ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นสถานศึกษาแห่งนวัตกรรมของโรงเรียนสังกัดเทศบาล เมืองอุตรดิตถ์

Main Article Content

ภัทรหทัย ภู่สวัสดิ์
สถิรพร เชาวน์ชัย

บทคัดย่อ

   การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นสถานศึกษาแห่งนวัตกรรม
กับการเป็นสถานศึกษาแห่งนวัตกรรมของโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ 2) สร้างสมการพยากรณ์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นสถานศึกษาแห่งนวัตกรรมของโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครูในโรงเรียน สังกัดเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ จำนวน 144 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน โดยผู้บริหารโรงเรียน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 11 คน และครูได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น ตามจำนวนครูในแต่ละโรงเรียน จำนวน 133 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นสถานศึกษาแห่งนวัตกรรมของโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบปกติ


  ผลการวิจัยพบว่า


  1. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นสถานศึกษาแห่งนวัตกรรมกับการเป็นสถานศึกษาแห่งนวัตกรรมของโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ พบว่า มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ระหว่าง 0.771-0.830

  2. ผลการสร้างสมการพยากรณ์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นสถานศึกษาแห่งนวัตกรรมของโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ โดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 4 ตัว ได้แก่ ปัจจัยด้านภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหาร (X1) ปัจจัยด้านวัฒนธรรมสถานศึกษาแห่งนวัตกรรม (X2) ปัจจัยด้านการสนับสนุนความรู้เพื่อสร้างนวัตกรรม (X3) และปัจจัยด้านบรรยากาศสร้างสรรค์ และสร้างแรงเสริมในการทำงาน (X4) ส่งผลต่อการเป็นสถานศึกษาแห่งนวัตกรรมของโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (R) เท่ากับ 0.909 มีอำนาจพยากรณ์ (R2) ได้ร้อยละ 82.70 มีค่าความคาดเคลื่อนมาตรฐาน เท่ากับ 0.176 เขียนสมการได้ดังนี้

            สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ


              = 1.073 + 0.279 (X1) + 0.174 (X2) + 0.170 (X3) + 0.145 (X4)


            สมการในรูปคะแนนมาตรฐาน


            y = 0.383 (X1) + 0.226 (X2) + 0.207 (X3) + 0.205 (X4)


     


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พิษณุ ศรีกระกูล. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์การนวัตกรรมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 8(31), 131-141.

วุฒิสาร ตันไชย และคณะ. (2558). ข้อเสนอเชิงนโยบายนวัตกรรมการพัฒนารายได้ขององค์กรปกครอง

ส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สุธรรม ธรรมทัศนานนท์. (2564). การบริหารสู่องค์การแห่งนวัตกรรมการศึกษา. มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.

อนุพงษ์ ชุมแวงวาปี. (2560). การพัฒนารูปแบบองค์การแห่งนวัตกรรมของโรงเรียนมัธยมศึกษา

สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต,

มหาวิทยาลัยบูรพา).

Krejcie & Morgan. (1970). Foundations of behavioral research. (4th ed). Holt Mich: Rine ha, Holt, Rinehart.