แนวทางการพัฒนาการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ของเทศบาลตำบลพระเหลา อำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ

Main Article Content

Dawphrasuk Konkam
อรทัย เลียงจินดาถาวร
สิริภาพรรณ ลี้ภัยเจริญ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง และเพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ของเทศบาลตำบลพระเหลา อำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน การวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากกกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 80 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามและมีการประชุมสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา และบรรยายแบบพรรณนา


ผลการศึกษาพบว่า 1. การดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง มีการดำเนินงานโดยรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งด้านที่มีการดำเนินงานมากที่สุด คือ ด้านการประเมินผลการดูแลและปรับแผนการดูแลรายบุคคล รองลงมา คือ ด้านการดำเนินงานก่อนให้บริการและวางแผนการดูแลรายบุคคลระยะยาวด้านสาธารณสุข (Care plan) และด้านที่มีการดำเนินงานน้อยที่สุด คือ การจัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์ 2. ความคิดเห็นของญาติที่ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงต่อการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง มีการดำเนินงานโดยรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งด้านที่มีการดำเนินงานมากที่สุด คือ ด้านการดำเนินงานก่อนให้บริการและวางแผนการดูแลรายบุคคลระยะยาวด้านสาธารณสุข (Care plan) รองลงมา คือ ด้านการประเมินผลการดูแลและปรับแผนการดูแลรายบุคคล และด้านที่มีการดำเนินงานน้อยที่สุด คือ ด้านการจัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์ 3. ความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงต่อการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง มีความพึ่งพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งด้านที่มีความพึงพอใจมากที่สุด คือ ด้านการดำเนินงานก่อนให้บริการและวางแผนการดูแลรายบุคคลระยะยาวด้านสาธารณสุข (Care plan) รองลงมา คือ ด้านการประเมินผลการดูแลและปรับแผนการดูแลรายบุคคล และด้านที่มีการดำเนินงานน้อยที่สุด คือ ด้านการจัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิจการผู้สูงอายุ, กรม. มาตรการขับเคลื่อนระเบียบวาระแห่งชาติ เรื่อง สังคมสูงอายุ (ฉบับปรับปรุง). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2562.

เกศกนก จงรัตน์. “ภาวะสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในเขตเทศบาลเมืองทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช,” วารสารวิชาการสาธารณสุข. 28, 16 (พฤศจิกายน-ธันวาคม 2562): 1013-1020.

ชวลิต สวัสดิ์ผล, ธวัชชัย เพ็งพินิจ, อัครเดช เสนานิกรณ์ และวารี ศรีสุรพล. “การดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ,” วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 5, ฉบับพิเศษ.

ทองใบ สุดชารี. การวิจัยธุรกิจ : ปฏิบัติการวิจัยนอกเหนือจากตำราโดยใช้เทคนิค SPSS for windows สำหรับการทำวิทยานิพนธ์ M.B.A.. พิมพ์ครั้งที่ 2. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 2551

บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น, 2554

ปวีณ์สุดา จันหุณี และฟ้าใส สามารถ. ประสิทธิผลการจัดการระบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ของเทศบาลนครนนทบุรี อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์; 26-28 มิถุนายน 2562; กรุงเทพมหานคร.

แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2561–2565 ) เทศบาลตำบลพระเหลา. (ออนไลน์).(อ้างเมื่อ 16กุมภาพันธ์ 2564). จาก: https://www.phalao.go.th/dnm_file/project/41442_ce

สมภร จั่นจำรัส. การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการในการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น จังหวัดระนอง วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา, 2556.

สถิติแห่งชาติ, สำนักงาน. ดัชนีพฤฒพลังผู้สูงอายุ (Active Ageing Index of Thai Elderly). กรุงเทพมหานคร: บริษัท เท็กซ์แอนด์เจอร์นัลพับลิเคชั่น จํากัด, 2560.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือสนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.กรุงเทพมหานคร: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, 2559.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือปฏิบัติงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติฯ พ.ศ. 2561).กรุงเทพมหานคร: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, 2559.