ความต้องการในการศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี Thai is the national and official language of Thailand. His Majesty King Bhumibol Adulyadej Maha Bhumibol Adulyadej the Great Borommanatbophit (1992: 1) has said that The Thai language is one of the tools of the nation. Languages are human tools. is a way for expressing one's opinion It's a beautiful thing. For example, in literature, etc. Therefore, it is necessary to maintain it well. We are also fortunate to have our own language since ancient times. Therefore, it is very appropriate to maintain it. In addition, the value and importance of the Thai language is not only a medium of communication. It is also an essential tool for coordinating understanding. solidarity of the whole country a cultural heritage be wisdom is the source of all knowledge Therefore, in order to create a body of knowledge and manage knowledge of the curriculum in line with the National Economic and Social Development Plan No. 13, 2022-2026, which is derived from the assessment of opportunities and risks of Thailand towards developme

Main Article Content

กอบชัย รัฐอุบล
สริยกานต์ ยี่เก็งเอี่ยม
กิติราช พงษ์เฉลียว

บทคัดย่อ

                 บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการในการศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษาและศึกษาความจำเป็นในการเปิดหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี โดยมีผู้ให้ข้อมูลที่ต้องการศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา ซึ่งเป็นบุคลากรของโรงเรียนต่าง ๆ ในจังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดอำนาจเจริญ และจังหวัดยโสธร รวมถึงนักศึกษาที่กำลังจบการศึกษา จำนวน 96 คน ผลการวิจัยพบว่า ด้านความต้องการศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความต้องการศึกษาต่อในหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.) มากที่สุด จำนวน 49 คน คิดเป็นร้อยละ 51.04 รองลงมาคือต้องการศึกษาต่อในหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) จำนวน 35 คน คิดเป็นร้อยละ 36.46 และที่น้อยที่สุดคือมีความต้องการศึกษาต่อระดับปริญญาโทต่อเนื่องถึงปริญญาเอก (ปร.ด.)      สาขาวิชาภาษาไทย จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 12.50 ตามลำดับด้านความจำเป็นในการเปิดหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พบว่า ความจำเป็นในการเปิดหลักสูตร ศศ.ม.และ ปร.ด. สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี อยู่ในระดับมากที่สุด                ( ) = 4.95 โดยมีความจำเป็นต้องเปิดหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา เพื่อสนองตอบความต้องการและการพัฒนาครู บุคลากรทางการศึกษา รองลงมาคือค่าเฉลี่ย ( )=1.17 ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยไม่จำเป็นเพราะยังไม่มีหน่วยงานต้องการบุคลากรในสาขาวิชานี้และค่าเฉลี่ย ( )=1.04 ที่น้อยที่สุดคือ เป็นค่าเฉลี่ยไม่จำเป็นเพราะสถาบันอื่นมีการเปิดสอนอยู่แล้ว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จันทิมา จํานงค์นารถ. (2554). ความต้องการศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษาของครูและบุคลากรทางการ

ศึกษาในพื้นที่ภาคตะวันตก. นครปฐม: คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.

ทัศนีย์ ชาติไทย. (2555). รายงานการวิจัยเรื่องแรงจูงใจและความต้องการในการศึกษาต่อระดับ

บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. นนทบุรี: สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน

วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ธนาชัยวัฒน์ เดชาสินธ์เจริญ. (2553). ความต้องการศึกษาต่อในระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัย

เอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยาลัยเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา

เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย).

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร. (2535).

รวมพระราชดำรัสในวโรกาสสำคัญในรัชกาลที่ 9. กรุงเทพฯ: สำนักพระราชวัง.

บุญส่ง ไข่เกษ และเลขา สมยืน. (2552). การศึกษาความต้องการศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและ

ปริญญาเอก สาขาวิชาวิทยาศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อมและชีวอนามัยและความ

ปลอดภัยของบุคลากรทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. นครราชสีมา: สาขาสาธารณสุขศาสตร์

วิทยาลัยนครราชสีมา.

สุมิตร สุวรรณ และจันทิมา จำนนารถ. (2554). ความต้องการศึกษาต่อในระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัย

ราชภัฏราชนครินทร์, วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

(1) 68-80.

สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2559). กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.

กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาแห่งชาติ.

อานันท์ นิรมลและคณะ. (2560). ความต้องการศึกษาต่อหลักสูตรระดับปริญญาเอก สาขาวิชา

เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, วารสาร

สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยทักษิณ, 6(1) 143-155.