หมอลำในฮูปแต้มสิมอีสาน มหรสพการแสดงพื้นบ้านคนอีสานที่ขาดไม่ได้

Main Article Content

บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย
ยศยาดา สิทธิวงษ์

บทคัดย่อ

บทความเรื่องหมอลำในฮูปแต้มสิมอีสาน มหรสพการแสดงพื้นบ้านคนอีสานที่ขาดไม่ได้ ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ แบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแปลความ การตีความ ใช้เทคนิคตรวจสอบแบบสามเส้า และนำเสนอข้อมูลโดยการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษา พบว่า ฮูปแต้มหมอลำที่ปรากฏในสิมทั้ง 5 หลัง ทำให้ทราบถึงความสำคัญของหมอลำ ได้แก่ 1) หมอลำให้ความบันเทิงและสร้างความสามัคคีปองดองกับคนในชุมชน ดังปรากฏภาพการลำและเซิ้งประกอบขบวนแห่ สิมวัดสระบัวแก้ว สิมวัดโพธาราม และสิมวัดป่าเลไลย์ 2) หมอลำช่วยกลั่นกรองการเลือกคู่ของหนุ่มสาว ดังปรากฏภาพการลำและจ่ายผญา สิมวัดสนวนวารี และ3) หมอลำให้การศึกษาแก่คนในชุมชนและช่วยให้หนุ่มสาวได้ทำความรู้จักกัน ดังปรากฏภาพการแสดงหมอลำผญาและหมอลำกลอน สิมวัดประตูชัย หมอลำนับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งจนกระทั่งช่างแต้มได้นำการแสดงหมอลำแต้มแทรกในบริเวณพื้นที่ว่างของสิมด้วย จนปรากฏเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์สืบมาจนถึงปัจจุบัน

Article Details

บท
บทความวิชาการ
Author Biographies

บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย , นักศึกษาปริญญาเอก สาขาวัฒนธรรม ศิลปกรรมและการออกแบบ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

นักศึกษาปริญญาเอก สาขาวัฒนธรรม ศิลปกรรมและการออกแบบ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ยศยาดา สิทธิวงษ์ , บรรณารักษ์ ชำนาญการพิเศษ สำนักห้องสมุด มหาวิทยาลัย ขอนแก่น

บรรณารักษ์ ชำนาญการพิเศษ สำนักห้องสมุด มหาวิทยาลัย ขอนแก่น

References

กัลญาณี กิจโชติประเสริฐ. (2545). ฮูปแต้มสิมวันสนวนวารีพัฒนาราม, นิตยสารศิลปากร

(ก.ย. – ต.ค. 2545).

ขนิษฐา ขันคำ. (2560). โฮมภูมิ ครั้งที่ 3 ภูมิปัญญาสู่อนาคต. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 15-16 มิถุนายน 2560.

จตุพร ศิริสัมพันธ์. (2552). เพลงพื้นบ้าน. กรุงเทพฯ: สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนไทย เล่มที่ 34

โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว.

ณัฐสุดา ภาระพันธ์. (2552). การปรับตัวของเพลงหมอลำพื้นบ้านอีสานสู่เพลงลูกทุ่งหมอลำในปัจจุบัน:

กรณีศึกษา 10 บทเพลง. จุลสารลายไทยฉบับพิเศษวันภาษาไทยแห่งชาติ. 29 กรกฎาคม 2552.

เทพพร มังธานี. (2545). เปิดผ้าม่านกั้ง: เปิดจิตวิญญาณอีสานสู่จิตวิญญาณสากล. ขอนแก่น:

พระธรรมขันต์.

บุญยงค์ เกศเทศ. (2560). ฮูปแต้มบนผนังสิม วัดสระบัวแก้ว อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น.

สืบค้นจาก. https://www.technologychaoban.com/thai-local-wisdom/article_23590 สืบค้นเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2561.

บุญเสริม แก่นประกอบ. (ม.ป.ป.). สื่อการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย เรื่อง เพลงพื้นบ้าน.

เอกสารประกอบการสอน.โรงเรียนบ้านชงโค

บุรินทร์ เปล่งดีสกุล. (2554). พัฒนาการของจิตรกรรมฝาผนังอีสาน กรณีศึกษาจังหวัดขอนแก่น

จังหวัดมหาสารคามและจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารคณะศิลปกรรมศาสตร์. 3(1), 84-113.

ประตูสู่อีสาน. (2561). กลอนเต้ยหรือผญา. สืบค้นจาก. https://www.isangate.com/new/klonlum

/224-klon-tery-paya.html. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2561.

พรเพ็ญ บุญญาทิพย์. (2556). กระบวนการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์จิตกรรมฝาผนัง วัดโพธาราม

และวัดป่าเรไรย์ จังหวัดมหาสารคาม. กรุงเทพฯ: ดำรงวิชาการ.

พระมหาโสภรรณ ธนปญฺโญ (เศรษฐา). (2553). การสังเคราะห์ผญาสุภาษิตอีสานลงในพุทธศาสนสุภาษิต.

วิทยานิพนธ์. ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต.สาขาวิชาพระพุทธศาสนา:

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พิทักษ์ น้อยวังคลัง. (2549). ค่านิยมไตรภูมิในจิตกรรมฝาผนังโบสถ์อีสาน. วารสารสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. 38(2), 283-300.

ไพโรจน์ สโมสร และคณะ. (2532). จิตรกรรมฝาผนังอีสาน. กรุงเทพฯ: อมรินทร์ พริ้นติ้ง กรุ๊ป.

ภัทรวุธ บุญประเสริฐ. (2552). การใช้สื่อพื้นบ้านในการสื่อสารทางการเมือง ศึกษากรณีหมอลำ

นายภัทรวุธ บุญประเสริฐ. เอกสารวิชาการ หลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับกลาง (บสก.)

รุ่นที่ 1 สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย.

ราชบัณฑิตยสถาน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. (2556). พิมพ์ครั้งที่ 2กรุงเทพฯ:

ราชบัณฑิตยสถาน.

วสันต์ ยอดอิ่ม. (2545). สิมพื้นถิ่นในเขตภาคอีสานตอนบน.วิทยานิพนธ์.ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิภารัตน์ ข่วงทิพย์. (2559). หมอลำพื้นฐาน. สืบค้นจาก. https://fineart.msu.ac.th/e-

documents/myfile/หมอลำ.pdf. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2561.

ศุภชัย สิงห์ยะบุศย์ และคณะ. (2559). สารานุกรมศิลปวัฒนธรรมอีสาน “จิตรกรรมฝาผนังพุทธอุโบสถ

แบบดั้งเดิมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” มหาสารคาม. มหาสารคาม: [ม.ป.ท.].

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวง (2552) แนวคิดและทฤษฎีทางสังคม.

สืบค้นจาก. http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail. php?

NewsID=9510&Key=news_researchสืบค้นเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2561.

สนอง คลังพระศรี. (2541). หมอลำซิ่ง : กระบวนการปรับเปลี่ยนทางวัฒนธรรมดนตรีของหมอลำ

ในภาคอีสาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (วัฒนธรรมศึกษา). กรุงเทพฯ:

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

สมบัติ ประจญศาสต์. (2559). ภูมิปัญญาการกำหนดพื้นที่ภายในสิมอีสาน. บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

สายไหม จบกลศึก. (2541). การละเล่นพื้นเมือง. กรุงเทพฯ. สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนไทย เล่มที่ 23

โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว.

สาโรช พระวงศ์. (2551). การศึกษาความหมายของแสงในสิมอีสาน. วิทยานิพนธ์.

ปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาสถาปัตยกรรม บัณฑิตวิทยา: มหาวิทยาลัยศิลปากร

สุนทร แพงพุทธ และประมวล พิมพ์เสน. (2556). กลอนลำประยุกต์. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.

สุวิทย์ รัตนปัญญา. (2553). หมอลำกลอน: บริบท คุณค่า แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงและการดำรงอยู่

ในประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วิทยานิพนธ์

ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค. เลย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

อร่ามจิต ชินช่วง. (2531). กาพย์เซิ้งบั้งไฟ : กรณีศึกษาเฉพาะอำเภอเมือง จังหวัดยโสธร.

ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทวิโรฒ.

อุดม บัวศรี. (2546). วัฒนธรรมอีสาน. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.

เอื้อมเดือน ถิ่นปัญจา. (2548). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะเรื่องหมอลำกลอน

สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนม่วงหวานพัฒนาศึกษาจังหวัดขอนแก่น.

วิทยานิพนธ์. ปริญญาศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น