สมรรถนะและองค์การแห่งการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐในระบบ e-GP ของส่วนราชการผู้เบิกในจังหวัดร้อยเอ็ด

Main Article Content

ลัลน์ลนา สิงห์จานุสงค์
วีระกิตติ์ เสาร่ม
กิตติชัย เจริญชัย เจริญชัย

บทคัดย่อ

                 บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านสมรรถนะ ประกอบด้วยการมุ่งผลสัมฤทธิ์ การบริการที่ดี การสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ การยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรมและจริยธรรม และการทำงานเป็นทีม และปัจจัยด้านองค์การแห่งการเรียนรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้แห่งตน แบบแผนความคิดอ่าน การสร้างวิสัยทัศน์ร่วม และการคิดอย่างเป็นระบบ ที่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐในระบบ e-GP ของส่วนราชการผู้เบิกในจังหวัดร้อยเอ็ด และเพื่อศึกษาแนวทางการสร้างสมรรถนะ และองค์การแห่งการเรียนรู้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐในระบบ e-GP ของส่วนราชการผู้เบิกในจังหวัดร้อยเอ็ด ประชากรกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านพัสดุ จำนวน 297 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณในการทดสอบสมมติฐาน


               ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านสมรรถนะมีผลทางบวกต่อประสิทธิภาพการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐในระบบ e-GP ของส่วนราชการผู้เบิกในจังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามให้ระดับการปฏิบัติในด้านการทำงานเป็นทีมมากที่สุด รองลงมา คือ การมุ่งผลสัมฤทธิ์ และการสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ส่วนองค์การแห่งการเรียนรู้มีผลทางบวกต่อประสิทธิภาพการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐในระบบ e-GP ของส่วนราชการผู้เบิกในจังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญในด้านการคิดอย่างเป็นระบบ มากที่สุด รองลงมา คือ ความรอบรู้แห่งตน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กณิศนันท์ ดีดวง. (2555). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวินัยในการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้กับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานครูโรงเรียนเทศบาลในจังหวัดจันทบุรี. (ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี).

กรมบัญชีกลาง. (2564, 25 มีนาคม). หนังสือคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ด่วนที่สุด ที่ กค (กวจ) 0405.2/ว 164 เรื่อง มาตรการการคลังด้านการใช้จ่ายภาครัฐ.

กรมบัญชีกลาง. (2565). รายงานภาพรวมการจัดซื้อจัดจ้าง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. (ออนไลน์), สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2565, จาก http://www.gprocurement.go.th/wps/portal/egp/Stat

ณัฐวัฒน์ สิริพรวุฒิ. (2557). การศึกษาสมรรถนะหลักที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านผลงานของพนักงานส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี).

ธานินท์ ศิลป์จารุ. (2557). การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS.

(พิมพ์ครั้งที่ 15). นนทบุรี: เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.

รังสรรค์ สิงหาเลิศ. (2550). สถิติและการใช้โปรแกรม SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัย. มหาสารคาม: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

รัฐบาลไทย. (2565). ทิศทางการบริหารเศรษฐกิจไทยปี 2565. (ออนไลน์), สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2565, จาก https://www.thaigov.go.th/news/ contents/ministry _details/49768

วีรยา สัจจะเขตต์. (2564). การพัฒนาแนวทางการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนขยายโอกาสสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5. (ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง. (2563). แผนปฏิบัติราชการรายปี (พ.ศ. 2565) ของกระทรวงการคลัง. กรุงเทพฯ: ส่วนยุทธศาสตร์ระดับกระทรวง สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ไตรมาสที่ 3/2564. (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อ 16 มกราคม 2565, จาก https://www.nesdc.go.th/ ewt_dl_link.php?nid= 5176&filename=QGDP_report

สิรินภา ทาระนัด. (2561). การศึกษาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

อุษณีย์ ปานนาค. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของข้าราชการตำรวจภูธรภาค 9.

(รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).

Senge, P. M. (1990). The fifth discipline: The art and practice of the learning organization. London: Century Business.