พัฒนาการของตำนาน “ก่องข้าวน้อยฆ่าแม่” ในภาพยนตร์จากสัจนิยมสู่หลังสมัยใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาพัฒนาการของตำนาน “ก่องข้าวน้อยฆ่าแม่” ในภาพยนตร์จากสัจนิยมสู่หลังสมัยใหม่ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพัฒนาภาพยนตร์จากตำนานอีสานเรื่องก่องข้าวน้อยฆ่าแม่ และ 2) เพื่อวิเคราะห์เนื้อหาภาพยนตร์จากตำนานอีสานเรื่องก่องข้าวน้อยฆ่าแม่จากสัจนิยมสู่ความเป็นหลังสมัยใหม่ โดยใช้กรณีศึกษาเป็นภาพยนตร์ที่ดัดแปลงจากตำนานก่องข้าวน้อยฆ่าแม่ 2 เรื่อง ได้แก่ “ก่องข้าวน้อยฆ่าแม่” ในปี พ.ศ. 2523 และเรื่อง “คนไฟบิน” ในปี พ.ศ. 2549 รวมถึงใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้กำกับและเขียนบทภาพยนตร์ดัดแปลงที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับ ได้แก่ 1) วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง และ 2) เฉลิม วงศ์พิมพ์ แล้วจึงนำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยทฤษฎีหลังสมัยใหม่ ผลการวิจัยพบว่า 1) ตัวละครหลักชื่อทองได้มีการเปลี่ยนแปลงจากคนที่มีสำนึกดีแต่พลั้งทำผิดพลาดจึงได้รับโทษตามกฎหมายไปเป็นคนที่ขาดจิตสำนึกและใช้กำลังแก้ไขปัญหา ซึ่งในท้ายที่สุดก็ต้องพ่ายแพ้ต่อฝ่ายธรรมะ ในด้านฉากของภาพยนตร์มีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย โดยยังคงความเป็นชนบทภูมิภาคอีสานที่แห้งแล้งกันดาร แต่ถูกปรับเพิ่มเติมให้มีสิ่งปลูกสร้างโบราณที่หาชมยาก รวมถึงมีอาคารที่มีความทันสมัยแสดงถึงความเจริญที่เริ่มแผ่อิทธิพลเข้ามา ในการดำเนินเรื่องมีการเปลี่ยนจากโศกนาฏกรรมแบบสัจนิยมมาสู่การต่อสู้ระหว่างกลุ่มอำนาจทุนใหม่กับกลุ่มชาวอีสานท้องถิ่นที่ต้องปะทะกันในรูปแบบแอคชั่นแฟนตาซี 2) การวิเคราะห์เนื้อหาสู่ความเป็นหลังสมัยใหม่ต่อไปคือ ให้ทองเป็นคนเป็นโรคซึมเศร้า มีการแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่มีตราโฆษณาสินค้าเพื่อสะท้อนถึงนโยบายประชานิยมในปัจจุบัน และควรปรับให้ฉากมีความร่วมสมัยเพื่อการสื่อสารกับกลุ่มผู้ชมรุ่นใหม่ ในการดำเนินเรื่องควรให้คนดูเห็นถึงเบื้องหลังการถ่ายทำ เพื่อสะท้อนให้เห็นว่าทั้งหมดเป็นเพียงเรื่องเล่าที่มีการแก้ไขบทเพื่อความบันเทิงอยู่เสมอ
Article Details
References
กระทรวงวัฒนธรรม. (2560). ยุทธศาสตร์การส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์และวีดิทัศน์ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: กรุงเทพฯ.
______________. (2559). ภาพยนตร์ไทย. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์.
จันทนี เจริญศรี. (2545). โพสต์โมเดิร์น กับ สังคมวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิภาษา.
เฉลิม วงศ์พิมพ์. (2562). สัมภาษณ์. วันที่ 21 พฤษภาคม 2562.
ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2560). บทแนะนำสกุลความคิดหลังโครงสร้างนิยม (Imtroducing Poststruc
turalism). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สมมติ.
ไชยันต์ ไชยพร. (2553) ชะตากรรมโพสต์โมเดิร์นในอุ้งมือนักปรัชญาการเมืองโบราณ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โอเพ่นบุ๊กส์.
___________. (2552). คนกับโพสต์โมเดิร์น: บทจำนรรจ์ว่าด้วยมนุษย์ที่ไม่สามารถจัดประเภทได้ (เล่ม1).
กรุงเทพฯ: โอเพ่นบุ๊กส์.
ธิดา ผลิตผลการพิมพ์. (2545). เผ่าพันธุ์แห่ง AVANT-GARDE CINEMA. นิตยสาร SUMMER, (24), 26-33.
ธนชาติ ศิริภัทราชัย, (2558). ONCE UBON A TIME อุบลเป็นเมืองชิคๆ. กรุงเทพฯ: แซลมอน.
รสลิน กาสต์, (2558). แอ็พโพรพริเอชั่น อาร์ต: ศิลปะแห่งการหยิบยืม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง. (2562). สัมภาษณ์. วันที่ 27 กรกฎาคม 2562
สมบูรณ์ สารทลาลัย. (2539). ก่องข้าวน้อยฆ่าแม่ : ภูมิปัญญาสูงสุดด้านจริยธรรมของชาวอีสาน. วารสาร
มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. 2(1), 5-7.
สรณัฐ ไตลังคะ. (2560). ศาสตร์และศิลป์แห่งการเล่าเรื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานทาง
วิชาการคณะมนุษศาตร์ มหาวทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สรรเสริญ สันติธญะวงศ์. (2560). ศิลปะในศตวรรษที่ 20 (20th Century Art) พัฒนาการและจุดเปลี่ยนจาก
ศิลปะสมัยใหม่ถึงหลังสมัยใหม่. นครปฐม: โครงการตำราและหนังสือคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ศิลปากร.
สุภางค์ จันทวานิช. (2559). ทฤษฎีสังคมวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อุณาโลม จันทร์รุ่งมณีกุล. (2561). 120 ปีธุรกิจภาพยนตร์ไทย ในมิติประวัติศาสตร์เศรษฐกิจและสังคมไทย.
กรุงเทพฯ: ศักดิ์โสภาการพิมพ์.
อร่าม สมสวย. (2548). ชีวิตและผลงานของนายพงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา : ครูเพลงลูกทุ่งไทย. อุบลราชธานี:
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
อัญชลี ชัยวรพร. (2559). ภาพยนตร์ในชีวิตไทย มุมมองของภาพยนตร์ศึกษา. [ม.ป.ท.]: วราพร.
McKee, R. (1997). Story: Substance, structure, style, and the principles of screenwriting.
New York: Harper Collins.