แนวทางการพัฒนาการเข้าถึงสวัสดิการสังคมของประชาชนในเขตเทศบาล ตำบลไร่น้อย อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

พชรพล ผาลิพัฒน์
ปรีดี ทุมเมฆ
สิริภาพรรณ ลี้ภัยเจริญ

บทคัดย่อ

   การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาระดับและปัญหาการเข้าถึงสวัสดิการสังคมของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลไร่น้อย อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการเข้าถึงสวัสดิการสังคมของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลไร่น้อย อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามมีกลุ่มตัวอย่างผู้ที่อาศัยในเขตเทศบาลตำบลไร่น้อย จำนวน 392 คน และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างสำหรับเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับสวัสดิการสังคมจำนวน 8 ท่าน ใช้สถิติพรรณนา วิเคราะห์ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ สถิติเชิงพรรณนา


              ผลการศึกษาพบว่า ข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ 31-40 ปี ระดับการศึกษาผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี และอาชีพส่วนใหญ่เป็น พนักงานเอกชน ระดับและปัญหาการเข้าถึงสวัสดิการสังคม พบว่า การเข้าถึงสวัสดิการสังคมอยู่ในระดับมาก ปัญหาในการเข้าถึงสวัสดิการสังคมอยู่ในระดับน้อย ส่วนประชาชนบางส่วนที่ไม่สามารถเข้าถึงสวัสดิการสังคมได้นั้นเพราะไม่ทราบว่าตนมีสิทธิ์ในสวัสดิการสังคมอะไรบ้าง ขาดความรู้ความเข้าใจ ปัญหาทางด้านการรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากภาครัฐ และยังมีผู้ที่ไม่สามารถเดินทางไปยังสถานที่ทำการได้ รวมถึงผู้ที่ไม่สามารถใช้สมาร์ทโฟนได้ ทำให้เกิดการตกหล่นของสิทธิ์ไป ดังนั้นแนวทางการพัฒนาการเข้าถึงสวัสดิการสังคมจะสามารถทำได้โดยการเพิ่มบุคลากรที่ดูแลเกี่ยวกับสวัสดิการสังคมโดยเฉพาะ พร้อมทั้งจัดตั้งศูนย์ให้คำปรึกษาในชุมชน เพิ่มงบประมาณทางด้านเทคโนโลยีและดิจิทัล เพิ่มช่องทางในการดำเนินการผ่านแอพพลิเคชัน โดยเฉพาะการประชาสัมพันธ์ข่าวสารของสวัสดิการสังคม และมีการสำรวจการตกหล่นของสิทธิ์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการปกครอง. (2565). สถิติทางการทะเบียน. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2566, จาก

https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMenu/newStat/home.php

กฤษฎา ศุภกิจไพศาล. (2561). การพัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมที่มีความเป็นธรรมเพื่อแก้ไขปัญหาความ

เหลื่อมล้ำ. วารสารสังคมสงเคราะห์และสวัสดิการสังคม คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 10(1), 11-25.

กอบศักดิ์ ภูตระกูล. (2556). คุณภาพของการเจริญเติบโตจากมิติของการกระจายรายได้.

ในการสัมมนาวิชาการประจำปี 2556 ธนาคารแห่งประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร. หน้า 25.

ธนพันธ์ ไล่ประกอบทรัพย์ สุนิสา ช่อแก้ว, สติธร ธนานิธิโชติ, และวิชุดา สาธิตพร. (2558). การเข้า

(และไม่) ถึงโครงการช่วยเหลือรัฐบาลของประชาชนประสบการณ์ภาคสนามจากภาคเหนือและ ภาคใต้. กรุงเทพฯ: สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า.

ธีราพร ดาวเจริญ. (2559). การเข้าถึงสวัสดิการสังคมสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน-

ในอำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

เศรษฐศักดิ์ มูลดามาตย์ และอจิรภาส์ เพียรขุนทด. (2565) การเข้าถึงสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุที่พิการ ในจังหวัดขอนแก่น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2564). ระบบสวัสดิการสังคม. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2566, จาก https://tdri.or.th/issue/social-welfare/

สุกาญจนา กรคณฑี. (2562). ผลกระทบของนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐต่ออุปทานแรงงานของผู้ถือบัตร.

(การค้นคว้าอิสระเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2556). โลกเปลี่ยนไทยปรับ: หลุดจากกับดัก พ้นจากชาติที่ล้มเหลว. กรุงเทพ:

กรุงเทพธุรกิจ.

สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. (2561). การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ได้รับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ.

วารสารไทยคู่ฟ้า. 8(1), 17-30.

อำไพรัตน์ อักษรพรหม และกฤษณา รุ่งโรจน์วณิชย์. (2561). การได้รับและการเข้าถึงสวัสดิการสังคมสำ-

หรับครอบครัวที่มีผู้สูงอายุ. (พิมพ์ครั้งที่ 26). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Yamane, Taro. (1976). Statistics: An introductory analysis (2nd ed.) New York: Harper and

Row.