พฤติกรรมและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการเลือกใช้บริการร้านสะดวกซัก ของผู้บริโภค ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

บุรินทร์ ศิริเนตร์
จิรพันธ์ พรมจันทร์
เบญจวรรณ ทวีวรรณ
รัชฎากร ไชยปัญญา
สุพัตรา จันสง่า
อรสา จันทะเลิศ
อริศรา เทพหยด

บทคัดย่อ

                      การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการร้านสะดวกซักของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 2) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นที่มีต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการเลือกใช้บริการร้านสะดวกซักของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 3) ศึกษาปัจจัยประชากรศาสตร์ที่มีผลต่อส่วนประสมทางการตลาดในการเลือกใช้บริการร้านสะดวกซักของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี งานวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็น จากการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญพบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วย สถิติความแปรปรวนทางเดียว (One-way anova) หากพบความแตกต่างจะนำไปสู่การเปรียบเทียบเป็นรายคู่ โดยใช้วิธี Scheffe ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงที่มีช่วงอายุ 15-25 ปี อาชีพนักเรียน/นักศึกษา สถานภาพโสด ระดับการศึกษาปริญญาตรี รายได้ 5,001–10,000 บาท มีความถี่ในการใช้บริการร้านสะดวกซัก 2 ครั้ง/สัปดาห์ นิยมใช้บริการในช่วงเวลา 17.01–22.00 น. ระดับความคิดเห็นที่มีต่อส่วนประสมทางการตลาดในการเลือกใช้บริการร้านสะดวกซักของผู้บริโภคมากที่สุดคือ ด้านผลิตภัณฑ์ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ในภาพรวม ด้านรายได้ที่แตกต่างกัน มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านสะดวกซักของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนก ศิริพร. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการกับการตัดสินใจใช้บริการร้านซักผ้าหยอดเหรียญ Otteri ในจังหวัดสงขลา. (ค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2549). สถิติสาหรับงานวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฉัตยาพร เสมอใจ. (2556). การบริหารการตลาด. กรุงเทพฯ: บริษัท วี.พริ้น (1991).

ชุลีพร แก้วกิ้ม และปริญญาภรณ์ พจน์อริยะ. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านสะดวกซักในซอยรามคําแหง 65 (ลาดพร้าว 112). (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

ชัยสมพล ชาวประเสริฐ. (2553). การตลาดบริการ. กรุงเทพฯ: ส.เอเซียเพรส (1989).

ฐิติกร บุญเรือง. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการร้านสะดวกซักของผู้บริโภคในเขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าแบบอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา. (2567). ถอดรหัสซักอบรีด ปี 2024. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2567, จากhttps://www.krungsri.com/th/plearn-plearn/decoding-success-of-laundry-business-2024

ธัญญา สุพรประดิษฐ์ชัย. (2561). ความแตกต่างของคุณลักษณะของผู้บริโภคที่มีต่อส่วนประสมการตลาดบริการสินค้าแคตตาล็อคในร้านสะดวกซื้อของผู้บริโภคในพื้นที่กรุงเทพมหานคร. วารสารสุทธิปริทัศน์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต, 32(103), 13-28.

พิชยุตม์ ภู่ไพบูลย์. (2566). ส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีผลต่อผู้บริโภคในการเลือกร้านสะดวกซักในอำเภอเมืองเชียงใหม่. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

รวิวรรณ ฉิ่นไพศาล และ วิมลพรรณ อาภาเวท. (2563). ความสัมพันธ์ของส่วนประสมทางการตลาดกับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการร้านซักอบรีด ในเขตเทศบาลตำบลเสาธงหิน จังหวัดนนทบุรี. วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร. พระนคร, 5(1), 9-18.

ลออรัตน์ สุขสุแพทย์. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้บริการเครื่องซักผ้าหยอดเหรียญของบริษัทเค-เน็กซ์คอร์ปอเรชั่น จำกัด ภายใต้แบรนด์ “อ๊อตเทริ วอช แอนด์ ดราย” (Otteri wash and dry) ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. (ค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

วรกานต์ เชื้อสำราญ. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจใช้บริการซ้ำ และความพึงพอใจในการใช้บริการร้านสะดวกซัก (Laundromat) ของผู้ใช้บริการที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (การค้นคว้าอิสระการจัดการมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล).

ศิริชัย กาญจนวาศี. (2556). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

สุจิตรา บรรณจิตร และยุทธกร ฤทธิ์ไธสง. (2565). การศึกษาส่วนประสมทางการตลาดสำหรับผู้บริโภคของร้านค้าปลีกในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 1(1), 51-66.

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์. (2567). มาตรฐานอุตสาหกรรมเอส. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2567, จาก https://www.tisi.go.th/assets/website/pdf/tiss/s235-2566.pdf

อังควิภา แนวจำปา และรัชนี งาสระน้อย. (2566). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการร้านสะดวกซักของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล, 1(2), 50-61.

อุมาวดี เดชธำรงค์ และคณะ. (2562). พฤติกรรมผู้บริโภคและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าในร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมในจังหวัดชัยภูมิ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 8(1), 173-190.

Cronbach, L. J., (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). New York: Harper Collins Publishers.

Kotler, Philip. (1994). Marketing management : analysis, planning, implementation and control. (8th ed). Englewood cliffs: Prentice-Hall, Inc.

Schiffman, Leon G. and Leslie Lazar Kanuk. (1994). Consumer behavior. (5th ed). Englewood cliffs, New Jersey: Prentice-Hall, Inc.