การพัฒนาภูมิปัญญาผลิตภัณฑ์จากไม้สู่นวัตกรรมชุมชน กรณีศึกษาอำเภอสิรินธร และอำเภอพิบูลมังสาหาร

Main Article Content

sakhon chaluaysi
รังสรรค์ นัยพรม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภูมิปัญญาผลิตภัณฑ์จากไม้พื้นบ้านอันจะนำไปสู่นวัตกรรม
ชุมชนเชิงสร้างสรรค์2) เพื่อพัฒนาต้นแบบนวัตกรรมชุมชนผลิตภัณฑ์จากไม้พื้นบ้าน ตามแนวชายแดน
จังหวัดอุบลราชธานี โดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยเลือกใช้
เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก 2) แบบสอบถาม 3) แบบบันทึกการสังเกตแบบมี
ส่วนร่วม 4) แบบบันทึกการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำชุมชน
และผู้นำกลุ่มอาชีพผลิตภัณฑ์จากไม้พื้นบ้าน จำนวน 20 คน
ผลการศึกษาพบว่า 1) ด้านความหลากหลายของภูมิปัญญาผลิตภัณฑ์จากไม้พื้นบ้านในชุมชน
ชายแดน จังหวัดอุบลราชธานีพบ 2 ประเภท ได้แก่ (1) รูปแบบผลิตภัณฑ์เครื่องไม้พื้นบ้านในชุมชนชายแดน
จังหวัดอุบลราชธานี ได้แก่ ชุดโต๊ะรับแขกขนาดใหญ่ ชุดโต๊ะรับประทานอาหารและชิงช้า (2) อุปกรณ์และ
เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิตเครื่องไม้พื้นบ้านในชุมชนชายแดนจังหวัดอุบลราชธานีพบว่า มี 9 ชิ้น ได้แก่
ค้อน ตะปู สว่านไฟฟ้า เลื่อยไฟฟ้า ลูกหมู กบไฟฟ้า กระดาษทราย สี และ แปรงทาสี2) ด้านการพัฒนา
ต้นแบบนวัตกรรมเครื่องไม้พื้นบ้าน พบว่า ชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาต้นแบบนวัตกรรมเครื่องไม้
พื้นบ้านในชุมชนชายแดน 5 ชนิด ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เครื่องไม้รูปปลาบึก ผลิตภัณฑ์เครื่องไม้รูปปลากระเบน
ผลิตภัณฑ์เครื่องไม้รูปเต่า ผลิตภัณฑ์เครื่องไม้รูปช้าง ผลิตภัณฑ์เครื่องไม้รูปคน ทั้งนี้ในการพัฒนาต้นแบบ
นวัตกรรมเครื่องไม้ในชุมชนชายแดน จังหวัดอุบลราชธานี มี 8 ขั้นตอน ได้แก่ การหาไม้น้ำ การออกแบบ
รูปทรง การผ่าหรือตัดไม้ การไสหน้าไม้ การประกอบชิ้นส่วน การขัดไม้ การทาสี และการบรรจุเพื่อรอส่ง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกษียร เตชะพีระ. (2539). บริโภคความเป็นไทย. ใน ชัยวัฒน์สถาอานันท์, บรรณาธิการ.

จินตนาการสู่ 2000: นวกรรมเชิงกระบวนทัศน์ด้านไทยศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุน

สนับสนุนการวิจัย (สกว.)

ณรงค์ คำเรือง. (2564, 22 ตุลาคม). ช่างไม้พื้นบ้าน ตำบลโนนก่อ อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี.

สัมภาษณ์.

ณราวุฒิ คำเรือง. (2565, 2 มีนาคม). ช่างไม้พื้นบ้าน ตำบลโนนก่อ อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี.

สัมภาษณ์.

ไตรภพ บุญธรรม. (2556). แนวทางการฟื้นฟูชุมชนหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผาโดยเศรษฐกิจสร้างสรรค์

: กรณีศึกษา ชุมชนหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผาเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. (วิทยานิพนธ์การวางผัง

เมืองและสภาพแวดล้อมมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

เทพรัตน์ พิมลเสถียร. (2560). นวัตกรรมและทรัพย์สินทางปัญญา. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น

ธีรนนท์ จันทร์ชนะ. (2565, 5 มีนาคม). ช่างไม้พื้นบ้าน ตำบลอ่างศิลา อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัด

อุบลราชธานี. สัมภาษณ์.

ปฐม หงษ์สุวรรณ. (2554). ตำนานพระพุทธรูปล้านนา : พลังปัญญาทางความเชื่อและความสัมพันธ์กับ

ท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

ไพฑูรย์ คำเรือง. (2564, 3 มิถุนายน). ช่างไม้พื้นบ้านบ้านบากชุม ตำบลโนนก่อ อำเภอสิรินธร จังหวัด

อุบลราชธานี. สัมภาษณ์.

สมบัติ นามบุรี. (2562). นวัตกรรมและการบริหารจัดการ, วารสารวิจัยวิชาการ, 2(2), 121 - 133.

สุชาติ อุดมโสภกิจ. (2556). เทคโนโลยีสารสนเทศยุคมาเร็วเคมเร็ว. Innmag, 40(228), 38–42.

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ. (2548). สุดยอดนวัตกรรมไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

อคิน รพีพัฒน์. (2527). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาชนบทในสภาพสังคมและวัฒนธรรมไทย.

ใน ทวีทอง หงส์วิวัฒน์, บรรณาธิการ. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา. กรุงเทพฯ:

ศูนย์ศึกษานโยบายสาธารณสุข.

อรทัย หนูสงค์. (2560). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการเขตอนุรักษ์สัตว์น้ำ : กรณีศึกษาหมู่ที่ 1

ตำบลป่าขาด อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต,

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).

อรพรรณ ภมรสุวรรณ. (2544). การมีส่วนร่วมของสมาชิกนิคมในการจัดการนิคมสร้างตนเองเพื่อพึ่งพา

ตนเอง: ศึกษานิคมสร้างตนเองภาคใต้ตามแผนถอนสภาพนิคม. (วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์

ศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

อำนวย คำเรือง. (2565, 3 มีนาคม). ช่างไม้พื้นบ้านบ้านบากชุม ตำบลโนนก่อ อำเภอสิรินธร จังหวัด

อุบลราชธานี. สัมภาษณ์.

Howskins, J. (2009). The creative economy: How people make money from ideas.

Bangkok: Amarin Printing & Publishing Press