การสร้างสรรค์เรขศิลป์ร่วมสมัยจากลวดลายประดับสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

มาริญา ทรงปัญญา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์คือ 1) ศึกษารูปแบบลวดลายประดับที่ปรากฏในสถาปัตยกรรมพื้นที่จังหวัดอุดรธานี 2) สร้างสรรค์เรขศิลป์ร่วมสมัย จากลวดลายประดับสถาปัตยกรรมพื้นที่จังหวัดอุดรธานี และ 3) จัดเก็บ เผยแพร่ และทดลองต่อยอดเรขศิลป์สู่การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ ผ่านการผลิตต้นแบบแอพพลิเคชั่นโดยเป็นการวิจัยแบบผสมผสานระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ  ผ่านสำรวจศึกษาลวดลายประดับสถาปัตยกรรมในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญในด้านที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบเรขศิลป์ร่วมสมัยและแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ใช้งานผ่านการออกแบบแอพพลิเคชั่น รวมไปถึงการวัดประเมินผลความหลากหลายและประสิทธิภาพในการสร้างสรรค์เรขศิลป์ร่วมสมัย ด้วยการวัดประเมินค่า (Rating scale) 


ผลการวิจัยพบว่า 1) ลวดลายประดับที่ปรากฏในสถาปัตยกรรมพื้นที่จังหวัดอุดรธานีมีความหลากหลายของรูปแบบอิทธิพลทางวัฒนธรรม ได้แก่ วัฒนธรรมเขียนสีผนังถ้ำยุคก่อนประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมลาวล้านช้าง วัฒนธรรมจากสยามรัตนโกสินทร์ ศิลปะแบบโคโลเนียล ศิลปะจากช่างญวน ช่างอีสานพื้นถิ่น ศิลปะจีน และอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมโมเดิร์น ซึ่งความหลากหลายทางวัฒนธรรมเหล่านี้ส่งผลให้เกิดความหลากหลายของรูปแบบทางกายภาพของลวดลายประดับด้วยเช่นกัน 2) การสร้างสรรค์เรขศิลป์ร่วมสมัยที่นำแรงบันดาลใจจากลวดลายประดับสถาปัตยกรรมพื้นที่จังหวัดอุดรธานี มาออกแบบเป็นองค์ประกอบของเรขศิลป์ในรูปแบบคลิปอาร์ต ซึ่งจำแนกรูปแบบได้แก่ รูปแบบเหมือนจริง (realistic) รูปแบบทำให้ดูง่าย (simplify) และรูปแบบลดทอน (subtract) ที่มีความหลากหลายและสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบของสีได้ ตามชุดโทนสีที่ได้จากการสังเคราะห์จากต้นแบบลวดลายประดับสถาปัตยกรรมพื้นที่จังหวัดอุดรธานี 3) การผลิตต้นแบบแอพพลิเคชั่นเพื่อใช้ในการจัดเก็บ เผยแพร่ และทดลองต่อยอดเรขศิลป์สู่การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ สามารถสร้างกระบวนการการมีส่วนร่วมของผู้ใช้งานในการต่อยอดสร้างสรรค์เรขศิลป์ร่วมสมัยได้ด้วยตัวเอง ซึ่งมีความพึงพอใจจากผู้ใช้งานโดยรวม รวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.15)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์. (2551) ความหลากหลายทางวัฒนธรรม จากหลอมรวมเป็นหนึ่ง สู่ผสมผสานพันทาง. วารสารอักษรศาสตร์, 37(1), 16-36.

ประโยชน์ ส่งกลิ่น. (2561). การบริหารรัฐกิจยุคหลังสมัยใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 2. มหาสารคาม: อภิชาตการพิมพ์.

วาริน บุญญาพุทธิพงศ์ และคณะ. (2555). เอกสารประกอบการนำเสนอโครงการศึกษาสังเคราะห์และนำเสนออัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อนำมาใช้เป็นทุนในการสร้างสรรค์ให้สามารถประยุกต์ใช้ในการพัฒนา สร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ. (2552). รายงานการศึกษาเบื้องต้น เศรษฐกิจสร้างสรรค์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: บี.ซีเพรส (บุญชิน).

อรช กระแสอินทร์. (2557). นวัตกรรมการออกแบบอย่างมีส่วนร่วมสำหรับหัตถกรรมใช้สอยครัวเรือน. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Ministero della Grafica. (2008). Spaghetti Grafica: Contemporary Italian Graphic Design (contemporary Italian graphic design). Novara: DeAgostini.

Nes, I. V. (2014). Dynamic Identities: How to create a living brand. Amsterdam: BIS.