จิตรกรรมสะท้อนความประทับใจจากการสะพรั่งบานของต้นเฟื่องฟ้า

Main Article Content

ประชาธิป มากมูล

บทคัดย่อ

จิตรกรรมสะท้อนความประทับใจจากการสะพรั่งบานของต้นเฟื่องฟ้า มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาและความสำคัญของต้นและดอกเฟื่องฟ้า และเพื่อสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมสะท้อนความประทับใจจากการสะพรั่งบานของต้นเฟื่องฟ้า โดยรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร สิ่งพิมพ์ สื่อออนไลน์ ข้อมูลจากภาคสนาม การสำรวจ การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม การสัมภาษณ์ การจดบันทึก การถ่ายภาพ วิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูล กำหนดพื้นที่ของการสร้างสรรค์ คือ อำเภอเมืองจังหวัดบุรีรัมย์ ผลการศึกษาพบว่า ต้นเฟื่องฟ้าเป็นต้นไม้ที่คนไทยนิยมปลูกมาก เพราะเป็นต้นไม้ที่ปลูกง่าย มีสายพันธุ์มากมาย และให้ดอกหลากหลายสี คนไทยโบราณเชื่อว่าเป็นไม้มงคล อันแสดงถึงความเบิกบาน สว่างไสว ความรุ่งเรืองของชีวิต ออกดอกมากที่สุดในฤดูแล้ง ผู้วิจัยนำข้อมูลดังกล่าวมาสร้างสรรค์เป็นผลงานจิตรกรรม สื่อถึงความประทับใจจากความงามของต้นเฟื่องฟ้าที่ออกดอกสะพรั่งในตัวเมืองจังหวัดบุรีรัมย์ ผ่านการผสมอารมณ์ความรู้สึกของผู้สร้างสรรค์ ตามแนวคิดของลัทธิอิมเพรสชั่นนิส (Impressionist) ด้วยเทคนิคสีน้ำมันบนผ้าใบ ใช้หลักการจัดองค์ประกอบศิลป์แบบอสมมาตร ใช้สีที่มีความกลมกลืนตามทฤษฎีสี เป็นผลงานทั้งหมด 4 ชิ้น คือ ผลงานมีความงามและมีคุณค่าทางศิลปะตามหลักสุนทรียภาพ มีเนื้อหาและเรื่องราวที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชาวบุรีรัมย์ ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้สร้างสรรค์และผู้ที่ได้รับชมผลงานครั้งนี้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

___________ . (2534). เทคโนโลยีการผลิตไม้ดอกไม้ประดับ. กรุงเทพฯ: สมาคมไม้ประดับ

โกสุม สายใจ. (2540). สีและการใช้สี. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิซซิ่ง.

ใจภักดิ์ อ่อนงาม. (2544). จิตรกรรมสีน้ำมัน : กรณีศึกษากลวิธีการใช้สีในงานจิตรกรรมของโคล์ด โมเนท์ในเขตกรุงเทพมหานครในช่วงระหว่าง ค.ศ.1890-1926. ปริญญาศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต วิชาเอกทัศนศิลป์ (ศิลปะสมัยใหม่) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

กำจร สุนพงษ์ศรี. (2554). ศิลปะสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฉลอง สุนทรนนท์. (2558). สุนทรียศาสตร์และทัศนศิลป์. กรุงเทพฯ: วาดศิลป์.

ชมรมพัฒนาไม้ดอกไม้ประดับ. (2539). ไม้ประดับมงคล. กรุงเทพฯ: เจเนอรัลบุ๊คส์.

ณรงค์ โฉมเฉลา. (2533). เฟื่องฟ้า. กรุงเทพฯ: สมาคมไม้ประดับแห่งประเทศไทย.

ธรรมเกียรติ กันอริ. (2540). วรรณพฤกษ์พรรณนา ไม้ในวรรณคดีและพระพุทธศาสนา ไม้มงคล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ธารวิมล.

ธัญญะ เตชะศีลพิทักษ์. (2538). ไม้ดอกแสนสวย ไม้ดอกไม้ประดับ. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง.

นวรัตน์ เกษมสานต์. (2549). ความเชื่อเรื่องพันธุ์ไม้มงคลและอวมงคลในสังคมไทย : กรณีศึกษาตลาดต้นไม้ในเขตกรุงเทพมหานคร. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ไทยคดีศึกษา) มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วรพรรณ ภูวิจารย์. (2544). จิตรกรรมสีน้ำมันภาพทิวทัศน์ : กรณีศึกษาจิตรกรรมสีน้ำมันภาพทิวทัศน์ของประกิต (จิตร) บัวบุศย์. ปริญญาศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต วิชาเอกทัศนศิลป์ (ศิลปะสมัยใหม่)มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วันโชค. (2555). พันธุ์ไม้ดอกมงคลยอดนิยม. กรุงเทพฯ: เพื่อนอักษร.

วิจิตร สุขสวัสดิ์. [ม.ป.ป.]. เฟื่องฟ้า, กรุงเทพฯ: ชมรมดอกไม้สวนจตุจักร.

ศศิวิมล สันติราษฎร์ภักดี. (2546). ทฤษฎีของการสร้างสรรค์งานจิตรกรรม. วารสารหอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีที่ 2 ฉบับที่ 5.

อารี สุทธิพันธุ์. (2535). ศิลปนิยม. กรุงเทพฯ: โอ. เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

อารี สุทธิพันธุ์. (2539). แบบฝึกหัดปฏิบัติการระบายสีน้ำ. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.