คำสแลง “牛逼” (niubi) ในภาษาจีนปัจจุบัน

Main Article Content

วีรภัทร ภคพงศ์พันธุ์

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะการสร้างคำและระดับการใช้ภาษาของคำว่า “牛逼” ในภาษาจีนปัจจุบัน 2) เพื่อศึกษาความหมายของคำว่า “牛逼” ในภาษาจีนปัจจุบัน และ 3) เพื่อศึกษาชนิดของคำและหน้าที่ทางไวยากรณ์ของคำว่า “牛逼” ในภาษาจีนปัจจุบัน ซึ่งใช้กระบวนการวิจัยทางภาษาศาสตร์ มีจำนวน 200 กลุ่มตัวอย่าง แบ่งเป็น คำคุณศัพท์ 150 กลุ่มตัวอย่าง และคำนาม 50 กลุ่มตัวอย่าง โดยผู้วิจัยใช้แบบวิเคราะห์เอกสารเป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล และใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพวิเคราะห์เชิงเนื้อหา เพื่อจัดกลุ่มหาความสัมพันธ์และสรุปผล   


               ผลการวิจัย พบว่า 1) “牛逼” เป็นคำประสมรูปแบบบทขยาย มีที่มาจากคำว่า “牛屄” และเปลี่ยนรูปแบบการเขียนโดยใช้ “逼” แทน “屄” เพื่อลดความหยาบคาย จัดอยู่ในกลุ่มภาษาระดับสนทนาในชีวิตประจำวัน 2) คำว่า “牛逼” เป็นได้ทั้งคำนาม หมายถึง อวัยวะสืบพันธุ์ของวัวเพศเมีย และเป็นคำคุณศัพท์ หมายถึง สุดยอด 3) ในการเป็นคำนามของคำว่า “牛逼” สามารถทำหน้าที่บทประธาน
บทกรรม และบทขยายคำนาม มี “个” เป็นลักษณะนาม และการเป็นคำคุณศัพท์สามารถทำหน้าที่บทขยายคำนาม บทขยายกริยา บทเสริมบทกริยา บทภาคแสดง เติม “了、着、过” ได้ และเป็นประโยคปฏิเสธโดยเติม “不” ด้านหน้า เติม “一点” หลังคำได้ และอยู่เดี่ยว ๆ โดยไม่ต้องเติม “的” ตามหลัง ข้อเสนอแนะในการใช้คำ เนื่องจากคำว่า “牛逼” เป็นคำสแลง ไม่ใช่คำบริภาษหรือคำกล่าวโทษ แต่เป็นคำชมที่ไม่ใช่ภาษาสุภาพ เป็นภาษาแบบไม่ทางการ จึงควรใช้ในสถานที่ส่วนบุคคล นอกจากนี้ ผู้สื่อสารยังต้องพิจารณาข้อจำกัดในการแปลความหมายเป็นภาษาไทย ไม่สามารถใช้คำว่า “สุดยอด” ทดแทนความหมายของคำว่า “牛逼” ได้ทั้งหมด และคำดังกล่าวไม่ปรากฏการเป็นคำวิเศษณ์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกพร นุ่มทอง. (2563). ทักษะการแปลภาษาจีนเป็นภาษาไทย. กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.

กัญญนัช ชะนะจิตร. (2560). การสร้างคำและความหมายของสแลงในเฟซบุ๊ก (รายงานผลการวิจัย). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

จักรกฤต โยมพยอม. (2557). คำไทยในโซเชียล หยาบคายภาษาดอกไม้ แบบไหนเหมาะ. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2566, จาก https://www.thairath.co.th/content/439534.

ผกาศรี เย็นบุตร, สุภัค มหาวรากร และนิธิอร พรอำไพสกุล. (2555). ภาษาไทย 6 เล่ม 1. นนทบุรี: เอมพันธ์จำกัด.

เรืองเดช ปันเขื่อนขัติย์. (2550). การวิเคราะห์ประโยคภาษาไทย. วารสารภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย, 1(1), 42-57.

ศิรินทิพย์ เด่นดวง. (2562). วัฒนธรรมไทยยุค 4.0: การใช้ภาษาของคนไทยในสื่อสังคมออนไลน์. ใน งานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 11 (น.1574-1582). นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2554). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2566, จาก https://dictionary.orst.go.th/.

อุดม วโรตม์สิกขดิตถ์. (2563). ภาษาศาสตร์เบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 24). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

豆子. (2016). 「牛逼」一词的出处是哪里?. Retrieved March 31, 2022, from https://www.zhihu. com/question/21529766.

黄伯荣和李炜. (2016). 现代汉语:上册 (第二版). 北京: 北京大学出版社.

黄伯荣和廖序东. (2017). 现代汉语:上册 (第六版). 北京: 高等教育出版社.

老纪. (2018). 美丽的女孩儿,请你不要再用“牛逼”这个词。. Retrieved March 31, 2022, from https://zhuanlan.zhihu.com/p/36842250.

刘媛. (2017). 试论影响语言变异的社会因素. 哈尔滨职业技术学院学报, (1), 134-137.

邵敬敏. (2016). 现代汉语通论 (第三版). 上海: 上海教育出版社.

十五路驿站. (2021). 牛逼算不算脏话?牛B是褒义词还是贬义词是骂人还是夸人. Retrieved March 31, 2022, from https://www.douban.com/group/topic/?_i=907 5530-tD3SqL.

我叫香菇. (2019). 牛逼!牛逼人物带你了解“牛逼”一词全部含义。. Retrieved March 31, 2022, from https://www.douban.com/group/topic/8899302/?_i=9075530-tD3SqL.

张伯江. (2011). 汉语的句法结构和语用结构. 汉语学习, 2(1), 3-12.

Badri Abdulhakim.D.M.Mudhsh, Ayman Hamid Al-Takhayinh, Othman Aref Al-Dala’ien (2015). Immediate Constituent Analysis (ICA). International Journal of Scientific and Research Publication, 5(6), 2250-3153.

baidu. (2566). 牛逼. Retrieved Apirl 30, 2023, from https://baike.baidu.com/item/牛逼/994293#:~:text=又写作牛B、NB,很彪悍的意思.

kknews.cc. (2019). 中国古代十大禁书. Retrieved March 31, 2022, from https://kknews. cc/zh-sg/history /nl8mb42.html.

statista. (2022). Market share of search engines in China. Retrieved March 25, 2022, from https:// www.statista.com/statistics/253340/market-share-of-search-engines-in-china-pageviews/.