การออกแบบผลิตภัณฑ์แฟชั่นร่วมสมัยจากเส้นใยต้นสาร

Main Article Content

เจนณรงค์ แผ่นทอง
อโณทัย สิงห์คำ

บทคัดย่อ

การออกแบบผลิตภัณฑ์แฟชั่นร่วมสมัยจากเส้นใยต้นสาร มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาแนวทางในปรับปรุงคุณภาพเส้นใยในผลิตสิ่งทอจากเส้นใยสาร มาใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์แฟชั่น 2) เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์แฟชั่นจากเส้นใยสาร ที่สามารถสร้างมูลค่าให้กับวัสดุและเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภคผลิตภัณฑ์ 3) เพื่อสอบถามความคิดเห็นของกลุ่มผู้ใช้ผลิตภัณฑ์แฟชั่นที่พัฒนาและออกแบบใหม่มาจากเส้นใยสาร เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิด้านนวัตกรรมเส้นใย ด้านวัสดุ และ ด้านออกแบบสิ่งทอ และแบบประเมินความพึงพอใจกลุ่มผู้บริโภค คือ ผู้ที่สนใจผลิตภัณฑ์สินค้า ภูมิปัญญาพื้นฐานและงานหัตถกรรมที่มาเลือกซื้อหรือชมสินค้าในงานศิลปาชีพประทีปไทยโอทอป ณ อาคารชาเลนเจอร์ที่1-3 อิมแพคเมืองทองธานี จำนวน 100  คน  ผลการวิจัย พบว่า จากการศึกษาคุณสมบัติของต้นสารที่นำมาทดลองและนำเส้นใยมาผสมกับฝ้ายนำมาทอบนกี่พื้นบ้านที่คุณสมบัติของผ้าเส้นใยสาร มีการซับน้ำและกันรังสี UV ได้ดี จากการทดสอบพบว่า 1) ผ้าทอที่มีเส้นใยหยาบเหมาะสำหรับการแปรรูปเป็นกระเป๋าและรองเท้าโดยใช้การทอแบบสี่ตะกอเพื่อช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้ผืนผ้า 2) เส้นใยแบบเนื้อละเอียดทอแบบสองตะกอจะเหมาะกับการนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่สัมผัสกับผิวหนังโดยตรงแล้วไม่ทำให้เกิดความระคายเคือง เช่น เสื้อผ้าและกางเกง ระดับความพึงพอใจทุกด้าน อยู่ที่ระดับมาก(x̄=3.84,S.D.=0.78) โดยความพึงพอใจเกี่ยวกับการออกแบบเสื้อผ้า อยู่ในระดับที่มาก(x̄=3.79,S.D.=0.79) ความพึงพอใจเกี่ยวกับการออกแบบกระเป๋า อยู่ในระดับที่มาก (x̄=3.84,S.D.=0.78) และความพึงพอใจเกี่ยวกับการออกแบบรองเท้าอยู่ในระดับที่มาก (x̄=3.90,S.D.=0.83)

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

เจนณรงค์ แผ่นทอง, สาขาออกแบบผลิตภัณฑ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

สาขาออกแบบผลิตภัณฑ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

อโณทัย สิงห์คำ, สาขาออกแบบผลิตภัณฑ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

สาขาออกแบบผลิตภัณฑ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

References

กมลกานต์ โกศลกาญจน์. (2556). เทรนด์การออกแบบนวัตกรรม และไลฟ์สไตล์แห่งปี 2017

สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2561, จาก www.themomentum.com.

ดัสนีย์ สิงหวรเศรษฐ์. (2553). พื้นฐานการออกแบบสิ่งทอและแฟชั่น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอ.

รุ่งทิพย์ ลุยเลา. (2560). เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเส้นใ ธรรมชาติจากพืชเล่ม ที่ 4

ผ้าไม่ทอจากใยธรรมชาติ. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ.

สมประสงค์ ภาษาประเทศ. (2560). เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเส้นใยธรรมชาติจาก

พืชเล่มที่ 3 การปั่นด้ายใยสั้นชนิดยาวจากพืช. กรุงเทพฯ: [ม.ป.ท.].

อโณทัย สิงห์คำ. (2558). การออกแบบและพัฒนาเส้นใยฝ้ายผสมตะไคร้สู่แฟชั่นร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Moore, H. E., Jr. (1963). An annotated checklist of cultivated palms. Principes 7.