วิจัยเชิงสร้างสรรค์ศิลปะไทยในงานถักทอ
Main Article Content
บทคัดย่อ
วิจัยเชิงสร้างสรรค์ ศิลปะไทยในงานถักทอ ข้าพเจ้าต้องการนำเสนอผลงานสร้างสรรค์ที่เป็นศิลปะการผูกมัดถักทอ อันเกิดขึ้นจากความผูกพัน กับวิถีชีวิตการเป็นอยู่คนในชุมชนภาคอีสาน และการศึกษาเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับงานถักทอ จึงทำให้ข้าพเจ้าเกิดความสนใจในลวดลายของการถักทอ ข้าพเจ้าได้เห็นภูมิปัญญาการผูกมัดถักทอเพื่อหาเลี้ยงชีพ จึงทำให้เกิดแรงบันดาลใจมาสร้างสรรค์เป็นผลงานศิลปะที่กำลังจะหายไปจากสังคมไทย ข้าพเจ้าได้นำเอาวัสดุเชือกมาถักทอเป็นรูปทรงที่มีความหมายต่อสังคมไทย โดยผ่านกระบวนการคิดในการสร้างสรรค์ออกมาในรูปแบบการผูกมัด การดัดเชือก และรวมไปถึงสิ่งของเครื่องใช้ที่นำมาแทนตัวบุคคลเพื่อมาผูกมัดถักทอบันทึกเป็นความทรงจำ และสื่ออารมณ์ความรู้สึกที่ข้าพเจ้าต้องการแสดงออกถึงความผูกพันกับวิถีชีวิต เอกสารวิจัยเชิงสร้างสรรค์ชุดนี้จัดทำเพื่อประกอบผลงานสร้างสรรค์ในการแสดงผลงานศิลปะชุด “ศิลปะไทยในงานถักทอ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กำจร สุนพงษ์ศรี. (2556). สุนทรียศาสตร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทรงศักดิ์ ปรางค์วัฒนากุล. (2536). ผ้าเอเชีย มรดกร่วมทางวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง
นวลแข ปาลิวนิช. (2542). ความรู้เรื่องผ้าและเส้นใย. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
เพ็ญศรี ดุ๊ก. (2536). วัฒนธรรมพื้นบ้านศิลปกรรม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. (2532). เครื่องจักสานในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.