การพัฒนาทักษะปฏิบัติดนตรีขั้นพื้นฐานตระกูลแซกโซโฟนสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาโดยใช้บทเรียนดนตรีออนไลน์แบบเปิด

Main Article Content

คณิต พรมนิล
ณัฐวัฒน์ โฆษิตดิษยนันท์
เฉลิมชัย เจริญเกียรติกานต์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อจัดทำบทเรียนดนตรีออนไลน์แบบเปิดเพื่อพัฒนาทักษะปฏิบัติดนตรีขั้นพื้นฐานสำหรับตระกูลแซกโซโฟน 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพบทเรียนดนตรีออนไลน์แบบเปิดเพื่อพัฒนาทักษะปฏิบัติดนตรีขั้นพื้นฐานสำหรับตระกูลแซกโซโฟน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการใช้งานบทเรียนดนตรีออนไลน์แบบเปิดเพื่อพัฒนาทักษะปฏิบัติดนตรีขั้นพื้นฐานสำหรับตระกูลแซกโซโฟนเปิด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 19 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเพื่อใช้สอบถามผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาและการออกแบบบทเรียนดนตรีออนไลน์    2) บทเรียนดนตรีออนไลน์แบบเปิด 3) แบบประเมินทักษะการบรรเลงแซกโซโฟน 4) แบบประเมินความ   พึงพอใจของผู้ใช้งานบทเรียนดนตรีออนไลน์แบบเปิด สถิติที่ใช้ในการ วิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาพรวมของบทเรียนดนตรีออนไลน์ตระกูลแซกโซโฟน มีคุณภาพอยู่ใน ระดับดี (x̄ = 4.29 , S.D. = 0.52 ) 2) ผลประสิทธิภาพบทเรียนดนตรีออนไลน์แบบภาคสนาม ผู้เรียนกลุ่มตัวอย่าง ได้คะแนนเฉลี่ยกระบวนการ (E1) เท่ากับ 77.89 และคะแนนเฉลี่ยผลลัพธ์ (E2) เท่ากับ 78.22 โดยมีประสิทธิภาพเท่ากับ 77.89/78.22 ซึ่งค่าประสิทธิภาพที่ได้นี้สูงกว่าเกณฑ์ 3) ผู้ใช้งานบทเรียนดนตรีออนไลน์ตระกูลแซกโซโฟนมีความพึงพอใจในการใช้งานบทเรียนดนตรีออนไลน์ ทั้งในภาพรวมทั้งหมด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.08 อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาผู้ใช้งานบทเรียนดนตรีออนไลน์ในแต่ละข้อพบว่า ผู้ใช้งานบทเรียนดนตรีออนไลน์มีความพึงพอใจในระดับมากในด้านการนำไปใช้ประโยชน์ เนื้อหาสาระที่อยู่ในบทเรียนดนตรีออนไลน์สามารถนำไปใช้งานได้จริง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.32

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิตติวิทย์ พิทักษ์, พงษ์พิทยา สัพโส และอิศรา ก้านจักร. (2562). สภาพปัญหาเกี่ยวกับการจัดการเรียน

การสอนดนตรีของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 11(1), 225–237.

ทิศนา แขมมณี. (2552). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.

(พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2541). จิตวิทยาการสอนดนตรี. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.

ณภัทร อิศรางกูร ณ อยุธยา, และอภิชา แดงจํารูญ. (2565). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วย

บทเรียนออนไลน์ (e-Learning)ในรายวิชาศิลปะ 1 (ดนตรี–นาฏศิลป์) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 โรงเรียนชลประทานวิทยา อําเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 8(10), 145-157.

บัณฑิตา อินสมบัติ, และคณะ. (2564). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ตามทฤษฎีโครงสร้างความรู้เรื่องการกำหนดปัญหาการวิจัย สำหรับนักศึกษาบัณฑิตศึกษา. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 16(3), 101–114.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560–2579. กรุงเทพฯ:

พริกหวานกราฟฟิค.

สุกรี เจริญสุข. (2557). คู่มือครูดนตรี : ปลูกดอกไม้ในดวงใจกรุงเทพฯ กรุงเทพฯ: วิทยาลัยดุริยางคศิลป์

มหาวิทยาลัยมหิดล.

สุธาสินี ถีระพันธ์. (2566). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนรายวิชาปฏิบัติทักษะดนตรีออนไลน์สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. Journal of Humanities and Social Sciences Nakhon Phanom University, 13(1), 173-188.

สุธาสินี ถีระพันธ์ และคณะ. (2566). ความพึงพอใจและความคิดเห็นของนิสิตต่อการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาปฏิบัติทักษะดนตรีภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19. วารสารมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 42(1), 138-149.

สุชาติ อยู่แท้กูล. (2564, 16 มีนาคม). ครูดนตรี โรงเรียนสตึก. สัมภาษณ์

ศยามน อินสะอาด. (2561). การออกแบบบทเรียน e-learning เพื่อพัฒนาทักษะการคิดชั้นสูง.

กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

อรรถพล อาจยิน. (2564, 16 มีนาคม). ครูดนตรี โรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม. สัมภาษณ์

Best, John W. (1986). Research in Education. (5th ed). New Jersey: Prentice Hall, Inc.