การออกแบบสมุดยาสำหรับผู้ป่วยสูงอายุในกลุ่มโรคเรื้อรังไม่ติดต่อ

Main Article Content

กวิตา ศรีสุนาถ
กาญจนา ศรีรินทร์
วิภาวดี พรมพุทธา
สราวุฒิ พงศ์ณัฐกรณ์
ผศ.ดร.ธนสิทธิ์ จันทะรี
ผศ.ดร.วาริน บุญญาพุทธิพงศ์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1)เพื่อศึกษา ตัวยา พฤติกรรมการกินยา และปัญหาด้านการกินยาของกลุ่มโรคเรื้อรังไม่ติดต่อในผู้ป่วยสูงอายุ 2) ออกแบบสมุดยา เพื่อช่วยกินยากลุ่มโรคเรื้อรังไม่ติดต่อในผู้ป่วยสูงอายุ 3)เพื่อประเมินความพึงพอใจต่อการใช้งานสมุดช่วยกินยากลุ่มโรคเรื้อรังไม่ติดต่อในผู้ป่วยสูงอายุ ผลงานออกแบบสมุดยากลุ่มโรคเรื้อรังไม่ติดต่อในผู้ป่วยสูงอายุ วิธีวิจัย เก็บรวบรวมข้อมูลพฤติกรรมการการรับประทานยาของผู้ป่วยโรคเรื้อรังไม่ติดต่อในผู้สูงอายุ โดยการสัมภาษณ์ พยาบาล เภสัชกร และผู้ป่วย เครื่องมือวิจัยที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูล และกำหนดแนวคิดในการออกแบบ ออกแบบแบบร่าง แบบพัฒนา และโมเดล ทดลองวัสดุเหลือทิ้งจากเยื่อ กระดาษและเยื่อไผ่ เพื่อนำมาทำต้นแบบสมุดยา ทดลองการใช้งาน  และประเมินผลต้นแบบ  ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการกินยาของผู้ป่วยโรคเรื้อรังไม่ติดต่อในผู้สูงอายุคือ การหลงลืมการกินยาอยู่เป็นประจำ แนวทางการออกแบบสมุดช่วยกินยา ออกแบบเพื่อเก็บยา พกง่าย ใช้งานง่าย  ในแต่ละหน้าจะช่องใส่ยาที่ทำจากเยื่อกระดาษและเยื่อไผ่  และมีช่องบอกวันโดยใช้การสอดของกระดาษเล็ก ๆ เป็นฟังก์ชั่นที่บอกการกินยาในแต่ละวันในหนึ่งอาทิตย์ ว่าทานยาไปกี่วันแล้ว  ในช่องจะมีสีตามวันบอก โดยบอกวันจันทร์-อาทิตย์  ส่วนช่องด้านล่างที่ช่องสอดใส่ข้อมูลของยา จะเป็นช่องใสๆ มีการบอกชื่อยา บอกข้อมูลยา บอกเวลากิน บอกช่วงเวลากิน เพื่อกันพลาดในการหลงตัวยา ส่วนแผ่นกระดาษที่สอดใส่เป็นแผ่นที่จะมีไว้เพื่อให้กรอกข้อมูล ควรให้ผู้ใกล้ชิดผู้ป่วยหรือญาติเป็นคนจดข้อมูลให้ และการใช้วัสดุเหลือทิ้งเป็นการออกแบบตามแนวทางการออกแบบที่ีเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผลการประเมินต้นแบบอยู่ในระดับค่อนข้างพอใจ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2550). คู่มือการออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม = Eco design

Packaging. สำนักจัดการกากของเสียและสารอันตราย กรมควบคุมมลพิษ . กรุงเทพฯ:

กระทรวงทรัพยากรสิ่งแวดล้อม.

กระทรวงสาธารณะสุข. (2561). สธ.ห่วงคนไทยเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ชั่วโมงละ 37

คน เร่งวางแนวทางป้องกัน. สืบค้นเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2564. จาก

https://www.khaosod.co.th/monitor-new/news_1421769.

ธีระ วรธนารัตน์. (2561). รู้เท่าทัน-ปรับพฤติกรรม-เสริมสร้างสุขภาวะ ป้องกันกลุ่มโรคไม่

ติดต่อ NCDs. สืบค้นเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2564. จาก

http://www.thairath.co.th/content/1374821.

เลิศวัลลภ ศรีษะพลภูสิทธิ และ ธมนพัชร์ ศรีษะพลภูสิทธิ, 2561.การปรับตัวเพื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ

ในประเทศไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. 2561 : 20(1) : 253-265.

มยุรี ภาคลำเจียก. (2558). บรรจุภัณฑ์สินค้าอุปโภคบริโภค. กรุงเทพฯ: สมาคมการบรรจุภัณฑ์

ไทย.