ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อโครงการสร้างเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเลและพื้นที่ ป่าชายเลนบ้านสว่างอารมณ์ ตำบลคลองด่าน อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ สาขาการบริหารทรัพยากรป่าไม้และสิ่งแวดล้อม คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคม ระดับความคิดเห็น และปัจจัยที่มีผลต่อความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อโครงการสร้างเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเลและพื้นที่ป่าชายเลนบ้านสว่างอารมณ์ ตำบลคลองด่าน อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ข้อมูลการศึกษารวบรวมโดยใช้แบบสอบถามไปสอบถามประชาชนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัยในท้องที่บ้านสว่างอารมณ์ หมู่ที่ 9 ตำบลคลองด่าน อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ รวมจำนวน 169 ครัวเรือน วิธีวิเคราะห์ทางสถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐานใช้การทดสอบแบบที (t-test) และการทดสอบแบบเอฟ (F-test) กำหนดนัยสำคัญทางสถิติไว้ที่ระดับ .05 (p-value = .05)
ผลการศึกษา พบว่า ประชาชนตัวอย่างที่ศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 45.50 ปี มีการศึกษาระดับประถมศึกษา มีอาชีพรับจ้างทั่วไปเป็นอาชีพหลัก มีภูมิลำเนาอยู่ดั้งเดิมในหมู่บ้าน มีรายได้ของครัวเรือนเฉลี่ย 131,390.53 บาทต่อปี มีระยะเวลาการตั้งถิ่นฐานเฉลี่ย 32.94 ปี เป็นสมาชิกกลุ่มทางสังคม เคยมีประสบการณ์การป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเล ได้รับจากการดำเนินโครงการ และมีความรู้เกี่ยวกับโครงการอยู่ในระดับมาก ประชาชนมีความคิดเห็นที่มีต่อโครงการสร้างเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเลและพื้นที่ป่าชายเลนบ้านสว่างอารมณ์ ตำบลคลองด่าน อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.93 ปัจจัยที่มีผลต่อความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อโครงการสร้างเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเลและพื้นที่ป่าชายเลนบ้านสว่างอารมณ์ ตำบลคลองด่าน อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ได้แก่ รายได้ของครัวเรือน การเป็นสมาชิกกลุ่มทางสังคม การได้รับข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์การป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเล และการได้รับประโยชน์จากโครงการ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. (2560). รายงานสถานการณ์ด้านทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งและการกัดเซาะชายฝั่งของประเทศไทย พ.ศ. 2559. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง.
. (2561). คู่มือความรู้การกัดเซาะชายฝั่ง. กรุงเทพฯ: กองบริหารจัดการพื้นที่ชายฝั่ง
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง.
ณรงค์ เกษสา. (2561). ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อโครงการบริหารจัดการทรัพยากรในพื้นที่ป่าอนุรักษ์อย่างยั่งยืนเพื่อลดภาวะโลกร้อน ตำบลจันทเขลม อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).
ประสิทธิ์ ท่าช้าง. (2560). ความคิดเห็นของราษฎรที่มีต่อโครงการประชารัฐเพื่อการฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้
ในพื้นที่บ้านขึ่งใต้ ตำบลขึ่ง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต,
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).
พรเพ็ญ เพชรสุขศิริ. (2531). การวัดทัศนคติ. กรุงเทพฯ: คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมัคร หลงกุล. (2556). ความคิดเห็นของราษฎรท้องถิ่นที่มีต่อการจัดการป่าชุมชนบ้านคำบอน ตำบลบัวเงิน อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. (การศึกษาค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์).
สุวรรณเนาว์ แสนสุข. (2559). ความคิดเห็นของผู้มาเยือนที่มีต่อการจัดการโครงการศูนย์ศึกษาพรรณไม้ป่าสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี. (การศึกษาค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต,
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).
องค์การบริหารส่วนตำบลคลองด่าน. (2565). ข้อมูลพื้นฐานทั่วไปขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองด่าน. สมุทรปราการ.
Yamane, T. (1973). Statistics; An Introductory Analysis. (3rd ed). Tokyo: Harper International Edition