การออกแบบผลิตภัณฑ์ชุดโคมไฟสำหรับบ้านพักอาศัยจากเศษผ้าเหลือใช้ ในอุตสาหกรรมผ้าไทย บ้านเจริญสุข จังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

อภัสนันท์ ใจเอี่ยม
รจนา จันทราสา

บทคัดย่อ

การออกแบบผลิตภัณฑ์ชุดโคมไฟสำหรับบ้านพักอาศัยจากเศษผ้าเหลือใช้ในอุตสาหกรรมผ้าไทย บ้านเจริญสุข จังหวัดบุรีรัมย์  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุดโคมไฟจากเศษผ้าเหลือใช้ในอุตสาหกรรมผ้าไทย ให้เกิดรูปแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ มีความสวยงาม ที่ใช้งานได้จริง และเพื่อสามารถนำไปเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบได้จริง อีกทั้งยังเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศษผ้าและเป็นการสร้างฐานข้อมูลให้กับชุมชน วิธีการดำเนินงานวิจัยในโครงการได้ทำการศึกษาข้อมูลจากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และศึกษาจากสื่อต่างๆ ทั้งในรูปแบบปฐมภูมิ และทุติยภูมิ และข้อมูลต่าง ๆ มาวิเคราะห์เปรียบเทียบทำการสังเคราะห์เพื่อนำข้อมูลเข้าสู้กระบวนการออกแบบ ผลการออกแบบผลิตภัณฑ์ชุดโคมไฟจากเศษผ้าให้มีเอกลักษณ์ของท้องถิ่นอีสาน มีรูปร่างลักษณะ เป็นรูปทรงของแคน โดยมีลักษณะเต้าแคนยึดควบคุมระยะห่างช่องแสงสว่างในแนวกลาง โทนสีน้ำตาลแดง  วัสดุทำจากเศษผ้าไทย โครงสร้างจากเหล็กเส้น

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

อภัสนันท์ ใจเอี่ยม, สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม,มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม,มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

รจนา จันทราสา, สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม,มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม,มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

References

วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. (2546). พจนานุกรม หัตถกรรมเครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้าน. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.

____________. (2546). ศิลปะชาวบ้าน Folk Art. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์.

Bonollo, E and Lewis, W P. (1996). The Industrial Design Profession and Models of the Design Process. Design & Education, (Australia : DECA (Design and Education Council)), 6(2).

Walker, S. 2006. "Object lessons: Enduring artefacts and sustainable solutions." Design Issues. 22(1), 20-31.