลี่ยน.
สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2563, จาก https://rb.gy/evwy5q
กุลวดี ละม้ายจีนและคณะ. (2559). ศักยภาพชุมชนท้องถิ่นในการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนในเขตพื้นที่พิเศษ
เมืองโบราณอู่ทองจังหวัดสุพรรณบุรี. Rajabhat J. Sci. Humanit. Soc. Sci. 17(1): 190-199.
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2563). ท่องเที่ยวในวิถี New Normal. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2564 จาก
https://covid19.mcot.net/knowledge_covid/ -new-normal/
ขวัญฤทัย เดชทองคำ. (2563). ความสําคัญของคุณภาพการบริการสู่ความสําเร็จของธุรกิจท่องเที่ยว
ภายใต้วิกฤติ COVID-19. สืบค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2564 จาก https://he02.tci-
thaijo.org/index.php/spsc_journal/article/view/248377/168804
ณัฏฐพัชร มณีโรจน์. (2560). การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน. สืบค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2564 จาก
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jitt/article/view/113060
ธีรวันท์ โอภาสบุตร และคณะ. (2563). การจัดการประสบการณ์ของลูกค้าใน New Normal. สืบค้นเมื่อ
กุมภาพันธ์ 2564 จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/commartsreviewsiamu/article/view/248330
นิสากร ยินดีจันทร์. (2564). การพัฒนาศักยภาพชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา เครือข่าย
ท่องเที่ยว โดยชุมชนจันทบุรี. นครพนม: วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม.
พระวีระศักดิ์ ธีรังกูโร. (2560). การพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ของชุมชนตาม
แนวชายแดน จังหวัดเชียงราย. กรุงเทพฯ: คณะสังคมศาสตร์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
ภูริ ชุณห์ขจร. (2563). การสร้างแรงจูงใจในการท่องเที่ยวเชิงอาหารไทยท้องถิ่นเสริมภูมิต้านทาน ใน
วิถีชุมชนสุขภาพ หลังการแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19. สาขาวิชาการประกอบอาหารเพื่อสุขภาพ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
รพีพรรณ พงษ์อินทร์วงศ์. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของหมู่บ้านท่องเที่ยวนวัตวิถี
กรณีศึกษาบ้านใหม่ ตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. สืบค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2564 จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/bruj/article/view/190828
ศิริรัตน์ โรจนปณิธิกุล และคณะ. (2564). พฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยระหว่างสถานการณ์
การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19). คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
องค์การบริหารและพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน). (2559). เกณฑ์
การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนของประเทศไทย. กรุงเทพฯ:
Dickman, C.R. (1996). Overview of the Impacts of Feral Cats on Australian Native
Fauna. Australian Nature Conservation Agency, Canberra.
Parasuraman, A., Zeithaml, V. A. & Berry, L. L. (1988). SERVQUAL: A Multiple-Item Scale
for Measuring Consumer Perceptions of Service Quality. Journal of Retailing, 64(1), 12–40.
Parasuraman, A., Zeithaml, V. A. & Malhotra, A. (2005). E-S-QUAL: A Multiple-Item Scale
for Assessing Electronic Service Quality. Journal of Service Research, 7(3), 213–234.