เฮือนไทยพวนบ้านผือ : อนุรักษ์เพื่อการสร้างสรรค์บนผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก

Main Article Content

กนิษฐา เรืองวรรณศักดิ์
จุรีรัตน์ ทวยสม
ระพีพรรณ จันทรสา
ณัฏฐานุช เมฆรา
ชุติพงศ์ คงสันเทียะ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารวบรวมอัตลักษณ์เฮือนไทยพวน บ้านผือ จังหวัดอุดรธานี และการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก 2) เพื่อสร้างมีส่วนร่วมการอนุรักษ์เฮือนไทยพวนโดยการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน  วิธีดำเนินการด้วยวิธีสำรวจเฮือนไทยพวนโบราณในพื้นที่อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี สัมภาษณ์เจ้าของบ้าน ผู้อยู่อาศัย ผู้ที่เกี่ยวข้อง และบุคคลในพื้นที่ ตรวจสอบข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเพื่อเข้าสู่กระบวนการออกแบบ ถอดแบบลายและจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าอบรมจำนวน 67 คน ผลการศึกษาพบว่า เฮือนไทยพวนบ้านผือ ปัจจุบันที่ยังคงสภาพที่สมบูรณ์อยู่ 3 เรือน มีอาคารที่สันนิษฐานว่าเป็นอาคารพาณิชย์ 1 หลัง เป็นเรือนไม้ 2 ชั้น หลังคาปั้นหยากระเบื้องดินเผา “ดินขอ” อายุ 110 ปี ภายในเป็นตัวเรือนโล่งไม่มีการแบ่งห้อง ด้านหน้ามีกันสาดขั้นระหว่างชั้น และมีระเบียงไม้ที่ชั้น 2 ส่วนเฮือนไทยพวน อีก 2 หลัง เป็นเรือนเพื่อการอยู่อาศัย อายุ 105 ปี หลังคาทรงจั่วเป็นหลังคาสังกะสี ลักษณะเป็นเรือน 2 ชั้นยกสูง โดยชั้นที่ 1 จะเป็นลานโล่งเพื่อใช้ในการเลี้ยงสัตว์ จอดรถ หรือลานรับแขก บริเวณชั้น 2 จะเป็นที่พักอาศัยมีการแบ่งห้องตามช่วงเสาเรือน ตกแต่งรั้วระเบียงด้วยการเข้าไม้แต่งด้วยไม้แกะสลัก ด้านหลังตัวเรือนจะเป็นครัว ห้องน้ำซึ่งมีทั้งแบบต่อเติมใหม่ และดั้งเดิม โครงสร้างอาคารจะใช้เทคนิคการเข้าไม้แบบเข้าดิ้นหัวเสียบระหว่างคานเสา ลักษณะเรือนมีความเด่นชัดทางโครงสร้างในการเข้าไม้ประกอบตัวบ้านทั้งหลังเพื่อสร้างความแข็งแรงของตัวอาคาร ทำการถอดแบบลายอาคารเป็นลายกราฟิก และจัดกิจกรรมการอบรมปฏิบัติการของที่ระลึกภาพรวมของการจัดกิจกรรม ประเมินความพึงพอใจที่ระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.76)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนรัตน์ แปลกวงศ์. (2554). ลำพวน : กรณีศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นชาวพวน ตำบลบ้านทราย อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี. ปริญญาศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

กาญจนา ไชยมงคล. (2565). เฮือนไทยพวน บ้านผือ หลังที่ 2. สัมภาษณ์.

ชาวไทยพวน. (2565). ประเพณีของชาวไทยพวน. สืบค้นเมื่อ 25 มิถุนายน 2566 จาก https://www.stou.ac.th/offices/rdec/ nakornnayok/main/onlineexhibitions/Thaiphun/tradition.html.

ธาดา สุทธิธรรม. (2554). การอนุรักษ์มรดกสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นอีสานในแนวทางการมีส่วนร่วม. ขอนแก่น : มูลนิธิภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมและศิลปะเอเชีย.

พรพิตร พิมพิศาล. (2565). เฮือนไทยพวน บ้านผือ หลังที่ 3. สัมภาษณ์.

วีระพงศ์ มีสถาน. (2539). สารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์พวน. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล.

สิทธิพร พันธุระ. (2565). โครงสร้างทางสถาปัตยกรรมของเฮือนไทยพวน. สัมภาษณ์.

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2564). แนวปฏิบัติงานของหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นแนวปฏิบัติงานของหน่วยอนุรักษ์สงแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: กลุ่มงานจัดการสิ่งแวดล้อมศิลปกรรม กองจัดการสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

เสนาะจิต บุญเลิศ. (2565). เฮือนไทยพวน บ้านผือ หลังที่ 1. สัมภาษณ์.

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์กรมหาชน). (2565). กลุ่มชาติพันธ์ ไทยพวน. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. สืบค้นเมื่อ25 มิถุนายน 2566 จาก https://www.sac.or.th/databases/ethnic-groups/ethnicGroups/83.

อรศิริ ปาณินท์. (2553). บ้านและเรือนพวนเชียงขวาง: การย้อนกลับมาตั้งถิ่นฐานใหม่ในพื้นที่เดิม. วารสารวิชาการหน้าจั่ว: สถาปัตยกรรม การออกแบบ และสภาพแวดล้อม. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 25(2533), 66.