การใช้ประโยชน์พื้นที่สีเขียวของประชาชนในสวนรมณีย์ทุ่งสีกันเขตดอนเมืองกรุงเทพมหานคร Currently, countries around the world, including Thailand, are facing various environmental pollution problems, such as global warming, PM 2.5 air pollution, droughts, floods, and natural disasters. These environmental pollutants are primarily the result of various human activities that are rapidly increasing, causing significant impacts on the natural environment. Deforestation and environmental degradation have also had a wide-ranging and continuous impact on the global environment, leading to changes in the atmosphere, more severe natural disasters, flooding, earthquakes, severe storms, abnormal heat, loss of lives, and the emergence of new and previously eradicated epidemics. In response to these crises, countries worldwide, including Thailand, are striving to increase green areas in both natural and urban environments to mitigate the resulting impacts. Government agencies are placing greater importance on expanding green spaces in urban communities, as the issue of PM 2.5 air pollution has become a significant concern affecting air quality. Smoke and haze have become a problem for everyone, and all related organizations and parties are working to find sustainable solutions in both the short and long term (Department of Environmental Quality Promotion, 2013). In Bangkok, relevant government agencies have expanded green areas in the form of public parks in almost every district. This has led to an increase in the utilization of these public parks by the community, as they offer clean air and provide a place for relaxation and exercise.

Main Article Content

ภัทรานิษฐ์ ธนูบรรพ์
กิติชัย รัตนะ
อภิชาต ภัทรธรรม

บทคัดย่อ

                  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางเศรษฐกิจ สังคม ข้อมูลทั่วไป ระดับความ พึงพอใจและปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการใช้ประโยชน์พื้นที่สีเขียวของสวนรมณีย์ทุ่งสีกัน เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร ข้อมูลการศึกษาใช้แบบสัมภาษณ์ไปเก็บรวบรวมข้อมูลกับประชาชนที่เดินทางมาใช้ประโยชน์พื้นที่สีเขียวในพื้นที่สวนรมณีย์ทุ่งสีกัน เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร ช่วงระหว่างเดือนมิถุนายน-สิงหาคม 2566 รวมจำนวน 379 ราย วิธีวิเคราะห์ทางสถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน ใช้สถิติที (t-test) และใช้สถิติ One-Way Anova หรือสถิติเอฟ (F–test) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 (p-value = 0.05)


                   ผลการศึกษาพบว่า ประชาชนกลุ่มตัวอย่างที่ทำการศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 53.83 เป็นเพศหญิง ร้อยละ 46.17 มีอายุเฉลี่ย 38.10 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี มีอาชีพรับราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจเป็นอาชีพหลัก มีรายได้ต่อเดือนเฉลี่ย 27,917.31 บาท มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตดอนเมือง มีวัตถุประสงค์ของการมาใช้ประโยชน์พื้นที่สีเขียวเพื่อเดิน–วิ่งออกกำลังกาย มาใช้ประโยชน์พื้นที่สีเขียวกับกลุ่มเพื่อน เคยมีประสบการณ์ในการมาใช้ประโยชน์พื้นที่สีเขียว มีความร่มรื่นของต้นไม้เป็นสิ่งดึงดูดใจให้เดินทางมาใช้ประโยชน์พื้นที่สีเขียว ประชาชนมีความพึงพอใจที่มีต่อการใช้ประโยชน์พื้นที่สีเขียวของสวนรมณีย์ทุ่งสีกัน เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.05 จำแนกออกเป็น (1) ความพึงพอใจด้านสภาพแวดล้อมและการจัดการพื้นที่ อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.86 และ (2) ความพึงพอใจ ด้านบุคลากรและการให้บริการ อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.33 ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการใช้ประโยชน์พื้นที่สีเขียวของสวนรมณีย์ทุ่งสีกัน เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร ได้แก่ อายุ รายได้ต่อเดือน ภูมิลำเนา วัตถุประสงค์ของการมาใช้ประโยชน์ ประเภทของกลุ่มผู้มาใช้ประโยชน์พื้นที่สีเขียว และประสบการณ์การมาใช้ประโยชน์พื้นที่สีเขียว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2566). นโยบายการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมือง. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2566,

จาก https://www.deqp.go.th/new

ชุมพร ขาวผ่อง. (2561). ความพึงพอใจของผู้มาเยือนที่มีต่อสิ่งอำนวยความสะดวกและการให้บริการของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง: กรณีศึกษาหมู่เกาะรัง ตำบลเกาะหมาก อำเภอเกาะกูด จังหวัดตราด. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

บุญเรียง ขจรศิลป์. (2542). สถิติวิจัย 1. กรุงเทพฯ: พี เอ็น การพิมพ์.

บทมากร ศรีสุวรรณ. (2560). ความพึงพอใจของผู้มาเยือนที่มีต่อสิ่งอำนวยความสะดวกและการให้บริการของอุทยานแห่งชาติเวียงโกศัย จังหวัดแพร่. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์).

ประภาเพ็ญ สุวรรณ. (2526). ทัศนคติ : การวัดการเปลี่ยนแปลงและพฤติกรรมอนามัย. กรุงเทพฯ:

โอเดียนสโตร์.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภานุมาศ สามสีเนียม. (2559). ความพึงพอใจของผู้มาเยือนต่อสิ่งอำนวยความสะดวกและการให้บริการ

ของอุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง จังหวัดนครศรีธรรมราช. (การศึกษาค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

มณเฑียร วิริยะพันธุ์. (2562). ความพึงพอใจของผู้มาเยือนที่มีต่อสิ่งอำนวยความสะดวกและการให้บริการของอุทยานแห่งชาติภูผาเทิบ จังหวัดมุกดาหาร. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์).

วนาลี วิริยะพันธุ์. (2563). ความพึงพอใจของผู้มาเยือนที่มีต่อการจัดการการท่องเที่ยวของอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ จังหวัดอุบลราชธานี. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

ศิริพงษ์ ดิษฐบรรจง. (2563). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการใช้ประโยชน์พื้นที่สีเขียวสโมสรตำรวจ

เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

สำนักงานสวนรมณีย์ทุ่งสีกัน. (2566). ข้อมูลสถิติจำนวนประชาชนที่เข้ามาใช้บริการในสวนรมณีย์ทุ่งสีกัน ประจำปี พ.ศ. 2563–2565. กรุงเทพฯ: สำนักงานสวนรมณีย์ทุ่งสีกัน.

สำนักงานสวนสาธารณะ. (2566). สวนรมณีย์ทุ่งสีกัน กรุงเทพมหานคร. สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2566,

จาก http://office.bangkok.go.th/publicpark/park10.asp.

สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล. (2565). สถิติกรุงเทพมหานคร 2565. กรุงเทพฯ: กองยุทธศาสตร์บริหารจัดการ สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล.

เอกชัย แสนดี. (2556). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการให้บริการด้านการท่องเที่ยวของอุทยานแห่งชาติเขาชะเมา–เขาวง อำเภอเขาชะเมา จังหวัดระยอง. (การศึกษาค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

Yamane, T. (1973). Statistics : An Introductory Analysis. (3rd ed). Harper International Edition, Tokyo.