การออกแบบกราฟิกด้วยแรงบันดาลใจจากวิถีนิวนอร์มอลภายใต้ แบรนด์ SUBSTREETBOY

Main Article Content

ตรินติกร เพียอินทร์
มาริญา ทรงปัญญา
เอกพันธ์ พิมพาที

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการออกแบบกราฟิกสไตล์กราฟฟิตี้จากวิถีนิวนอร์มอล 2) เพื่อออกแบบลวดลายกราฟฟิตี้ในผลิตภัณฑ์แฟชั่นสำหรับกลุ่มวัยรุ่นช่วงอายุ 18-25 ปี ผู้เล่นสเก็ตบอร์ด ภายใต้แบรนด์ SUBSTREETBOY 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจที่มีผลต่อผลิตภัณฑ์แฟชั่น ภายใต้แบรนด์ SUBSTREETBOY เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบกราฟิก นักออกแบบกราฟฟิตี้ และผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์แฟชั่น และแบบสอบถามความคิดเห็น และ ความพึงพอใจของผู้บริโภคกลุ่มวัยรุ่นช่วงอายุ 18-25 ปี ผู้เล่นสเก็ตบอร์ดในจังหวัดอุดรธานี จำนวน 50 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) การใช้ชีวิตในวิถีนิวนอร์มอล ทั้ง 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการเรียน ที่ต้องเรียนแบบออนไลน์ ด้านธุรกิจ ที่มีช่องทางการขายของแบบออนไลน์ ด้านการทำงาน ที่ต้องนำงานกลับมาทำที่บ้าน และด้านการใช้ชีวิตประจำวันทั่วไป ที่ใส่หน้ากากเล่นสเก็ตบอร์ด โดยนำมาออกแบบผ่านจุดเด่นของงานศิลปะกราฟฟิตี้ในรูปแบบตัวอักษร และตัวคาแรคเตอร์ 2) ออกแบบลวดลายกราฟฟิตี้ โดยผ่านคาแรคเตอร์แรงบันดาลใจจากตัวสลอธ ที่เป็นตัวแทนของความเชื่องช้า น่าเบื่อหน่อย โดยเชื่อมโยงจากอารมณ์ความรู้สึกของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อลักษณะวิถีชีวิตที่ไม่สะดวก เชื่องช้าในสังคมนิวนอร์มอลจากการแพร่ระบาดของ โควิด 19 ในท่าทางการเล่นสเก็ตบอร์ด ในวิถีชีวิตแบบนิวนอร์มอลด้านต่าง ๆ บนผลิตภัณฑ์แฟชั่น ได้แก่ เสื้อ กางเกง หมวก หน้ากากผ้า และแผ่นสเก็ตบอร์ด โดยใช้โทนสีสดใส และเทคนิคการผลิตที่เชื่อมโยงกับศิลปะกราฟฟิตี้ 3) ความพึงพอใจที่มีการออกแบบผลิตภัณฑ์แฟชั่น คอลเลคชั่นด้านการทำงาน มีความพึงพอใจมากที่สุด ในระดับมากที่สุด (x̄ =4.85) รองลงมาคือด้านธุรกิจ (x̄ = 4.82) ด้านการเรียน (x̄ = 4.82) และด้านการใช้ชีวิตประจำวันทั่วไป (x̄ = 4.81)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ทนงศักดิ์ แสงสว่างวัฒนะ, ณิชนันทน์ ศิริไสยาสน และโชติ บดีรัฐ. (2563). New Normal วิถีชีวิตใหม่และการปรับตัวของคนไทยหลังโควิด-19 การงาน การเรียน และธุรกิจ. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 4(3) กันยายน-ธันวาคม: 371-386.

ธนพล คงไทย. (2557). การออกแบบเรขศิลป์ สําหรับผลิตภัณฑ์แฟชั่น ที่ได้แรงบัลดาลใจจาก

ศิลปะแนวป็อปอาร์ต ภายใต้แบรนด์ ป็อปประชา. ขอนแก่น: วิทยานิพนธ์สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาออกแบบอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

แมนฤทธิ์ เต็งยะ. (2561). พัฒนาการทางรูปแบบสตรีทอาร์ตในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: วิทยานิพนธ์ศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาทฤษฎีศิลป์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Manco T. (2004). Graffiti World. Thames & Hudson Ltd: London.

Mover. (2561). แต่งตัวอย่างไรให้ออกมาเท่สไตล์หนุ่ม Sk8er Boy. สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2564,

จาก https://mover.in.th/m-article/how-to-sk8er-boy/.