การศึกษาความเชื่อเรื่องผีไทยเพื่อการออกแบบกราฟิกสไตล์ป๊อปอาร์ต

Main Article Content

เพชรวรินทร์ เรืองแสน
เอกพันธ์ พิมพาที

บทคัดย่อ

การศึกษามีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาความเชื่อเรื่องผีไทยเพื่อนำมาถอดแบบลวดลายกราฟิกสไตล์ป๊อปอาร์ต 2) เพื่อออกแบบชุดกระเป๋าวัยรุ่นสไตล์ป๊อปอาร์ตแรงบันดาลใจจากความเชื่อเรื่องผีไทย 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อต้นแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน(Mixed Method) วิธีดำเนินการวิจัย โดยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน เพื่อให้ได้ข้อมูลก่อนการออกแบบ และประเมินความพึงพอใจต่อต้นแบบผลิตภัณฑ์จากผู้บริโภคชาวไทยอายุ 15-35 ปี จำนวน 100 คน ผลการศึกษาพบว่า ความเชื่อเรื่องผีอยู่คู่กับคนไทยมาเป็นระยะเวลานาน รูปแบบผีไทยมีทั้งผีที่ให้คุณและผีที่ให้โทษ ภายใต้ความเชื่อจะมีการประกอบพิธีกรรม เซ่นสรวงดวงวิญญาณเพื่อขจัดภัย ปกป้องคุ้มครองภยันตรายต่างๆ หรือบูชากราบไหว้เพื่อแสดงถึงความกตัญญูของลูกหลาน รูปลักษณ์ของผีแต่ละตนจะมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกัน จึงได้เอาความโดดเด่นมาออกแบบเป็นผลิตภัณฑ์กระเป๋าวัยรุ่นสไตล์ป๊อปอาร์ตเพื่อลดความน่ากลัวของผี และสร้างความจดจำแก่ผู้บริโภคได้ คือ ผีกระสือมีลักษณะหัวกับไส้ ผีแม่นาคตามตำนานเป็นผีผู้หญิงยืนอุ้มลูกรอสามีที่ท่าน้ำ มือยาวหยิบมะนาว ผีตานีจะเป็นผีผู้หญิงสวยใส่สไบสีเขียวสิงสถิตอยู่บริเวณต้นกล้วยผูกผ้า 7 สี ผีเปรตมีลักษณะสูงดำ มือเท่าใบลาน ปากเท่ารูเข็ม กุมารทองเป็นผีเด็กใส่โจงกระเบนกับสร้อยสังวาลหัวจุก คนนิยมขอโชคลาภทางการเงิน ค้าขายร่ำรวย จากลักษณะเด่นจึงนำมาถอดแบบลวดลายกราฟิกลงบนกระเป๋าเน้นค่าแม่สี (แดง เหลือง น้ำเงิน) ให้มีสีสันสดใส และรูปทรงกระเป๋าก็ดึงลักษณะของผีมาใช้ในการออกแบบเพื่อสื่อถึงรูปแบบอัตลักษณ์ของผีไทยให้ได้มากที่สุด ผลการประเมินความพึงพอใจ ผู้บริโภคพบว่า ความคิดเห็นต่อการออกแบบกระเป๋าเป้ (ผีกระสือ) มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.85) ความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกแบบกระเป๋าใส่โน๊ตบุ๊ค (ผีเปรต) มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.88) ความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกแบบกระเป๋าสะพายบ่า (ผีแม่นาค) มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.77) ความคิดเห็นที่มีต่อการออกแบบกระเป๋าสะพายข้าง (ผีตานี) มีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.09) ความคิดเห็นที่มีต่อการออกแบบกระเป๋าสตางค์ (ผีกุมารทอง) มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.78)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา ชินนาค. (2551). ความเชื่อของคนไทย. สืบค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2561.

จากwww.anantasook.com

กฤษณ์ วงษ์ชมพู. (2561). การออกแบบของที่ระลึกศูนย์วัฒนธรรมไทยจีน อุดรธานี ได้แรงบันดาลใจจากการแสดงเอ็งกอ. เทคโนโลยีบัณฑิต สาขาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

ติ๊ก แสนบุญ. (2558). ซุ้มประตูโขงอีสานสืบค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2561.จากwww.kmutt.ac.th.

ประจักษ์ ทองมณี. (2561).การออกแบบกราฟิกเพื่อพัฒนาของที่ระลึกอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท. เทคโนโลยีบัณฑิต สาขาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

สุวนันท์ ทนทาน. (2560). การออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก วัดถ้ำเอราวัณ หนองบัวลำภู.เทคโนโลยีบัณฑิต สาขาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

ไอรดา รื่นภิรมย์ใจ. (2561). URFACE. สืบค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2562. จาก https://adaymagazine.com.

Thaiseoboard. (2553). ผลงานของ Roy Fox Lichtenstein. สืบค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2562.

จาก http:// thaiseoboard.