การสร้างสรรค์ท่ารำ และดนตรีประกอบการแสดงพื้นถิ่นในประเทศไทย

Main Article Content

วัชระ แตงเทศ

บทคัดย่อ

วิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด และวิธีการคิดงานสร้างสรรค์ผลงานนาฏกรรมพื้นถิ่นในประเทศไทย มีขอบเขตวิจัยในพื้นที่ 4 ภูมิภาคของประเทศไทย ดังนี้ 1) ภาคเหนือ  2) ภาคกลาง 3) ภาคอีสาน และ 4) ภาคใต้ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ปราชญ์อาวุโส (ศิลปินแห่งชาติ) นักวิชาการที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างสรรค์ผลงานการแสดงพื้นถิ่นทั้ง 4 ภาคของประเทศไทย


ผลวิจัย พบว่า การคิดสร้างสรรค์การแสดงพื้นถิ่นในประเทศไทยมีการคิดค้นประดิษฐ์ท่ารำในรูปแบบต่าง ๆ ของการใช้ชีวิตประจำวัน ด้านการเกษตรกรรม ด้านงานหัตถกรรม ด้านความเชื่อ ด้านการทำมาหากิน และด้านธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต 1) การแสดงของภาคเหนือในการแสดงฟ้อนสาวไหม แสดงถึงวิถีชีวิตในด้านงานหัตถกรรมการทอผ้า ซึ่งเป็นวิถีชีวิตของคนในชุมชน และระบำเก็บใบชา แสดงถึงวิถีชีวิตในด้านการเกษตรกรรม การเก็บเกี่ยวผลผลิตของคนในชุมชน 2) การแสดงของภาคกลาง ท่ารำเป็นการประดิษฐ์ท่ารำที่สะท้อนถึงชีวิตความเป็นอยู่ของชาวนา แสดงถึงขั้นตอนการทำนาตั้งแต่เริ่มหว่านข้าว ไถนา เกี่ยวข้าว ฝัดข้าว แสดงถึงวิถีชีวิตด้านการเกษตรกรรมของคนในชุมชน และการแสดงรำวงมาตราฐานซึ่งพัฒนาการมาจากการรำโทน เป็นการเล่นพื้นเมืองของไทยที่นิยมเล่นกันในฤดูเทศกาล แสดงถึงวิถีชีวิตด้านการละเล่นของคนในชุมชน 3) การแสดงของภาคอีสาน เซิ้งแหย่ไข่มดแดง สื่อถึงอัตลักษณ์ที่แสดงออกถึงความเป็นพื้นถิ่นอีสาน วิถีชีวิต การทำมาหากิน แสดงถึงวิถีชีวิตด้านการทำมาหากินเลี้ยงชีพของคนในชุมชน และการแสดงดึงครกดึงสาก บอกเล่าถึงพิธีกรรม ความเชื่อ เรื่องการเสี่ยงทายเพื่อขอฝนของชาวอีสาน แสดงถึงวิถีชีวิตด้านความเชื่อและศรัทธาของคนในชุมชน 4) การแสดงของภาคใต้  ระบำปั้นหม้อ นำเอาวิถีชีวิตชาวบ้านด้านงานหัตถกรรมมาเป็นต้นแบบในการประดิษฐ์ท่ารำ แสดงถึงวิถีชีวิตด้านงานหัตถกรรมของคนในชุมชนภาคใต้ตอนบน และการแสดงระบำดีดกุ้ง ใช้ท่ารำนาฏยศิลป์พื้นบ้านผสมผสานกับท่ารำที่สร้างสรรขึ้นใหม่จากท่าทางอากัปกิริยาของธรรมชาติของกุ้ง แสดงถึงวิถีชีวิตธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตในชุมชนภาคใต้ตอนล่าง การแสดงนาฏกรรมพื้นถิ่นในประเทศไทยเป็นเครื่องบ่งบอกถึงวัฒนธรรมดั่งเดิมที่มีมาของชุมชนนั้น ๆ และยังสร้างความบันเทิงให้ความสุขใจของชุมชน ทั้งยังสอดแทรกวิถีชีวิตของคนในชุมชนทั้งชนบทและในเมือง ถ่ายทอดมาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ขวัญจิต ศรีประจันต์. (2565, 26 พฤศจิกายน). ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดงตำบลหน้าไม้

อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี. สัมภาษณ์.

ควน ทวนยก. (2564, 6 ธันวาคม). ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดงตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมือง

จังหวัดสงขลา. สัมภาษณ์.

ฉวีวรรณ ดำเนิน-พันธุ. (2564, 17 ธันวาคม). ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดงตำบลขอนแก่น

อำเภอเมืองร้อยเอ้ด จังหวัดร้อยเอ็ด. สัมภาษณ์.

เฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี. (2536). วิธีการศึกษาดนตรีพื้นบ้าน. ขอนแก่น: คณะศิลปกรรมศาสตร์

มหาวิยาลัยขอนแก่น.

ชาย โพธิสิตา. (2552). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 4) กรุงเทพฯ:

อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

บัวเรียว รัตนมณีพรณ์. (2565, 4 กุมภาพันธ์). ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดงตำบลนางแล

อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย. สัมภาษณ์.

นัฐพงษ์ ทองม้วน. (2564). “บทบาทดนตรีประกอบการแสดงหนังประโมทัยคณะบุญเทียมน้อย”

(วิทยานิพนธ์ปริญญาดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาดุริยางคศิลป์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

พาณี สีสวย. (2539). สุนทรียะทางนาฏศิลป์ไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ธนะการพิมพ์.

วิราณี แว่นทอง. (2565, 20 กุมภาพันธ์). อาจารย์ประจำหลักสูตรสาขาวิชานาฏศิลป์ คณะมนุษยศาสตร์

และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี. สัมภาษณ์.

สมใจ เจริญผล. (2564, 9 ธันวาคม). พนักงานราชการ(ตำแหน่งครูนาฏศิลป์)โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ตำบล

สะบารัง อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี. สัมภาษณ์.

สุจริต บัวพิมพ์. (2533). แนวคิดในการอนุรักษ์และเผยแพร่ศิลปะการละเล่นและการแสดงพื้นบ้าน

ของไทย. ในเอกสารการสอนชุดวิชาศิลปะการละเล่นและการแสดงพื้นบ้านของไทย.

(พิมพ์ครั้งที่ 2). หน้า 808-813. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุภางค์ จันทวานิช. (2542). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ:

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์. (2533). ความสัมพันธ์ระหว่าการแสดงพื้นบ้านของภาคต่าง ๆ. ในเอกสารการ

สอนชุดวิชาศิลปะการละเล่นและการแสดงพื้นบ้านของไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี:

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

อนุสรณ์ บุญเรือง. (2565, 4 กุมภาพันธ์). นักวิชาการสำนักศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

ตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. สัมภาษณ์.

Gao, J. (2021). Exploring children's well-being and creativity in Chinese folk music lessons.

Thinking Skills and Creativity, 41(5), 100903.