การมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว ตำบลปากช่อง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วม และปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว ตำบลปากช่อง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ข้อมูลการวิจัยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลกับราษฎรกลุ่มตัวอย่างที่อาศัยอยู่ในท้องที่ตำบลปากช่อง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 2 ชุมชน รวมจำนวน 268 ครัวเรือน วิธีวิเคราะห์ทางสถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน ใช้สถิติ t-test และสถิติ F-test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 (p-value = .05)
ผลการศึกษาพบว่า ราษฎรกลุ่มตัวอย่างที่ทำการศึกษามีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติน้ำหนาวอยู่ในระดับค่อนข้างน้อย มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 2.46 โดยราษฎรกลุ่มตัวอย่างมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่ด้านศึกษาปัญหา ด้านวางแผนงาน ด้านปฏิบัติงาน และด้านตรวจสอบ ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานอยู่ในระดับค่อนข้างน้อยทุกด้าน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.48, 2.41, 2.48 และ 2.47 ตามลำดับ ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว ได้แก่ รายได้ของครัวเรือน ประสบการณ์การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ความคุ้นเคยกับเจ้าหน้าที่ป่าไม้ ความรู้เกี่ยวกับการมีส่วนร่วม และความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. (2565ก). เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ. สืบค้นเมื่อ
มีนาคม 2565, จาก http://www.dnp.go.th/parkreserve/Np/Html/Management/
Manage_Np.html
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. (2565ข). อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว. สืบค้นเมื่อ 2 มีนาคม
, จาก http://park.dnp.go.th/visitor/nationparkshow.php?PTA_CODE=1005.
ก้องกิตติพัศ พิชัยณรงค์. (2561). การมีส่วนร่วมของราษฎรในการฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่ป่าสงวน
แห่งชาติ ป่าแม่สลิด-โป่งแดง ตำบลวังประจบ อำเภอเมือง จังหวัดตาก. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร
มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).
ก้องเกียรติ เต็มตำนาน. (2560). การมีส่วนร่วมของราษฎรในโครงการฝายประชารัฐตำบลบึงงาม อำเภอ
หนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).
กัญพัชร์ โก่งเกสร. (2562). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลนในพื้นที่ตำบล
ท่าศาลา อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต,
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).
จักรพันธ์ ม่วงยิ้ม. (2561). การมีส่วนร่วมของราษฎรในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลนในพื้นที่บ้านบาง
ลา ตำบลป่าคลอก อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต,
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).
ไชยวุฒิ อารีย์ชน. (2565). การมีส่วนร่วมของราษฎรในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้พื้นที่แนวกันชน
ของอุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน จังหวัดราชบุรี. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร
มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).
ประภาเพ็ญ สุวรรณ. (2526). ทัศนคติ: การวัดการเปลี่ยนแปลงและพฤติกรรมอนามัย. กรุงเทพฯ:
โอเดียนสโตร์.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มูลนิธิสืบนาคเสถียร. (2565). สถานการณ์ป่าไม้ไทย พ.ศ. 2562–2563. สืบค้นเมื่อ2 มีนาคม 2565,
จากhttps://www.seub.or.th/document/
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2524). หลักการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: ทวีกิจการพิมพ์.
สันติสุข อินต๊ะวิน. (2558). การมีส่วนร่วมของราษฎรในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่หน่วยศึกษา
การพัฒนาการอนุรักษ์ต้นน้ำห้วยท่าแพ ตำบลบ้านแก่ง อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย.
(การศึกษาค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).
สุวิทย์แสงศรีจันทร์. (2558). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้พื้นที่หน่วยจัดการ
ต้นน้ำแม่เผอะ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่. (การศึกษาค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต,
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).
สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา. (2565). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช
สืบค้นเมื่อ2 มีนาคม 2565, จาก
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/040/1.PDF
อภิชาติ แสงประดับ. (2558). การมีส่วนร่วมของราษฎรในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่อุทยาน
แห่งชาติลำน้ำกระบุรี จังหวัดระนอง. (การศึกษาค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต,
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)