การออกแบบผลิตภัณฑ์กระเป๋าจากเส้นใยไหล

Main Article Content

นิภาพร โคตรกระพี้
อโณทัย สิงห์คำ

บทคัดย่อ

การออกแบบผลิตภัณฑ์กระเป๋าจากเส้นใยไหล มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการนำเส้นใยไหลมาใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์กระเป๋า 2) ออกแบบผลิตภัณฑ์กระเป๋าจากเส้นใยไหล 3) สอบถามความพึงพอใจของกลุ่มผู้บริโภคที่มีผลต่อการนำเส้นใยไหลมาใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์กระเป๋า ผู้ให้ข้อมูลการวิจัย คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ ด้านสิ่งทอ และด้านนวัตกรรมเส้นใย จำนวน 3 ท่าน และกลุ่มผู้บริโภคจำนวน 100 คน โดยใช้เครื่องมือในการเก็บข้อมูล คือแบบสัมภาษณ์ แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ไหลหรือกกราชินีเป็นไม้ล้มลุกหรือเป็นวัชพืชน้ำที่เจริญได้ดีในช่วงฤดูฝน มีลำต้นเหนียวกว่าต้นกกที่นำไปใช้ทอเสื่อเจริญเติบโตขึ้นในฤดูฝนแบบปีต่อปี ขยายพันธุ์โดยการแยกกอ ลำต้นส่วนเป็นปล้องมีความยาว มีเนื้ออ่อนตอนสดลำต้นเขียว มีกากใยภายในลักษณะคล้ายฟองน้ำ ซึ่งเป็นเศษที่เหลือจากการทอเสื่อในชุมชนที่สร้างความน่าสนใจและก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยเน้นองค์ความรู้ทางวิชาการ รวมถึงการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุดตามสมมติฐาน ที่จะนำไหลมาทำสิ่งทอ นอกจากการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นอย่างยั่งยืนแล้ว ยังเป็นการเพิ่มทางเลือกสำหรับคนในชุมชน ทำให้เกิดการต่อยอดสร้างอาชีพ 2) การออกแบบผลิตภัณฑ์กระเป๋าจากเส้นใยไหลซึ่งมีผลิตภัณฑ์ที่ได้ออกแบบทั้งหมด 4 แบบ คือ กระเป๋าหญิง Saddle Bag, Bucket Bag, Belt Bag, Tote Bag โดยนำเอารูปร่างรูปทรงของลักษณะต้นไหลมาตัดทอนเป็นแนวคิดในการออกแบบ และสีโทนน้ำตาล 3) ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์กระเป๋าจากเส้นใยไหล พบว่า ความคิดเห็นต่อการออกแบบผลิตภัณฑ์แฟชั่นจากการศึกษาเส้นใยจากต้นไหลโดยการนำเส้นใยไหลมาผสมฝ้ายและวัสดุที่นำมาใช้ในการตัดเย็บภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.6) เส้นด้ายไหลที่มีความเหมาะสมในการทำผลิตภัณฑ์อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.63) ความพึงพอใจด้านความสวยงามโดยภาพรวมผลิตภัณฑ์อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.59) ความพึงพอใจต่อความเหมาะสมของสีผลิตภัณฑ์อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.44) ความพึงพอใจต่อความสะดวกในการใช้งานอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.51) ความพึงพอใจต่อการดูแลและบำรุงรักษาอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.33) และความพึงพอใจต่อความสวยงามของลวดลายผ้าจัดอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.50)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ภูมิปัญญาชาวบ้านอำเภอชุมพลบุรี. (2560). ต้นไหล. สืบค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2561, จากwww.onbnews.com/post/7167.

มนตรี โคตรคันทา. (2561). อะไรคือภูมิปัญญาชาวบ้าน. สืบค้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2561, จากwww.thebuddh.com.

สาคร ชลสาคร. 2560. แนวทางการนำเส้นไยไหลมาใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์กระเป๋า. กรุงเทพมหานคร.

อโณทัย สิงห์คำ. (2559). การออกแบบและพัฒนาเส้นใยฝ้ายผสมตะไคร้สู่แฟชั่นร่วมสมัย. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เอนก ชิตเกสร. (2560). การพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากเส้นใยกล้วย. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.