ดนตรีกับวิถีชีวิตของคนอีสานบอกผ่านฮูปแต้มในสิมอีสาน

Main Article Content

ทวิทย์ สิทธิ์ทองสี

บทคัดย่อ

ดนตรีกับวิถีชีวิตของคนอีสานบอกผ่านฮูปแต้มในสิมอีสาน  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสำคัญของดนตรีกับวิถีชีวิตของคนอีสานบอกผ่านฮูปแต้มในสิมอีสาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ได้แก่ แบบสังเกต  แบบสัมภาษณ์ มีการเก็บรวบรวมข้อมูลเอกสารและข้อมูลภาคสนาม  โดยได้จากการสังเกต  และการสัมภาษณ์ จากกลุ่มผู้รู้ จำนวน 4 ท่าน นำข้อมูลที่ได้มาตรวจสอบความถูกต้องแบบสามเส้าวิเคราะห์ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ และนำเสนอบทความด้วยวิธีพรรนาวิเคราะห์  จากการพบว่า  ฮูปแต้มมีหน้าที่บันทึกลักษณะต่าง ๆ รวมถึงการแต่งกายทั้งคนพื้นเมืองและคนต่างชาติ  วิถีชีวิตการในการทำมาหากิน  การทำไร่ทำนา  เรื่องราวของคนในชุมชน  ร่วมทั้งเรื่องราวทางความเชื่ออันเกี่ยวเนื่องกับพุทธศาสนา และได้บอกเล่าถึงบุญประเพณีทางด้านศิลปะและวัฒนธรรม  วิถีชีวิตผู้คนในท้องถิ่นนั้นได้อย่างสนุกสนาน เช่น ประเพณีสู่ขวัญ  ประเพณีลงข่วง  การละเล่นหมอลำหมอแคน ซึ่งทั้งหมดนี้ถูกถ่ายทอดลงบนฮูปแต้มที่มีเอกลักษณ์เฉพาะทั้งในเรื่องสีสัน  เส้นสายลายสื่อที่อยู่บนพื้นฐานความเสมือนจริงอันเป็นคุณลักษณะเฉพาะที่ปรากฏอยู่บนฮูปแต้ม วิถีชีวิตของคนอีสาน ที่ปรากฏบนฮูปแต้มนั้นมักจะมีบทบาทของดนตรีเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเสมอ  ในเรื่องราวเหล่านี้สามารถสะท้อนถึงลักษณะของดนตรีในงานประเพณี โดยเฉพาะงานบวชนาค  งานทอดกฐิน งานขึ้นบ้านใหม่  งานขึ้นปีใหม่ งานบุญบั้งไฟ  งานสงกรานต์  หรือแม้กระทั้งใช้ดนตรีเพื่อเป็นการบูชาผีเพื่อใช้ในการบำบัดโรค เป็นต้น  ทั้งหมดนี้ทำให้เข้าใจได้ว่า  ถ้าเมื่อไหร่ที่เรามองดูฮูปแต้มเหล่านั้นเราจะสามารถย้อนอดีตให้เห็นถึงเรื่องราว และการบรรเลงดนตรีในวิถีชีวิตของคนยุคสมัยนั้นได้ 

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ติ๊ก แสนบุญ. (2555). ศิลปวัฒนธรรม. ปีที่33 ฉบับที่12. นนทบุรี: มติชนปากเกร็ด.

เทพพร มังธานี. (2554). ฮูปแต้มในสิมอีสาน: ภาพสะท้อนความหลากหลายของลัทธิความเชื่อ. วารสารศิลปกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

บุรินทร์ เปล่งดีสกุล. (2554). พัฒนาการของฮปแต้มอีสาน กรณีศึกษาจังหวัดขอนแก่น จังหวัดมหาสารคามและจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารศิลปกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ประสาท อิศรปรีดา. (2518). ความเชื่อและสิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจของชาวอีสาน. กาฬสินธุ์: จินตภัณฑ์การพิมพ์.

วิโรฒ ศรีสุโร. (2541). วารสารวิจัย. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ไพโรจน์ สโมสร. (2532). จิตรกรรมฝาผนังอีสาน. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง กรุ๊พ จำกัด.

สุรพงษ์ ลือทองจักร. (2552). หลักมานุษยวิทยาและหลักสังคมวิทยา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี.

สง่า พัฒนชีวะพูล. (2538). เจ้าพ่อพญาแล : ความเชื่อและพิธีกรรม. ปริญญานิพนธ์ปริญญาศิลปะศาสตร์ มหาบัณฑิต วิชาเอกไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำเร็จ คำโมงและคณะ. (ม.ป.ป). ดนตรี ม 6. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.

ศรีศักร วัลลิโภดม (2533) .แอ่งอารยธรรมอีสาน. กรุงเทพฯ: พิฆเณศ พริ้นติ้ง เซ็นเตอร์ จำกัด.

อุดม บัวศรี. (2547). ฮูปแต้มสินไซ. ขอนแก่น : สำนักพิมพ์คลังนานาวิทยา.